จากโศกนาฎกรรมในสงครามญี่ปุ่น สู่ภาพยนตร์ “สุสานหิ่งห้อย”
"สุสานหิ่งห้อย" เป็นเรื่องที่สะเทือนใจมากๆ จากเรื่องจริงสู่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นสุดคลาสสิกของญี่ปุ่น จากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมในสงครามครั้งที่ 2 ออกฉายในปี พ.ศ. 2531 เป็นเรื่องราวชีวิตจริงจากนักเขียนที่ชื่อว่า "อะคิยูกิ โนซากะ"
1. ประวัติความเป็นมา
"อะคิยูกิ โนซากะ" (野坂 昭如, Nosaka Akiyuki) เกิดเมื่อวันที่ 10 ตค. 2473 ที่เมืองคามะคุระ จังหวัดคานะงะวะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นบุตรชายของ "สุเคยูกิ โนซากะ" ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานก่อสร้างมหานครโตเกียว ฉายาของเขาคือ "ยูกิโอะ อากิ" และเขาได้เสียชีวิตในวัย 85 ปี เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2558
2. จากโศกนาฎกรรมสู่ผลงานเขียน
เขาได้เผยถึงโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วง พ.ศ. 2488 โดยเขาได้สูญเสียคนในครอบครัว และน้องสาวที่เสียชีวิตจากโรคขาดสารอาหาร นี่จึงเป็นการจุดประกายให้เขาได้เขียนเรื่องราวอันแสนเจ็บปวด จากความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ขึ้นมา
3. จากนวนิยายสู่จอภาพยนตร์
นวนิยายเรื่อง "สุสานหิ่งห้อย" ได้นำมาทำเป็นหนังแอนิเมชั่น โดย "สตูดิโอจิบลิ" (Studio Ghibli) กำกับโดยผู้กำกับ "อิซาโอะ ทะคะฮาตะ" (Isao Takahata) ซึ่งได้ถูกแปลออกไปหลายภาษาทำให้โด่งดังไปทั่วโลก
4. แบกร่างน้องสาวไร้วิญญาณ
ในเรื่องราวของเขา..เขาได้แบกร่างน้องสาวที่ไร้วิญญาณ เพื่อนำไปเผาในเมืองนางาซากิ เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งถูกถ่ายโดยช่างภาพชาวอเมริกันที่ชื่อ "โจ โอดอนเนลล์" (Joe O’Donnell) เกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2465 ในเมืองจอห์นสทาวน์ รัฐเพนซิลวาเนีย เสียชีวิต 9 สิงหาคม 2550 (อายุ 85 ปี)
5. ภาพสะเทือนใจอย่างยิ่ง
ภาพถ่ายโดย "Joe O’Donnell" ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปนี้ว่า...ภาพถ่าย “อะคิยูกิ โนซากะ แบกร่างน้องสาวที่ไร้วิญญาณ” โดยเขาได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรูปนี้ว่า...
“ผมเห็นเด็กชายอายุประมาณสิบขวบเดินผ่านมา เขาแบกทารกไว้บนหลัง ซึ่งในญี่ปุ่นสมัยนั้น เรามักจะเห็นเด็กๆ เล่นโดยมีน้องชายหรือน้องสาวเล็กๆ อยู่บนหลัง แต่เด็กชายคนนี้แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด ผมเห็นว่าเขามาที่นี่ด้วยสายตาแข็งแกร่ง ไม่สวมรองเท้า ศีรษะเล็กๆ ของน้องสาวของเขา ถูกเอนไปด้านหลังราวกับว่าหลับสนิท
เขายืนอยู่ตรงนั้นประมาณห้าหรือสิบนาที จากนั้นมีชายสวมหน้ากากสีขาวเดินเข้ามาหาเขา และเริ่มถอดเชือกที่รัดน้องสาวของเขาออกอย่างเงียบๆ นั้นทำให้ผมรู้เลยว่าน้องสาวของเขาได้เสียชีวิตแล้ว
ชายดังกล่าวได้อุ้มศพน้องสาว จัดวางมือและเท้าไว้บนกองไฟ เด็กชายยืนอยู่กับที่ประมาณ 5-10 นาที มองดูเปลวเพลิง เขากัดริมฝีปากล่างอย่างแรงจนเลือดไหล ทำให้รู้เลยว่าเขาได้อดกลั้นเพื่อไม่ให้น้ำตาไหลออกมา เปลวเพลิงลุกโพลงเหมือนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน ไม่นานเขาหันหลังกลับและเดินจากไปอย่างเงียบๆ”
6. ทำไมถึงเปรียบกับหิ่งห้อย
"อะคิยูกิ โนซากะ" เขาได้เขียนเปรียบเทียบชีวิตในเด็กๆในช่วงสงครามกับหิ่งห้อย เพราะหิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่ตายง่าย เมื่อไรที่หิ่งห้อยตายแสงสว่างก็ดับลง เปรียบเสมือนความหวังของเด็กๆที่ได้ดับลงไปเช่นเดียวกัน
ขอบคุณภาพ : google