หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตำนาน นิทานพื้นบ้าน เมืองนครราชสีมา

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

จังหวัดนครราชสีมา เมื่อก่อนนั้น จะเป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอสูงเนิน ห่างจากตัวเมืองในปัจจุบันประมาณ 31 กิโลเมตร เรียกกันว่า "เมืองโคราฆะปุระ" หรือ "โคราช" กับ "เมืองเสมา" นั่นเอง โดยทั้ง 2 เมืองนี้ ก็เคยเจริญรุ่งเรือง มาตั้งแต่ในสมัยขอมแล้ว แต่ต่อมา ก็ได้กลายเป็นเมืองร้าง ตั้งอยู่ที่บริเวณริมลำตะคอง

โดยต่อมา ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ยุคของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ระหว่างปี พ.ศ.2199-2231 ก็ได้มีการ โปรดฯให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นมา ในบริเวณพื้นที่ของตัวเมืองปัจจุบัน โดยการเอาชื่อของ "เมืองโคราฆะปุระ" กับ "เมืองเสมา" มาผูกเป็นนามเมืองใหม่ ที่มีชื่อเรียกว่า "เมืองนครราชสีมา" นั่นเอง แต่คนทั่วไป จะเรียกกันว่า "เมืองโคราช"

จนมาในสมัยของรัชกาลที่ 1 ก็มีการโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองชั้นเอก มีผู้สำเร็จราชการเมือง มียศเป็นเจ้าพระยา นั่นก็คือ เจ้าพระยานครราชสีมา โดยเจ้าพระยาคนแรกนั้นคือ ปิ่น ณ ราชสีมา ซึ่งในรัชกาลนี้ เมืองนครราชสีมา ก็ได้มีการนำเอาช้างเผือก 2 เชือก ขึ้นน้อมเกล้าถวายอีกด้วย

ต่อมา ในปี พ.ศ.2369 ในสมัยรัชกาลที่ 3 นั้น ช่วงเจ้าอนุวงศ์ ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ก่อการกบฏ ก็ได้มีการยกกองทัพมาตีเมืองนครราชสีมา และกวาดต้อนพลเมือง ไปเป็นเชลย จนทำให้เกิดเหตุการณ์ครั้งสำคัญคือ คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมือง นครราชสีมา (พระสุริยเดชวิเศษ ฤทธิ์ทศทิศวิชัย) ผู้รักษาเมือง ได้แสร้งทำกลัวเกรง และประจบเอาใจทหารลาว พอถูกกวาดต้อนมาถึงทุ่งสัมฤทธิ์ ในเขตอำเภอพิมาย ก็หยุดพักกลางทาง ได้โอกาส คุณหญิงโม ก็เลยจัดกองทัพ โจมตีกองทัพเวียงจันทน์ ให้แตกพ่ายไป

เลยทำให้วีรกรรมของคุณหญิงโมนี้ ในหลวงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนา คุณหญิงโม ดำรงฐานันดรศักดิ์ เป็น "ท้าวสุรนารี" ถือได้ว่า เป็นเหตุการณ์ที่สำคัญมากของชาวโคราช ใครได้ไปเยือนโคราช ก็จะได้เห็นอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่สร้างขึ้นมา เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมอันยิ่งใหญ่ ของท้าวสุรนารี

นอกจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ที่กล่าวถึงที่มา ของเมืองนครราชสีมาแล้ว ยังมีปรากฏในนิทานปรัมปรา เล่าสืบกันมา ที่สำคัญ มีดังนี้

นิทานเรื่องที่ ๑ ในกาลครั้งหนึ่ง กล่าวว่า ที่นครอินทปัต พระโคตมมหาราช ผู้ครองนคร ได้สั่งให้ ขุนสิงหฬสาคร ไปค้าขายทางทะเล ขุนสิงหฬสาคร ได้นำพ่อค้าจำนวน 500 คน พร้อมสินค้ามากมาย ลงเรือสำเภา เดินทางไปได้เจ็ดเดือน เรือก็หยุดนิ่งอยู่ 15 วัน แต่แล้วก็เกิดลมพายุ พัดเอาเรือสำเภานั้น ออกมหาสมุทรไป พายุได้พัดเอาเรือสำเภานี้ ไปถึงเมืองของพระกาฬ ชื่อ เมืองกุเวร ซึ่งเป็นเมืองที่สวยงาม ปราสาทและกำแพง ล้วนแล้วแต่เป็นเงินทอง สุกเหลืองอร่าม พ่อค้าทั้งหลายก็ดีใจว่า เรารอดตายแล้ว จึงพากันขึ้นจากเรือ ไปซื้อหาอาหารกิน แล้วกลับมาเรือ บอกแก่ขุนสิงหฬสาครว่า ได้พบผู้หญิงคนหนึ่ง หน้าตาเหมือนกับนายผู้หญิง ขุนสิงหฬดีใจ รีบขึ้นจากเรือไปดู ก็พบเมียของตนจริงๆ ทั้งสองต่างดีใจ ร้องไห้รักกันแล้วนางจึงบอกว่า นางได้ตายไปแล้ว เพราะตอนที่ท่านจากมานั้น นางท้องอ่อนๆ อยู่ พอท้องได้แปดเดือนพระกาฬได้มาเอาชีวิต เป็นผี มาเฝ้าเมืองนี้ แล้วบอกความจริงว่า ท่านและชาวพาณิชทั้งหลาย จะตายภายใน 7 วัน ขอให้รีบหนีไป แล้วนางก็บอกว่า ก่อนนางสิ้นใจ ท่านได้ฝากทรัพย์ คือ เงิน 20 ชั่ง ทอง 1 ชั่ง ข้าผู้ชาย 9 คน ข้าผู้หญิง 10 คนไว้กับน้องสาว เมื่อกลับไป ให้ถามเอากับน้องสาว และขอให้ทำบุญกรวดน้ำ อุทิศส่วนกุศลมาให้นางด้วย แล้วบอกวิธีที่จะรอดชีวิตว่า ให้ขุนสิงหฬสาครทำข้าวตู ข้าวตาก ใส่ไถ้พันไว้กับตัว แล้วปีนขึ้นไปอยู่บนเสากระโดงเรือ เมื่อพายุพัดเสากระโดง ไปฟัดกับกิ่งมะเดื่อ ให้เกาะกิ่งมะเดื่อไว้ จึงจะรอดชีวิต ขุนสิงหฬสาคร กลับมาที่เรือสำเภา แล้วออกเดินทางตามคำสั่งเมีย เลาะมาตามริมมหาสมุทร เมื่อเสากระโดงฟัดกับกิ่งมะเดื่อ จึงปีนขึ้นไปอยู่บนกิ่งนั้น ส่วนเรือสำเภานั้น แล่นไปได้ 7 วัน ก็ตกลงท้องมหาสมุทร ลูกเรือและนายพาณิชทั้งหมด สิ้นชีวิต ขุนสิงหฬสาคร อยู่บนกิ่งมะเดื่อต้นใหญ่นั้น นานวัน กินแต่ลูกมะเดื่อ จึงปีนตามเครือเถาวัลย์ลงมา 7 วัน ถึงโคนต้น เห็นราชสีห์ยืนอยู่ ก็ตกใจกลัวมาก เอาลูกมะเดื่อขว้างไปยังราชสีห์ ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง จึงรู้ว่า ราชสีห์ตาย จึงลงมาผลักให้ล้มลง แล้วเอาดาบเถือ หนังราชสีห์ แบกไต่ตามแนวป่า ขึ้นมากินแต่ข้าวตู ถึง 15 วัน ถึงเมืองด่าน ชาวด่านนำไปพบเจ้าเมือง ขุนสิงหฬสาครเล่าความแต่ต้น และได้หนังราชสีห์มาแต่ป่าหิมพานต์ เจ้าเมืองจึงเถือเอาหนังราชสีห์ไว้หน่อยหนึ่ง ขุนสิงหฬสาครเดินทางผ่านเมืองต่างๆ ทุกเมืองก็จะเถือแบ่งเอาหนังราชสีห์ไว้ เมื่อมาถึงเมืองอินทปัต หนังราชสีห์ จึงเหลือเท่าพรมปูนั่งเท่านั้น ขุนสิงหฬสาคร นำหนังราชสีห์ ถวายพระเจ้าโคตมมหาราช แล้วเล่าเหตุการณ์ พระเจ้าโคตมมหาราช ก็พระราชทานเงินทองมากมาย แล้วทูลลามาบ้านของตน สอบถามข้าไทและน้องสาว ก็ได้ความจริง ดังที่เมียสั่งไว้ทุกประการ ชื่อของเมืองนี้ จึงได้นามตามที่ขุนสิงหฬสาคร คอนหนังราชสีห์ มาเป็นคอนราชสีห์มา และนครราชสีมาตามลำดับ

นิทานเรื่องที่ ๒ ในหนังสือตำนานอุรังคธาตุ (ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๓) เล่าว่า พระพุทธรักขิต พระธรรมรักขิต พระสังฆรักขิต ได้นำพระอรหันต์ทั้ง ๕ มีพระมหารัตนเถระ เป็นต้น ไปยังเมืองราชคฤห์ เพื่ออัญเชิญพระบรมธาตุต่างๆ ของพระพุทธเจ้า เช่น หัวเหน่าพระพุทธเจ้า ธาตุเขี้ยวฝาง พระธาตุฝ่าเท้าขวา เมื่อเดินทางกลับมา ได้พักแรมที่เมือง “คอนราช” คืนหนึ่ง พระอรหันต์ทั้ง ๘ ได้จารึกประวัติ เมื่อครั้งพระศาสดายังทรงทรมาน พระองค์เสด็จมาสถิต ที่ถ้ำแก้ววชิรปราการ ซึ่งอยู่ระหว่างเมืองละโว้กับภาคอีสาน อีกทั้งจารึกเรื่องราวพื้นบ้าน และอุปเท่ห์นิทาน (อุบายในการเล่านิทาน) พร้อมทั้งชื่อ “เมืองคอนราช” ไว้

นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี พิจารณาเห็นว่า ตรงกับ “คอนราชสีห์มา” ในนิทานพงศาวดารเหนือ ว่า ขุนสิงหฬสาคร ซึ่งพระโคตรมกรุงอินทปัฐ แต่งให้ไปค้าขาย และสำเภาเกิดแตกอับปาง แต่รอดชีวิตมาได้ พบราชสีห์ยืนตายใต้ต้นไม้ แล้วถลกหนังหาบใส่บ่า รอนแรมมาถึงเมืองนี้ ชาวบ้านร้องบอกกันว่า “คอนราชสีห์มา” ซึ่งในนิทานนี้ เอ่ยถึงเมืองละโว้ไว้ด้วย หากเป็นดังนี้เมือง “นครราช” คงพูดกันสั้นๆ ว่า “คอนราช”

นิทานเรื่องที่ ๓ เรื่องเมืองขวางทะบุรี เล่าว่า กาลโพ้น มีเมืองๆ หนึ่งชื่อ ขวางทะบุรีศรีมหานคร ซึ่งขุนบรมราชาเป็นผู้สร้าง และได้ประกาศเป็นข้อห้าม มิให้ชาวเมืองกระทำบาปใดๆ เช่น ฆ่าสัตว์ ในวัน ๗ ค่ำ และ ๘ ค่ำ วัน ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ทั้งข้างขึ้นและข้างแรมของทุกเดือน ผู้ใดฝ่าฝืน จะบังเกิดความพินาศล่มจม แก่ตนเองและบ้านเมือง จนถึงสมัยพระยาองค์หนึ่ง ที่ครองเมือง ไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม เที่ยวยกรี้พลไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แย่งชิงสมบัติคร่าลูกเมียผู้อื่น บ้านเมืองเดือดร้อน ลุกเป็นไฟทุกหย่อมหญ้า พระยาแถน ผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในเทวดาได้ทราบข่าว จึงส่งงูร้ายจำนวนมาก มาทำลายเมือง จนชาวเมืองล้มตายกันหมด จนในที่สุดเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร กลายเป็นเมืองร้าง เหลือผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียวคือ นางกองศรี ราชธิดาของพระยาผู้ครองเมือง เพราะพระบิดานำไปซ่อนไว้ในกลองใบใหญ่แห่งหนึ่ง

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เสวยชาติเป็นมานพชื่อ คัทธกุมาร ออกท่องเที่ยวช่วยเหลือบรรดาสัตว์ที่ทุกข์ยาก กับทหารคู่ใจคือ นายชายไม้ร้อยกอ และนายชายเกวียนร้อยเล่ม เมื่อผ่านมาถึงเมืองขวางทะบุรีศรีมหานคร ก็แปลกใจ ที่เมืองนี้ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย พบกลองใบใหญ่ บนหอกลองแห่งหนึ่ง ได้เอาไม้เคาะตีเล่น มีเสียงดังประหลาดๆ จึงใช้พระขรรค์แหวะหนังหน้ากลอง พบนางกองศรี

นางเล่าเหตุการณ์และบอกว่า ถ้ามีการจุดไฟ และควันไฟลอยขึ้นไปบนฟ้า จะมีงูฝูงใหญ่ จะลงมาทำอันตรายทันที คัทธกุมารเห็นว่า ชาวเมืองได้ชดใช้กรรมเพียงพอแล้ว สมควรที่จะใช้ชีวิตอยู่กันเป็นปกติสุขจึงให้ทหารก่อไฟ เมื่อกลุ่มควันลอยขึ้นไปบนอากาศจนท้องฟ้ามืดมัว พระยาแถนเห็นเข้า ก็คิดว่า ยังมีคนอยู่ในเมืองขวางทะบุรีอีก จึงปล่อยฝูงงูร้ายลงมา คัทธกุมารได้ฆ่าฟันงูจนหมดราบเรียบ และได้ชุบพระยาขวางทะบุรี พร้อมมเหสี ชาวเมืองที่ล้มตาย ต่างฟื้นขึ้นเป็นอัศจรรย์ และให้ชื่อเมืองว่า “เมืองนครราช” บริเวณที่ก่อกองไฟ กลายเป็นป่าดงดิบรกทึบ เรียกกันว่า ดงพระยาไฟ ส่วนกระดูกงู ได้ถูกน้ำหลาก พัดพาไปกองเป็นภูเขา ชื่อ ภูหอ หรือภูโฮ่ง

นายชายไม้ร้อยกอ อยู่กินกับนางกองศรี และได้รับมอบหมายจากคัทธกุมาร ปกครองเมืองนครราชด้วยความร่มเย็น ส่วนคัทธกุมาร และนายชายเกวียนร้อยเล่ม ออกเดินทางทางท่องเที่ยวต่อไป

เชื่อกันว่า พระพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นมาณพนาม ท้าวคัทธกุมาร พระสารีบุตร พระอัครสาวกฝ่ายขวา ผู้ทรงปัญญา เกิดมาเป็นมาณพชื่อ ชายไม้ร้อยกอ เพราะสามารถลากไม้ไผ่ ที่มัดรวมกัน  ๑๐๐ กอได้ และพระโมคคัลลานะ พระอัครสาวกฝ่ายซ้าย ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ ได้เกิดมาเป็นมาณพ ชื่อ ชายเกวียนร้อยเล่ม เพราะมีกำลังลากเกวียนที่ผูกติดกัน และบรรทุกข้าวเต็มทั้ง ๑๐๐ เล่มได้

การที่บรรพบุรุษแต่เก่าก่อน พยายามอธิบายที่มา และความหมายของเมืองนครราชสีมา จากอดีตสืบกันมา ซึ่งยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกัน อีกทั้งมักเล่าเรื่องเป็นนิทาน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบเรื่องราว อย่างไรก็ตาม จึงมิได้หมายความว่า ชื่อเมือง “นครราชสีมา” ขุนสิงหฬสาคร คอนหนังราชสีห์มาถึงเมืองนี้

หรือคัทธกุมาร มานพหนุ่มผู้สร้างเมืองนครราช ก็หาไม่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในหนังสือ เที่ยวตามทางรถไฟ และรวมเรื่องเมืองนครราชสีมาว่า มีคำกล่าวกันมาแต่ก่อน อ้างถึงเรื่องในพงศาวดารเหนือว่า ขุนสิงหฬสาคร ซึ่งพระเจ้าโคตรมกรุงอินทปัต แต่งให้ไปค้าขาย ได้หนังราชสีห์คอนบ่ามาทางนี้ เมืองจึงชื่อว่าเมืองนครราชสีมา เป็นเรื่องในตำนานเดียว กับเมืองสุพรรณบุรีว่า เดิมชื่อเมืองสองพันบุรี เพราะมีราชบริพาร ตามเสด็จพระเจ้าแผ่นดินออกบวช ๒,๐๐๐ คน และว่าตำบลสามเสนในกรุงเทพฯ นี้ เดิมชื่อตำบลสามแสน เพราะมีคน ๓๐๐,๐๐๐ คน มิอาจลากพระพุทธรูปที่จมน้ำขึ้นมาได้ ล้วนไม่มีมูลทั้งสิ้น

โพสท์โดย: ประเสริฐ ยอดสง่า
อ้างอิงจาก:
https://youtu.be/6yuvFOjxoSY?si=tCb8SCCKXE0oUhKr
นิทานตำนานเมืองนครราชสีมา
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ผัก ผลไม้ วิตามินซีสูง พร้อมคุณประโยชน์อีกมากมายเงินดิจิทัล 10000 บาท คนทั่วไป ได้เงินวันไหน?ประโยชน์ของแสงแดด ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง จิตแจ่มใสงานบ้านช่วยลดน้ำหนัก สำหรับคนไม่อยากไปฟิตเนส บ้านสะอาด แถมยังได้ออกกำลังกายด้วยสื่อฮ่องกง แฉ “บอสเหล่าดารา” เอี่ยวคดี “ดิไอคอน” โยงนักการเมือง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
disrespectful: ไม่เคารพ ไม่เคารพนับถือ7อันดับ"ทำเลที่ดินกรุงเทพที่มีราคาสูง"(ราคาแรง-ราคาหลักล้าน)พายุ "จ่ามี" จ่อถล่มอีสาน! กรมอุตุฯ เตือน 26-27 ต.ค. นี้ เตรียมรับมือฝนตกหนัก ลมกระโชกแรง 🌧️🌬️‘ลีน่าจัง’ เมินกระเเส ถูกร้านก๋วยเตี๋ยว ติดป้ายห้ามเข้า คนทำระวังติดคุกในระหว่างการแสดง วาฬเพชฌฆาตอึในน้ำ และกระโดดให้น้ำกระจายโดนผู้ชมเงินดิจิทัล 10000 บาท คนทั่วไป ได้เงินวันไหน?
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
ไดอารี่ปริศนาเล่มที่ 6 คดีลวงโลกของ "ฆาตกรรม" ที่ไม่มีใครตายมนตราวายสะ ตอนที่ 14 โตขึ้นฉันอยากเป็น... (3)ทองประกายแสด อวสานชีวิตรักน้องทอง ทองเป็นที่พึ่งของทองเองมนตราวายสะ ตอนที่ 14 โตขึ้นฉันอยากเป็น... (2)
ตั้งกระทู้ใหม่