มหาวิทยาลัยชื่อดังของไทย ที่ชาวต่างชาตินิยมมาเรียนมากที่สุด
มหาวิทยาลัยในประเทศไทย
ที่มีจำนวนนักศึกษาชาวต่างชาติมากที่สุด ประจำปี 2565
*ข้อมูลโดย กองระบบและบริหารข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กรข.)
กลุ่มพัฒนาและบริหารจัดการข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์ (พข.)
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
(Dhurakij Pundit University)
จำนวนนักศึกษาต่างชาติ รวม 2,757 คน
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทย
ถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ
และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511
ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 6 คณะ 6 วิทยาลัย
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
(Assumption University)
จำนวนนักศึกษาต่างชาติ รวม 2,638 คน
หรือที่เรียกกันติดปากว่า เอแบค (ABAC) จัดอยู่ในเครือคณะภราดาเซนต์คาเบรียล
มี 2 วิทยาเขตหลัก วิทยาเขตหัวหมาก ตั้งอยู่ที่ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ
กรุงเทพมหานคร และ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางเสาธง
อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ
และยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย
มหาวิทยาลัยเกริก
(Krirk University)
จำนวนนักศึกษาต่างชาติ รวม 2,238 คน
เดิมชื่อสถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทย ถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยกรุงเทพ
วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา
ตั้งอยู่ที่ หลักสี่ ถนนรามอินทรา กม.1 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2495 จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษา
เมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538
มหาวิทยาลัยมหิดล
(Mahidol University)
จำนวนนักศึกษาต่างชาติ รวม 1,286 คน
เดิมชื่อ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษา
ที่เน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
และมีที่ตั้งอีกหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอำนาจเจริญ
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(Bangkok University)
จำนวนนักศึกษาต่างชาติ รวม 1,257 คน
เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทย
ถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
และวิทยาลัยพัฒนา เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ
“วิทยาลัยไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น
“วิทยาลัยกรุงเทพ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ”
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527