สถานที่บนพื้นผิวดาวอังคาร ที่ถูกตั้งชื่อเป็นคำศัพท์ในภาษาไทย
ดาวอังคาร (Mars)
เป็นดาวเคราะห์ที่มีหลุมอุกกาบาตจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการชน
ของดาวเคราะห์น้อยหรือดาวหาง หลุมอุกกาบาตเหล่านี้มีขนาดแตกต่างกันไป
ตั้งแต่หลุมขนาดเล็กไปจนถึงแอ่งขนาดใหญ่ที่ทอดยาวหลายร้อยกิโลเมตร
แอ่งเฮลลาสที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง
ประมาณ 2,300 กิโลเมตร และลึก 7 กิโลเมตร ทำให้เป็นหนึ่งในหลุมอุกกาบาต
ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในระบบสุริยะ หลุมอุกกาบาตเหล่านี้
ให้ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทางธรณีวิทยา
ของดาวเคราะห์ อายุของพื้นผิว และสภาพแวดล้อมในอดีต
การศึกษาหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคาร ยังช่วยให้เข้าใจถึงศักยภาพ
ของดาวเคราะห์ในการรองรับชีวิตในอดีตได้ เนื่องจากหลุมอุกกาบาตบางแห่ง
มีหลักฐานของการไหลของน้ำและตะกอนดินเหนียวในยุคโบราณ ซึ่งบ่งชี้ว่า
อาจมีน้ำเหลวอยู่ นอกจากนี้ หลุมอุกกาบาตเหล่านี้ยังมีค่าสำหรับภารกิจสำรวจในอนาคต
โดยเป็นพื้นที่ลงจอดและสถานที่สำหรับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบัน มีหลุมอุกกาบาต 3 แห่ง บนผิวดาวอังคาร
ที่ถูกตั้งชื่อตามชื่อจังหวัดในประเทศไทย ได้แก่
Nan crater
หรือหลุมอุกกาบาตน่าน ตั้งชื่อตามชื่อจังหวัดน่าน ชื่อนี้ถูกอนุมติ
ให้เป็นชื่อหลุมอุกกาบาต เมื่อปี 1976 เป็นหลุมอุกกาบาต
ที่มีความกว้าง 1.9 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 26.9°S 20.0°W บนดาวอังคาร
Tak crater
ตั้งตามชื่อจังหวัดตาก หลุมอุกกาบาตนี้มีความกว้าง 5.1 กิโลเมตร
ถูกตั้งเมื่อปี 1976 ตั้งอยู่ที่พิกัด 26.3°S 28.7°W บนดาวอังคาร
Yala crater
ตั้งตามชื่อจังหวัดยะลา ถูกตั้งชื่อในปี 1976 เช่นกัน
ถือเป็นหลุมอุกกาบาตชื่อจังหวัดไทย ที่มีความกว้างมากที่สุด
คือ 19.8 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 17.6°N 38.7°W