เหรียญสิบบาทรุ่นหายากที่สุด ที่ถูกผลิตขึ้นเพียง 100 เหรียญ
เหรียญสิบบาท (Ten-baht coin)
เป็นเหรียญกษาปณ์สกุลเงินบาทที่ใช้ในประเทศไทย
แบ่งเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนและเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 10 บาท ถูกประกาศออกใช้ครั้งแรก
ในปี พ.ศ. 2531 โดยผลิตเป็นเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี
แทนการใช้ธนบัตรราคา 10 บาท ที่ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว
เหรียญสิบบาทของไทย มีการผลิตมาแล้วรวมทั้งหมด 31 รุ่น
นับตั้งแต่รุ่นแรกในปี พ.ศ. 2531 จนถึงรุ่นล่าสุดที่ผลิตในปี พ.ศ. 2560
โดยรุ่นปีที่ถูกผลิตในจำนวนมากที่สุด คือรุ่นปี 2551 (แบบเก่า)
ที่มีการผลิตจำนวน 179,165,360 เหรียญ รองลงมาคือรุ่นปี 2556
จำนวน 162,075,000 เหรียญ และรุ่นปี 2537 จำนวน 150,598,831 เหรียญ
ในขณะที่รุ่นปีที่มีการผลิตเหรียญสิบบาทน้อยที่สุด
คือปี พ.ศ. 2533 (รุ่นที่ 3) ที่มีการผลิตออกมาเพียง 100 เหรียญ
ซึ่งถือเป็นเหรียญสิบบาทรุ่นที่หายากที่สุด
เหรียญสิบบาท รุ่นปี พ.ศ. 2533 แต่เดิม กรมธนารักษ์ตั้งใจจะผลิต
เพื่อมอบเป็นเหรียญที่ระลึกแก่คนที่เข้าร่วมประชุม Mint Directors Conference
หรือการประชุมกรรมการโรงกษาปณ์ ครั้งที่ 16 ที่จัดขึ้นในประเทศอังกฤษ
โดยจากจำนวนเหรียญทั้งหมดที่มี 100 เหรียญนั้น มีการแจกแก่ผู้ร่วมงาน
ไปเพียง 40 เหรียญ (60 เหรียญที่เหลือยังอยู่ที่กรมธนารักษ์)
โดยคาดว่าจะมีคนไทยที่ได้ครอบครองเหรียญนี้เพียง 20 คนเท่านั้น
จึงถือเป็นเหรียญที่หาได้ยากและเป็นที่ต้องการมากที่สุดในปัจจุบัน