จังหวัดที่มีประชากรคนชรา มากที่สุดอันดับหนึ่งในประเทศไทย
วัยผู้สูงอายุ หรือ วัยชรา
เป็นช่วงหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ
คือการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และมักจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา
เมื่ออายุมากขึ้น โดยทั่วไปจะเริ่มเมื่ออายุประมาณ 60 ปี แต่อาจแตกต่างกันไป
เมื่ออายุมากขึ้น สุขภาพกายอาจถดถอยลง เช่น ความแข็งแรง ความอดทน
และความสามารถในการรับรู้ลดลง การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา
อาจรวมถึงความเร็วในการประมวลผลที่ช้าลงและปัญหาด้านความจำ
จังหวัดในประเทศไทย ที่มีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมากที่สุด ในปี 2564
* ที่มา : โครงการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
จังหวัดแพร่ (Phrae Province)
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 29.3
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 122,373 คน
จากประชากรทั้งหมด 417,155 คน)
จังหวัดอุตรดิตถ์ (Uttaradit Province)
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 29.0
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 123,626 คน
จากประชากรทั้งหมด 426,795 คน)
จังหวัดอุทัยธานี (Uthai Thani Province)
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 28.9
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 83,436 คน
จากประชากรทั้งหมด 288,232 คน)
จังหวัดพิจิตร (Phichit Province)
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 28.8
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 153,160 คน
จากประชากรทั้งหมด 532,462 คน)
จังหวัดลำปาง (Lampang Province)
สัดส่วนผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 28.6
(จำนวนผู้สูงอายุ รวม 206,790 คน
จากประชากรทั้งหมด 721,864 คน)
ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ
คิดเป็นร้อยละ 19.6 โดยมีจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 13,358,751 คน
ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มีผู้สูงอายุ 1,342,826 คน หรือร้อยละ 15.1