หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ปฐมกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครลับแล

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

 

เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ทรงเป็นกษัตริย์ในตำนาน แห่งนครลับแล ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในเขตจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ตามตำนานปรัมปราเล่าว่า เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารพระองค์นี้ พระองค์ทรงเป็นพระราชบุตร ในพระเจ้าเรืองไทธิราช กษัตริย์ราชวงศ์สิงหนวัติ แห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสน พระองค์ได้รับโปรดเกล้าฯ จากพระราชบิดา ให้มาปกครองนครลับแล ซึ่งถือว่า เป็นเมืองชายแดน ของอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสนเมื่อปี พ.ศ. ๑๕๑๓ เพื่อป้องกันภัยจากการรุกรานของกำโพชนคร (ขอม) และ พม่า จึงอาจกล่าวได้ว่า พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์ แห่งนครลับแล

ในปี พ.ศ. ๑๕๐๖ อาณาจักรโยนกเชียงแสน อันมีเมืองนาคพันธ์ สิงหนวัติชัยบุรีศรีช้างแสน เป็นราชธานี (ปัจจุบันคืออำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) ได้เกิดสงครามรบพุ่งกันอยู่เนืองๆ ทั้งโรคระบาดเกิดขึ้นมากมาย มีผู้เจ็บป่วยล้มตายอยู่เป็นประจำ ราษฎรต่างพากันแยกย้าย ละทิ้งถิ่นฐานเดิม ไปหาแหล่งทำมาหากินที่ใหม่กันเป็นจำนวนมาก ในจำนวนนี้ มีราษฎรประมาณ ๗๐ ครัวเรือน ทนต่อความทุกข์ยากในนครเชียงแสนไม่ไหว จึงได้ชักชวนกันไปหาที่ทำกิน และยกให้หนานคำลือ กับหนานแสนคำ เป็นหัวหน้าครอบครัว เดินทางล่องใต้ เพื่อแสวงหาถิ่นฐานทำกินแห่งใหม่ หนานคำลือกับหนานแสนคำฝันว่า ดวงวิญญาณของ "เจ้าปู่พญาแก้ววงเมือง" (กษัตริย์องค์ที่ ๑๓ แห่งนครโยนก) มาบอกว่า ที่แหล่งทำมาหากินอันอุดมสมบูรณ์ มีน้ำตกและธารน้ำไหลตลอดทุกฤดูกาล สภาพดินฟ้าอากาศไม่หนาวไม่ร้อน ชาวบ้านจึงได้อัญเชิญดวงวิญญาณ ของปู่พญาแก้ววงเมืองไปด้วย เพื่อเสาะหาแหล่งทำมาหากิน ให้ได้ตามความฝันนั้น

การเดินทาง ผ่านจังหวัดลำปางและจังหวัดแพร่ ในที่สุด ก็บรรลุถึงหุบเขาลับแล จนสามารถมองเห็นภูมิประเทศ ซึ่งตรงกับความฝันทุกประการ ประกอบด้วย น้ำตกธารน้ำไหล ดินฟ้าอากาศชุ่มเย็น มีภูเขาเตี้ยๆ อุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิด แสงแดดส่องลงถึงพื้นดินเพียงครึ่งวัน จึงตกลงใจ ปักหลักสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า "บ้านเชียงแสน" ช้าง ม้า วัว ควาย ที่นำมาด้วยก็จัดให้อยู่เป็นที่เป็นทาง ห่างไกลเป็นระยะๆ พอสมควร ต่อมา บริเวณที่ควายอยู่ ก็ให้ตั้งชื่อว่า "บ้านคอกควาย" และที่ช้างอาศัยอยู่ก็ให้ตั้งชื่อว่า "บ้านคอกช้าง" ชื่อหมู่บ้านเหล่านี้ ได้มีการเรียกขานกัน จนถึงปัจจุบัน

เมื่อตั้งบ้านเรือนเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจึงประชุมกัน แต่งตั้งให้หนานคำลือเป็น "เจ้าแคว้น" (เทียบเท่ากับกำนัน) ปกครองชาวบ้าน และแต่งตั้งให้หนานคำแสนเป็น "เจ้าหลัก" (เทียบเท่ากับผู้ใหญ่บ้าน) เจ้าหนานทั้งสอง ได้ดูแลปกครองลูกบ้าน อยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข เป็นเวลายาวนาน ๗ ปีเศษ จึงมอบหมายให้หนานคำลือ เป็นหัวหน้า นำราษฎรจำนวน ๑๐ กว่าคน เดินทางรอนแรมออกจากลับแลกลับไปส่งข่าวยังโยนกนคร เมื่อเดินทางถึงแล้ว เจ้าแคว้น ก็ได้นำราษฎรเข้าเฝ้าพระเจ้าเรืองไทธิราช กษัตริย์องค์ที่ ๒๑ แห่งโยนกนคร และกราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ ถึงการอพยพไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน อยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข พระเจ้าเรืองไทธิราช ดีพระทัยยิ่งนัก

นอกจากนั้น ยังกราบทูลให้ทรงทราบอีกว่า ที่ลับแลยังไม่มีพระสงฆ์ ที่จะคอยอบรมสั่งสอนบุตรหลาน และประกอบพิธีกรรมต่างๆ พระองค์ก็ให้พระสงฆ์มาอยู่ด้วย ๖ รูป ครั้นเมื่อเดินทางกลับมาถึงลับแลราษฎรต่างก็ดีใจ ญาติพี่น้องที่ติดตามมา ก็ได้พบปะกันอีกคราว และมีพระสงฆ์มาด้วยอีก ๖ รูป จึงได้จัดที่พักพาอาศัยให้ชั่วคราว แล้วช่วยสร้างวัดขึ้นเป็นแห่งแรกในลับแล ชื่อ "วัดเก้าเง้ามูลศรัทธา" หรือเรียกกันว่า "วัดใหม่"

         

ลับแล มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ ราษฎรอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข บุตรหลานก็เจริญเติบโต บ้างก็มีครอบครัว แยกย้ายออกไปตั้งถิ่นฐาน ทำมาหากินกันตามอัธยาศัย แต่บุตรสาวเจ้าแคว้นและเจ้าหลัก ชื่อสุมาลี และสุมาลา ทั้งสองสาวผิวพรรณผ่องใสสวยงาม กิริยามารยาทเรียบร้อย มีความฉลาดหลักแหลม ขยันขันแข็ง หากมีเวลาว่างก็จะสนใจในงานเย็บปักถักร้อย จนเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วทั้งหมู่บ้าน นางทั้งสองได้ช่วยกันคิดค้นจนสามารถสร้างหูกทอผ้าได้เป็นผลสำเร็จ และช่วยกันทอผ้าแบบต่างๆ ที่ใช้สอยกัน ที่สำคัญคือนางทั้งสองได้ช่วยกันคิดค้นทอผ้าซิ่นตีนจกจนเป็นผลสำเร็จ มีลวดลายสวยสดงดงาม นำวิถีชีวิตของชาวลับแลถ่ายทอดลงไปบนเชิงผ้า และงานจกผ้าอื่นๆ ผสมกลมกลืนกันได้อย่างงดงาม ตลอดจนอบรมเผยแพร่ให้กับบุตรหลานชาวบ้านจนสืบทอดกันมาถึงทุกวันนี้ เจ้าแคว้นและเจ้าหลักเห็นว่าสิ่งประดิษฐ์ที่บุตรสาวทั้งสองได้ทำขึ้นนั้นมีคุณค่าสวยงาม เหมาะสมที่เจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน จะได้ใช้สอยด้วย จึงชักชวนกันนำสิ่งประดิษฐ์และนำบุตรสาวทั้งสองไปเข้าเฝ้าพระเจ้าเรืองไทธิราช พร้อมกับถวายผ้าซิ่นตีนจกและสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลายที่ได้จากการถักทอของบุตรสาว พระเจ้าเรืองไทธิราชพอพระทัยยิ่งนักออกปากชมมิได้หยุด พระองค์พิเคราะห์ดูแล้วเห็นว่าหญิงสาวทั้งสองคนนี้มีลักษณะรูปทรงผิวพรรณดีผิดแผกจากสามัญชนธรรมดาทั่วๆ ไป มีคุณสมบัติครบถ้วนทุกประการเหมาะที่จะเป็นชายาแห่งราชบุตรของพระองค์ได้ จึงเอ่ยปากขอบุตรทั้งสองคนต่อเจ้าแคว้นและเจ้าหลักเพื่ออภิเษกให้เป็นชายาของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ราชบุตรของพระองค์ ส่วนเจ้าแคว้นและเจ้าหลักกราบทูลว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น เป็นบุญวาสนาแก่ธิดาของข้าพเจ้าทั้งสองอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ แล้วแต่จะทรงพระกรุณา แล้วเจ้าแคว้นกับเจ้าหลักจึงกราบบังคมทูลลากลับเมืองลับแล

พระเจ้าเรืองไทธิราช จึงประกาศหมายกำหนดการให้อภิเษกสมรสพระราชบุตรภายในเวลา ๖ เดือน ครั้นถึงกำหนดเจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร พร้อมพระญาติ สมณชีพราหมณ์ ทหาร ข้าทาสบริวาร ตกแต่งขบวนขันหมากแห่แหนจากโยนกนคร เดินทางมุ่งหมายมายังเมืองลับแลประกอบพิธีอภิเษกสมรสตามราชประเพณีเชียงแสนโบราณ พร้อมกับตั้งให้นางสุมาลี และนางสุมาลา เป็นชายาซ้าย-ขวา โดยพระราชทานนามว่า "พระเทวีเจ้าสุมาลา" และ "พระเทวีเจ้าสุมาลี" และโปรดฯ ให้สร้างวังขึ้นในบริเวณที่เป็นวัดป่าแก้วเรไรหรือวัดเจดีย์คีรีวิหาร ซึ่งมีร่องรอยของคูเมืองอยู่ เจ้าฟ้าฮ่ามกุมารก็ได้ขึ้นครองเมืองลับแลเป็นปฐมตั้งแต่นั้นมา (พ.ศ.๑๕๑๓)

จากนั้น ได้มีราษฎรอพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้น พระองค์ได้จัดสรรที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากิน ให้แก่ราษฎรโดยทั่วหน้ากัน ราษฎรเชื้อสายเชียงแสน ให้ตั้งบ้านเรือน อยู่ตั้งแต่บ้านคอกช้าง, บ้านต้นเกลือ, ถึงบ้านท้องลับแล, บ้านยางกระดาย, บ้านนาแต๊ว, บ้านนาทะเล, และบ้านปากฝาง พระองค์ทรงดำรงตนอยู่ใต้ทศพิธราชธรรม ทรงปกครองราษฎรแบบบิดาปกครองบุตร ตัดสินคดีความด้วยพระเมตตา อบรมสั่งสอนราษฎรเป็นพลเมืองดี มีความขยันขันแข็ง ทุกคนก็อยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา พระองค์มีจิตใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาเป็นยิ่งนัก เมื่อครั้ง พ.ศ.๑๕๑๙ พระองค์ทรงดำริให้จัดสร้างสถูปเจดีย์ เพื่อประกาศพระศาสนา และได้เสด็จไปยังเมืองโยนกนคร เพื่อขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากดอยตุง จังหวัดเชียงราย อัญเชิญมาบรรจุไว้ ที่สถูปเจดีย์วัดป่าแก้วเรไร (วัดเจดีย์คีรีวิหาร) เป็นวัดแห่งแรกของเมืองลับแล

ราว พ.ศ. ๑๕๒๕ หลังจากปราบพวกขอมที่มารุกราน ราบคาบแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปเมืองโยนกนครอีกครั้ง เพื่อขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุจากพระบิดา จำนวน ๓๒ องค์ เพื่อมาบรรจุไว้ ณ สถูปเจดีย์ม่อนธาตุ ทั้งได้สร้างวัดชัยชุมพล และวัดดอยชัย ขึ้นไว้ในหมู่บ้านอีกด้วย

เจ้าฟ้าฮ่ามกุมาร ได้ครองเมืองลับแลอยู่เป็นเวลายาวนาน ทำนุบำรุงบ้านเมือง จนเจริญก้าวหน้า ราษฎรอยู่กันด้วยความร่มเย็นเป็นสุข จนชราภาพ จึงเสด็จสวรรคต ยังความโศกเศร้าอาลัย ของอาณาประชาราษฎร์เป็นยิ่งนัก จึงพร้อมใจกัน นำอัฐิของพระองค์ มาบรรจุไว้ ณ ม่อนอารักษ์ เพื่อเป็นที่สักการบูชาของประชาชนทั่วไป และเกิดประเพณีแห่น้ำขึ้นโรง สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่:
https://youtu.be/tFM1Sga_PQE?si=v1opWHHwmDs6KPga
แหล่งที่มาของข้อมูล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10000 บาท คนทั่วไป ได้เงินวันไหน?น้ำแข็ง ประโยชน์ของ “น้ำแข็ง” ที่คุณอาจไม่เคยรู้‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ขีดเส้น 15 วัน ขอข้อมูล อสส. ปมร้อง ‘ทักษิณ’ ครอบงำลุงชาญ อดีต นายก อบจ.ปทุมธานี กับพวก รอดนอนคุก! ศาลให้ประกัน ยื่นหลักทรัพย์คนละ 5 แสนบาทกินให้หายเครียด อาหารแก้เครียดส่งผลดีต่อสุขภาพประโยชน์ของแสงแดด ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตแจ่มใสประโยชน์ของการเดินเท้าเปล่า ธรรมชาติบำบัด สามารถทำเองได้ที่บ้านงานบ้านช่วยลดน้ำหนัก สำหรับคนไม่อยากไปฟิตเนส บ้านสะอาด แถมยังได้ออกกำลังกายด้วยผัก ผลไม้ วิตามินซีสูง พร้อมคุณประโยชน์อีกมากมายสื่อฮ่องกง แฉ “บอสเหล่าดารา” เอี่ยวคดี “ดิไอคอน” โยงนักการเมืองข้อดีและข้อเสียของการเป็น Introvert
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
‘ลีน่าจัง’ เมินกระเเส ถูกร้านก๋วยเตี๋ยว ติดป้ายห้ามเข้า คนทำระวังติดคุกตำรวจบุกค้นกุฏิวัดดัง ย่านนนท์ เจอพระฉี่ม่วง 5 รูปจบแล้ววิจารณ์ "ทองประกายแสด 2024" แนวคิดถูกถ่ายทอดค่อนข้างล้าสมัยมากข้อดีและข้อเสียของการเป็น Introvertไร้ชื่อสิทธิเงินหมื่น เมาสุราน้อยใจ ตัดสินใจเผาบ้านประชด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ไดอารี่ปริศนาเล่มที่ 6 คดีลวงโลกของ "ฆาตกรรม" ที่ไม่มีใครตายมนตราวายสะ ตอนที่ 14 โตขึ้นฉันอยากเป็น... (3)ทองประกายแสด อวสานชีวิตรักน้องทอง ทองเป็นที่พึ่งของทองเองมนตราวายสะ ตอนที่ 14 โตขึ้นฉันอยากเป็น... (2)
ตั้งกระทู้ใหม่