หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มอญ ชนชาติพันธุ์ บนแผ่นดินสุวรรณภูมิ

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ ที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง ในภูมิภาคนี้ ตามพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญ"เป็นชนชาติแรก ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล ชาว"มอญ"เป็นพวกที่มีเชื้อสายอยู่ในกลุ่ม"มอญ"-เขมร และบางที อาจจะอพยพมาจากตอนกลาง ของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตน ทางตอนใต้บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "สุวรรณภูมิ"

ขณะเดียวกัน ในแถบตอนกลางของประเทศพม่า ก็มีอาณาจักรหนึ่งที่เจริญรุ่งเรือง มาตั้งถิ่นฐานอยู่ นั่นก็คือ อาณาจักรพยู หรือ ศรีเกษตร พวกนี้ไม่เหมือนกับ"มอญ" หากเป็นพวกที่จัดอยู่ในเชื้อสายธิเบต-พม่า พวกพยู ได้ตั้งเมืองหลวงแห่งแรกขึ้นที่ ศรีเกษตร ใกล้กับเมืองแปร (Prome) ในปัจจุบัน และทุกวันนี้ ก็ยังคงมองเห็นเป็นซากปรักหักพัง ของสถาปัตย์แบบพุทธศาสนาหลายแห่ง โดยได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์นั่นเอง

นักภูมิศาสตร์อาหรับบางท่าน เรียกมอญว่า รามัญประเทศ (Ramannadesa) ซึ่งหมายถึง "ประเทศมอญ" คำนี้ เพี้ยนมาจากคำศัพท์โบราณของ"มอญ" คือ Rmen (รามัญ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศอินเดีย

ตามตำนานกล่าวว่า มอญ เป็นผู้วางรากฐานสร้างเจดีย์ "ชเวดากอง" เป็นเวลาเกือบ 2500 ปีมาแล้ว หากแต่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ เรารู้แต่ว่า มอญ เป็นผู้นำศาสนาพุทธ เข้ามาในประเทศพม่า ในพุทธศตวรรษที่ 2 อาณาจักรสุธรรมวดีหรือสะเทิม (Thaton) ซึ่งเป็นศูนย์กลาง ของ"อาณาจักรมอญ" มีสัมพันธ์ใกล้ชิด กับพระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดีย พระองค์ได้ส่งพระโสณะ และพระอุตร มาประกาศพระพุทธศาสนา ที่เมืองนี้ก่อนเมืองใดๆ ในแถบสุวรรณภูมิ

พงศาวดารมอญ กล่าวถึงอาณาจักรสะเทิมว่า สร้างก่อน พ.ศ. 241 โดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าติสสะ แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ได้นำพลพรรคลงเรือสำเภา มาจอดที่อ่าวเมาะตะมะ และตั้งรากฐานที่นั่น ซึ่งต่อมา เป็นที่ตั้งของเมืองสะเทิม ส่วนพระราชโอรสทั้งสอง ทรงเบื่อในการครองเรือน จึงได้ออกบวชเป็นฤาษี บำเพ็ญตบะแก่กล้า จนวันหนึ่ง ได้นำลูกของพญานาคที่ทิ้งไว้ มาเลี้ยงดูเป็นบุตรบุญธรรม จนเมื่อเด็กเติบใหญ่ จึงได้สร้างเมืองให้ ณ ปากอ่าวเมาะตะมะ ตรงที่สำเภามาจอด ให้ชื่อเมืองว่า สะเทิม ส่วนบุตรบุญธรรม ก็ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์นามว่า พระเจ้าสีหราชา ซึ่งได้เป็นปฐมกษัตริย์แห่งเมือง

อาณาจักรสะเทิม รุ่งเรืองมาก โดยได้ติดต่อค้าขายใกล้ชิด กับประเทศอินเดีย และลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ที่สำคัญคือ ทางด้านอักษรศาสตร์ และศาสนา โดยเฉพาะรับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานมา มอญ เป็นชาติที่มีบทบาทมากที่สุด ในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย ให้แก่ชนชาติอื่นๆ ในเอเชียอาคเนย์ เช่น ชาวพม่า ไทย และลาว ทั้งมีความเจริญสูง มีความรู้ดี ทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญ ในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบชลประทานขึ้น ในลุ่มน้ำอิระวดี ทางตอนกลางของประเทศพม่า ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 พวกพยูได้ย้ายราชธานีไปอยู่ที่ ฮาลิน ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ในเขตแดนชเวโบ ในระยะเวลาเดียวกันนั้น พวกน่านเจ้า ก็เข้ารุกรานทางตอนเหนือของพม่า และทำสงครามกับพวกพยูในปี พ.ศ. 1375 กวาดต้อนชาวพยูไปเป็นเชลย จำนวนมาก พวกที่เหลือ จึงลี้ภัยลงมาทางใต้ และสร้างเมืองพุกาม (Pagan) เป็นที่มั่น ในปีพ.ศ. 1392 จากนั้น เรื่องราวของพวก"พยู"ก็หายไป ความอ่อนแอของพวก"พยู"ทำให้ชนอีกพวกหนึ่ง ที่มีเชื้อสายเดียวกัน ได้แก่ พวกมราม่า (Mramma) หรือพม่า ซึ่งอพยพมาจากบริเวณเขตแดนจีน-ทิเบต ได้เข้ามาตั้งหลักแหล่งทางตอนเหนือ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 ได้เข้ารุกราน และยึดครองดินแดนของพวก"พยู" แล้วค่อยๆ กลืนพวก"พยู"จนสูญสิ้นชาติไปในที่สุด

ในช่วงที่อาณาจักรพยู ถูก"น่านเจ้า" รุกรานนั้น อาณาจักรมอญที่สะเทิม ก็ได้มีโอกาส ขยายอำนาจไปทางภาคกลาง ของลุ่มแม่น้ำอิระวดีระยะหนึ่ง แต่ต่อมา เมื่อชนชาติพม่า มีอำนาจเหนืออาณาจักรพยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ ก็เข้ารุกรานพวกมอญ ทางภาคกลางของลุ่มน้ำอิระวดี มอญในแถบนั้น จึงต้องถอยร่นลงมา รวมกำลังกันอยู่ทางตอนใต้เช่นเดิม และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ที่ หงสาวดี (Pegu) เมื่อปี พ.ศ.1368

ตามตำนานพื้นเมืองของ"มอญ" กล่าวถึงการสร้างเมืองหงสาวดีว่า มีเจ้าชายสองพี่น้องจากสะเทิม คือ เจ้าชายสามะละ และวิมะละ ได้มาตั้งเมืองหงสาวดีขึ้นบนเกาะ ซึ่งงอกออกมาจากทะเล อันเป็นบริเวณที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นหงส์ 2 ตัว เล่นน้ำอยู่ เป็นส่วนหนึ่งของที่ราบลุ่มสามเหลี่ยม ริมฝั่งแม่น้ำอิระวดี ซึ่งเรือของพ่อค้าอินเดีย เคยมาถึงเกาะดังกล่าวนั้นแล้ว แต่"มอญ" ยังคงอ้างสิทธิ์ในเกาะนั้น แม้ว่าอินเดีย จะอ้างเป็นเจ้าของก็ตาม ต่อมาพระเจ้าสามะละ พระเชษฐาได้ส่งพระอนุชา ไปศึกษาต่อที่อินเดีย โดยสัญญาว่าเมื่อเสด็จกลับมา จะถวายราชสมบัติให้ แต่เมื่อเจ้าชายวิมะละเสด็จมา พระองค์ก็ไม่สนพระทัยทำตามสัญญา เจ้าชายวิมะละจึงก่อกบฏ และปลงพระชนม์พระเชษฐาเสีย แล้วยึดบัลลังก์ พระมเหสีของพระเจ้าสามะละ ได้นำพระราชโอรส หลบหนีไปอยู่นอกเมือง บริเวณทุ่งเลี้ยงควาย จนเจ้าชายน้อยเติบใหญ่ เป็นชายหนุ่มสูงใหญ่ กล้าหาญ และเข้มแข็ง เมื่อพระชนม์ได้ 16 ชันษา มีเรือพ่อค้าอินเดีย มาท้ากษัตริย์ให้รบกับทหารอินเดีย ตัวสูงใหญ่ โดยพนันเอาเมืองสงหาวดีกัน กษัตริย์ทรงทราบดีว่า พระองค์ไม่สามารถสู้ได้ จึงประกาศหาผู้อาสามารบ แต่ไม่มีผู้ใดอาสาเลย วันหนึ่ง นายพรานออกป่าไปล่าสัตว์ ได้พบชายหนุ่มท่าทางเข้มแข็ง อยู่ท่ามกลางควายป่าดุร้าย ก็แปลกใจ จึงได้นำไปทูลต่อกษัตริย์ พระองค์จึงให้นำชายหนุ่มผู้นั้นเข้าเฝ้า และเมื่อทรงทราบว่า เป็นพระราชนัดดาของตนเอง ก็ทรงละอายพระทัยต่อความผิด ต่อมา ชายหนุ่มผู้เป็นราชนัดดาของกษัตริย์ ได้อาสาออกรบ ปรากฎว่า ได้รับชัยชนะในการต่อสู้ พระองค์จึงยินดีเป็นอย่างยิ่ง และได้คืนราชบัลลังก์ให้ เป็นรางวัลตอบแทน

หลังจากนี้ ในช่วงปี 1600-1830 เป็นระยะที่กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม ในพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรสุธรรมวดีที่รุ่งเรือง ก็สลายลง เนื่องจาก"พระเจ้าอนิรุทธ์" กษัตริย์พม่าแห่ง"พุกาม"ได้ยกทัพมาตี และกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก รวมทั้ง"พระเจ้ามนูหะ" กษัตริย์แห่งสุธรรมวดีด้วย "พงศาวดารมอญ"บันทึกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า  "เมืองสะเทิมที่ยิ่งใหญ่ เหลือแต่ซาก และเงียบสงบจับใจ"

การที่พระเจ้าอนิรุทธ์ ยกทัพมาตี"อาณาจักรมอญ" เป็นเพราะว่าขณะนั้น พระองค์ไม่พอใจในศาสนาเดิมของพุกาม ที่นับถือมหายานแบบตันตริก ซึ่งปนไสยศาสตร์ เรียกว่า"ลัทธิอรี" พระองค์ต้องการแก้ไข  และทรงสนพระทัยในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน ที่กำลังรุ่งเรืองมาก ในอาณาจักรสุธรรมวดี ไปเผยแพร่ในพุกาม แต่เป็นการยาก เพราะพุกามขาดพระไตรปิฎก ดังนั้น พระองค์จึงส่งทูต ไปขอพระไตรปิฎก จากพระเจ้ามนูหะ แห่งสุธรรมวดี ตามคำแนะนำของ ชินอรหันต์ ซึ่งประวัติศาสตร์กล่าวว่า เป็นพระภิกษุมอญ ที่ทรงอาราธนา มาช่วยฟื้นฟูศาสนาในพุกาม แต่ว่าพระเจ้ามนูหะไม่ยินยอมให้ ทำให้พระเจ้าอนิรุทธ์ ซึ่งต้องการขยายอำนาจลงมาทางใต้อยู่แล้ว ฉวยโอกาส ยกทัพมาตีสุธรรมวดี

ใน"พงศาวดารมอญ กล่าวเป็นตำนาน ถึงการที่พระเจ้ามนูหะ แพ้แก่พระเจ้าอนิรุทธ์ว่า เป็นเพราะพระเจ้าอนิรุธ ได้ใช้กลวิธี ส่งพระราชธิดาของตน ไปทำลายพระเจ้ามนูหะ โดยให้ธิดาของตน ทำลายของวิเศษ 3 อย่าง ของพระเจ้ามนูหะ คือ

ทำลาย ไม่ให้พระเจ้ามนูหะสมาทานศีล

ทำลายกลองพิเศษ

ทำลายแม่ทัพ 2 คน ที่มีฝีมือเก่งกล้าในการรบ

เมื่อพระธิดา สามารถทำลายได้แล้วทั้ง 3 อย่าง ก็ได้ส่งข่าวให้กองทัพของพระเจ้าอนิรุทธ์ กรีฑาทัพบุกเข้าตีสะเทิม จนอาณาจักรสะเทิม ต้องแตกไปในที่สุด

แม้ว่าพม่าจะได้ชัยชนะ แต่พม่า ก็ต้องรับเอา"วัฒนธรรมของมอญ" มาเป็นของตนเอง "ภาษามอญ"ได้แทนที่ภาษาบาลี และสันสกฤตในจารึกหลวง และศาสนาพุทธเถรวาท ได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม ทั้งนี้ เพราะ"มอญ"มีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้น เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท และนิกายนี้ ก็ได้แพร่กระจาย ไปทั่งเอเชียอาคเนย์

กษัตริย์พุกาม ผู้ซึ่งดำเนินนโยบาย รวม"มอญ"กับพม่าเข้าด้วยกัน ตามนโยบายแบบเดียว กับพระเจ้าอนิรุทธ์ อีกพระองค์หนึ่งก็คือ พระเจ้ากยันสิทธะ พระองค์ทรงดำเนินนโยบาย โดยทรงผูกมิตรกับราชตระกูล ของพระเจ้ามนูหะ "กษัตริย์มอญ"แห่งสะเทิม โดยการยกพระราชธิดา ให้กับเจ้าชายมอญ และได้เลือกพระราชโอรส ที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ให้ขึ้นครองราชย์ ต่อจากพระองค์ นามว่า อลองคะสิทธู ซึ่งในยุคของพระเจ้าอลองคะสิทธูนี้เอง ที่"อาณาจักรพุกาม"ได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด นอกจากนี้ ในสมัยของพระเจ้ากยันสิทธะ ศิลาจารึกของพระองค์ จะมีทั้ง"ภาษามอญ"และภาษาพม่า คำประกาศใน"ภาษามอญ" ก็ยกย่อง"วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย

มอญ ได้ตกอยู่ใต้อำนาจของพม่า มาจนถึงปี พ.ศ. 1830 เมื่อ"มองโกล"ยกทัพมาตีพม่า มอญ ก็ได้รับเอกราชอีกครั้งหนึ่ง โดย มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ"พ่อขุนรามคำแหง" ได้กอบกู้เอกราช  และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนา"อาณาจักรมอญอิสระ" มีศูนย์กลาง อยู่ที่เมืองเมาะตะมะ เมาะตะมะ เป็นเมืองหลวงของมอญ จนถึงปี พ.ศ. 1912 ก็ย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม ถึงในสมัย"พระเจ้าราชาธิราช"นั้น "หงสาวดี" ก็กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบ"อ่าวเบงกอล" มีเมืองท่าที่สำคัญหลายแห่ง "อาณาจักรมอญ" เจริญสูงสุด ในสมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ คือ ระหว่าง พ.ศ.2015-2035 หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2094 หงสาวดี ก็เสียแก่พระเจ้า"ตะเบงชะเวตี้" กษัตริย์พม่า ซึ่งในช่วงนี้เอง ที่ราชวงศ์ตองอูของพม่า ขึ้นปกครองหงสาวดี จนถึงปี พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธิเกศ ก็กู้เอกราช คืนมาจากพม่าได้สำเร็จ ทั้งยังยกทัพไปตีเมืองอังวะอีกด้วย

ในพ.ศ.2290 พระยาทะละ ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ได้ทำการขยายอาณาเขตต่อไป ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง แต่"ชัยชนะของมอญ"ก็เป็นช่วงสั้นๆ เท่านั้น ในปี พ.ศ.2300 อลองพญา ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ จนต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า และนับตั้งแต่นั้นมา มอญ ก็ไม่มีโอกาส ที่จะกู้เอกราชคืนมาได้อีกเลย จนกระทั่งทุกวันนี้

โพสท์โดย: ประเสริฐ ยอดสง่า
อ้างอิงจาก: https://youtu.be/SPnv0rXqBgc?si=P_Eww0a2mKq6Lt3O
มอญ ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: ลิลลี่ ไมโครนอส, อาหารเพื่อสุขภาพ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ภาพจักรพรรดิ​นี​หว่า​นห​รง​ ราชวงศ์​ชิงกฟภ. ประกาศฟรีค่าไฟเดือน ก.ย. และลด 30% ในเดือน ต.ค. สำหรับพื้นที่น้ำท่วมสาลี่ เดอะสตาร์ โพสต์คลิปสวีตอวยพรวันเกิด ตงตง กฤษกร หวานจนแฟนคลับแซวสนั่นเกาหลีใต้เจอศึกหนัก ธุรกิจทรุดหลายเดือน แถมไทยก็แบนไม่หยุด ต้องหันหน้าหาญี่ปุ่นอดีตศัตรูเข้าใจคนผ่านกฎ 18 ข้อโตโยต้าเตรียมเรียกคืนรถยนต์กว่า 42,000 คันในสหรัฐฯเราควรซักผ้าปูที่นอนและหมอนบ่อยแค่ไหน?อ้าว จัดอันดับประเทศในเอเชียมีอิทธิพลต่อโลก ไทยติดโผ แต่เกาหลีอยู่ตรงไหนกันแน่โมสาร์ทปล่อยเพลงใหม่ ในรอบ 200 ปีลุงต๋องแฉแม่ตั๊ก ให้เงินในคลิป 3,000 บาท ถ่ายเสร็จขอคืน 2,000 หวังช่วยรักษาเท้าแต่เป็นแค่ลมปากฮือฮา! ภาพวาดบ้านไม้โบราณสุดสมจริง ผลงานสีน้ำมันของนักศึกษาสาว ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ้าว จัดอันดับประเทศในเอเชียมีอิทธิพลต่อโลก ไทยติดโผ แต่เกาหลีอยู่ตรงไหนกันแน่ภาพจักรพรรดิ​นี​หว่า​นห​รง​ ราชวงศ์​ชิงสาลี่ เดอะสตาร์ โพสต์คลิปสวีตอวยพรวันเกิด ตงตง กฤษกร หวานจนแฟนคลับแซวสนั่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
7 วิธีอ่านหนังสือให้มีประสิทธิภาพเราควรซักผ้าปูที่นอนและหมอนบ่อยแค่ไหน?เกาหลีใต้เจอศึกหนัก ธุรกิจทรุดหลายเดือน แถมไทยก็แบนไม่หยุด ต้องหันหน้าหาญี่ปุ่นอดีตศัตรูอ้าว จัดอันดับประเทศในเอเชียมีอิทธิพลต่อโลก ไทยติดโผ แต่เกาหลีอยู่ตรงไหนกันแน่
ตั้งกระทู้ใหม่