หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติความเป็นมา ของเมืองนันทบุรี (เมืองน่านในอดีต)❤️❤️❤️

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

น่าน (คำเมือง: Lanna-Nan.png) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือ ตอนบนของประเทศไทย เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต อาทิ เมืองน่าน เมืองปัว เมืองศีรษะเกษ เป็นต้น

มีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเรียกในพงศาวดารว่า นันทบุรี เมืองน่านในอดีต เป็นนครรัฐเล็ก ๆ ก่อตัวขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ 18 บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และแม่น้ำสาขา ในหุบเขาทางตะวันออกของภาคเหนือ

ประวัติศาสตร์เมืองน่านเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของพญาภูคา และนางพญาจำปาผู้เป็นชายา ซึ่งทั้งสอง เป็นชาวเมืองเงินยาง ได้เป็นแกนนำพาผู้คน อพยพมาตั้งศูนย์การปกครอง อยู่ที่เมืองล่าง ต่อมาเพี้ยนเป็นเมืองย่าง (เชื่อกันว่า คือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ ของแม่น้ำย่าง บริเวณตำบลศิลาเพชร อำเภอปัว เลยไปถึงลำน้ำบั่ว ใกล้ทิวเขาดอยภูคา ในเขตบ้านเสี้ยว บ้านทุ่งฆ้อง บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอยชุมชน ในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน และกำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ เห็นชัดเจนที่สุด คือบริเวณข้างพระธาตุจอมพริกบ้านเสี้ยว มีกำแพงเมืองปรากฏอยู่ ซึ่งเป็นปราการทิศใต้ และป้อมปราการทิศเหนือ ลักษณะที่ปรากฏเป็นสันกำแพงดิน บนยอดดอยม่อนหลวง บ้านลอมกลาง เป็นกำแพงเมืองสูงถึง 3 ชั้น ในแต่ละชั้นกว้าง 3 เมตร สูง 5 เมตร ขนานไปกับยอดดอยม่อนหลวง ต่อมาพระยาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไป ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่นผู้พี่ ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองพระบาง) และขุนฟองผู้น้อง สร้างเมืองวรนครหรือเมืองปัว

ภายหลังขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตร จึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคา ครองเมืองย่างมานาน และมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์ จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลาน มาครองเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่ จึงยอมไปอยู่เมืองย่าง และมอบให้ชายา คือนางพญาแม่ท้าวคำปิน ดูแลรักษาเมืองปัวแทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อน จึงครองเมืองย่างแทน ในช่วงที่เมืองปัวว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อน ไปครองเมืองย่างแทนปู่นั้น พญางำเมือง เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพล เข้าครอบครองบ้านเมืองในเขตเมืองน่านทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปิน พร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชาย ชื่อว่าเจ้าขุนใส เติบใหญ่ ได้เป็นขุนนางรับใช้พญางำเมือง จนเป็นที่โปรดปราน พญางำ เมืองจึงสถาปนาให้เป็นเจ้าขุนใสยศ ครองเมืองปราด ภายหลัง มีกำลังพลมากขึ้น จึงยกทัพมาต่อสู้ จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา และได้รับการสถาปนา เป็นพญาผานอง ขึ้นครองเมืองปัวอย่างอิสระ ระหว่างปี 1865-1894 รวม 30 ปีจึงพิราลัย

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัย อย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่าน กล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับ เจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัว ด้วยพญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาล จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้น ที่บนภูเพียงแช่แห้ง พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า ภูเพียงแช่แห้งในปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้ง เป็นศูนย์กลางเมือง (มวลสารจากพระธาตุแช่แห้ง ใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) หลังจากพญาการเมืองถึงแก่พิราลัย โอรสคือพญาผากองขึ้นครองแทน อยู่มาเกิดปัญหาความแห้งแล้ง จึงย้ายเมืองมาสร้างใหม่ ที่ริมแม่น้ำน่านด้านตะวันตก บริเวณบ้านห้วยไค้ คือบริเวณที่ตั้งของจังหวัดน่านในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1911

ในสมัยเจ้าปู่เข่งครองเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 1950-1960 ได้สร้างวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร วัดพระธาตุเขาน้อย (มวลสารจากพระธาตุเขาน้อย ใช้ทำพระสมเด็จจิตรลดา) วัดพญาภู แต่สร้างไม่ทันเสร็จ ก็ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน พญางั่วฬารผาสุมผู้เป็นหลาน ได้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ และได้สร้างพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ปัจจุบันคือ พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐาน อยู่ในวิหารวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

ในปี พ.ศ. 1993 พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์นครเชียงใหม่ มีความประสงค์จะครอบครองเมืองน่านและแหล่งเกลือบ่อมาง (เขตตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือปัจจุบัน) ที่มีอย่างอุดมสมบูรณ์ และหาได้ยากทางภาคเหนือ จึงได้จัดกองทัพเข้ายึดเมืองน่าน พญาอินต๊ะแก่นท้าว ไม่อาจต้านทานได้ จึงอพยพหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) เมืองน่าน จึงถูกผนวกเข้าไว้ในอาณาจักรล้านนา ตั้งแต่นั้นมา

ตลอดระยะเวลาเกือบ 100 ปี ที่เมืองน่าน อยู่ในครอบครองของอาณาจักรล้านนา ได้ค่อยๆ ซึมซับเอาศิลปวัฒนธรรมของล้านนา มาไว้ในวิถีชีวิต โดยเฉพาะการรับเอาศิลปกรรมทางด้านศาสนา ปรากฏศิลปกรรมแบบล้านนา เข้ามาแทนที่ศิลปกรรมแบบสุโขทัยอย่างชัดเจน เช่น เจดีย์วัดพระธาตุแช่แห้ง เจดีย์วัดสวนตาล เจดีย์วัดพระธาตุช้างค้ำ แม้จะเหลือส่วนฐานที่มีช้างล้อมรอบ ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะแบบสุโขทัยอยู่ แต่ส่วนองค์เจดีย์ ขึ้นไปถึงส่วนยอด เปลี่ยนเป็นศิลปกรรมแบบล้านนาไปจนหมดสิ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2103-2328 เมืองน่าน ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอยู่หลายครั้ง และต้องเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนถึง 2 ครา คือ ครั้งแรก ปี พ.ศ. 2247-2249 ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2321-2344

ปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงมาเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา หลังจากขึ้น เจ้าอัตถวรปัญโญ ก็ยังมิได้เข้าไปอยู่เมืองน่านเสียทีเดียว เนื่องจากเมืองน่านยังรกร้างอยู่ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่ตามที่ต่าง ๆ คือ บ้านตึ๊ดบุญเรือง เมืองงั้ว (บริเวณอำเภอนาน้อย) เมืองพ้อ (บริเวณอำเภอเวียงสา) จนกระทั่งหลังจากได้บูรณะซ่อมแซมเมืองน่าน พร้อมทั้งได้ขอพระบรมราชานุญาตแล้ว จึงกลับเข้ามาอยู่ในเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2344 ในยุคสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่าน มีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกองค์ ต่างปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความเที่ยงธรรม มีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญ หลายครั้งหลายคราด้วยกัน

นอกจากนี้ เจ้าผู้ครองนครน่าน ต่างได้อุปถัมภ์ค้ำจุน และทำนุบำรุง กิจการพุทธศาสนาในเมืองน่านเป็นสำคัญ ได้สร้างธรรมนิทานชาดก การจารพระไตรปิฎกลงในคัมภีร์ใบลาน นับเป็นคัมภีร์ได้ 335 คัมภีร์นับเป็นผูกได้ 2,606 ผูก ได้นำไปมอบให้เมืองต่างๆ มีเมืองลำปาง เมืองลำพูน เมืองเชียงใหม่ เมืองเชียงราย และเมืองหลวงพระบาง

ในปี พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาให้เจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ เลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณปัฏว่า พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์ เป็นพระเจ้านครน่านองค์แรก และองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน

ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สร้างหอคำ (คุ้มหลวง) ขึ้นแทนหลังเดิม ซึ่งสร้างในสมัยของเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ และด้านหน้าหอคำ มีข่วง ไว้ทำหน้าที่คล้ายสนามหลวง สำหรับจัดงานพิธีต่างๆ ตลอดจนเป็นที่จัดขบวนทัพออกสู้ศึก จัดขบวนนำเสด็จ หรือขบวนรับแขกเมืองสำคัญ และในปี พ.ศ. 2474 เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดา เจ้าผู้ครองนครน่านถึงแก่พิราลัย ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร ก็ถูกยุบเลิกตั้งแต่นั้นมา ส่วนหอคำ ได้ใช้เป็นศาลากลางจังหวัดน่าน จนปี พ.ศ. 2511 จังหวัดน่าน ได้มอบหอคำ ให้กรมศิลปากร ใช้เป็นสถานที่จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่านจนกระทั่งปัจจุบัน

ในยุคประชาธิปไตย จังหวัดน่าน ยังมีตำนาน การเป็นแหล่งกบดาน ของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะที่อำเภอทุ่งช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอีกแห่งหนึ่ง โดยมีอนุสรณ์สถานวีรกรรมทุ่งช้างเป็นพยาน ช่วยเตือนความจำ ให้แก่ชนรุ่นหลัง

โพสท์โดย: ประเสริฐ ยอดสง่า
อ้างอิงจาก:
https://youtu.be/CcX59LAeeS0?si=l7_NGx4w13ADyRM9
ตำนานเมืองน่าน
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เทศกาลน่ารักๆ ที่หนุ่ม-สาวและผู้คนทั้งหลายจะเอาค้อนพลาสติคทุบกันเพื่อแสดงความชอบ และความรักต่อกัน (เอ้อ...น่ารักอยู่นะเนี่ย เทศกาลนี้)สรุปข่าว "นาย ณภัทร" ร้องไห้หลังแถลงข่าวเลิก "ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก"เกิดเหตุระเบิด ที่โรงงานผลิตอาวุธมะกัน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สรุปข่าว "นาย ณภัทร" ร้องไห้หลังแถลงข่าวเลิก "ใบเฟิร์น พิมพ์ชนก""โจแอน บุญสูงเนิน" ฉลองสมรสเท่าเทียมผ่าน ประกาศแต่งงานแฟนหนุ่ม
กระทู้อื่นๆในบอร์ด Review, HowTo, ท่องเที่ยว
ยูเรนัส 2324 URANUS 2324 ดำดิ่งสู่ความมืดมิดแห่งห้วงอวกาศและมหาสมุทรโบสถ์บนบาน่าฮิลล์ตอนกลางคืนสวยมากเมืองแห่งเวทมนตร์ "นครฉงชิ่ง"มหัศจรรย์แห่งดอกบัวในอินเดีย
ตั้งกระทู้ใหม่