หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร ผู้นำพระบรมสารีริกธาตุสู่ดินแดนนครศรีธรรมราช

โพสท์โดย ประเสริฐ ยอดสง่า

“พระนางเหมชาลา พระทนทกุมาร” หรือ “เจ้าหญิงเหมชาลา เจ้าชายทันทกุมาร” บางครั้งนิยมออกนามว่า พระแม่เหมชาลา พระฑันทกุมาร ในภาษาไทย และ เหมมาลี ฑันทกุมาร สำหรับในภาษาสิงหล ภาษาทมิฬ และ ภาษาอังกฤษ princess hemamali prince dantha เป็นบุคคลที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ศรีลังกา และในเรื่องเล่ามุขปาฐะท้องถิ่นทางภาคใต้ของประวัติศาสตร์ไทยในฐานะปูชนียบุคคลผู้อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมายังนครลงกา ประเทศศรีลังกาและพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน ณ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และวัดจะทิ้งพระ ประเทศไทย

โดยมีบทบาทเรื่องราวเหมือนกันคือ ทรงลี้ภัยจากแผ่นดินมาตุภูมิเดิมจากภัยสงครามโดยลอบนำพระเขี้ยวแก้ว และพระบรมสารีริกธาตุติดพระองค์มาด้วย ก่อนจะประดิษฐานในที่ต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในปัจจุบัน แต่แตกต่างตามรายละเอียดเล็กน้อย เช่น แผ่นดินมาตุภูมิที่มาของทั้งสองพระองค์เดิม ซึ่งตามตำนานฝั่งลังกากล่าวว่า คือ นครปุรี รัฐโอฑิศา ประเทศอินเดีย แต่ในตำนานตามฝั่งไทย คือ นครทันตะปุระ ประเทศอินเดีย ไม่ปรากฏที่ตั้งในปัจจุบัน หรือ ฐานะของทั้งสองพระองค์ คือ ตามตำนานฝั่งลังกากล่าวว่า ทรงเป็นคู่สามีภริยา แต่ในตำนานตามฝั่งไทย กล่าวว่าทรงเป็นพี่น้องกัน เป็นต้น

เนื่องด้วยพระนางและพระราชกุมาร มีความความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกับตำนานพื้นเมืองท้องถิ่นทางภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะอย่างกับเมืองนครศรีธรรมราช และเมืองสทิงพระ รวมถึงศาสนาพุทธในประเทศไทยแบบเถรวาทด้วยอิทธิพลของศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกา ทรงได้รับการสักการะบูชาในฐานะปูชนียบุคคล และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในมเหศักดิ์ (มเหสักข์) และอารักษ์ในศาสนาพื้นเมืองเดิมท้องถิ่นของไทยร่วมกับเทพารักษ์ พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง อารักษ์เสื้อวัด และเทพบรรพชนโดยทั่วไปของท้องถิ่นภาคใต้ (เช่นเดียวกับคติครามเทวตาและกุลเทวดาในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู พื้นเมืองเดิมท้องถิ่นของอินเดียภาคใต้หรือสิงหล) นามของพระนางและพระราชกุมารยังได้รับสถาปนาเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์อุทิศถวาย ณ วิหารธรรมศาลา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งกำหนดอายุทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้ในศิลปะไทยสกุลช่างท้องถิ่น สมัยอาณาจักรอยุธยาตอนปลาย ประมาณตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศลงมา และยังมีพระราชานุสาวรีย์ของพระนาง และพระราชกุมาร ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารและวัดจะทิ้งพระ นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์ อุทิศถวายแด่ทั้งสองพระองค์ ในฐานะพระพุทธรูปประธานของอุโบสถ ร่วมกับพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ณ  วัดหนองคุย อำเภอแกลง จังหวัดระยองอีกด้วย

ความเกี่ยวข้องของพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร กับวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชนั้น มีประวัติเป็นตำนานกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า พระเขมะเถระ ได้กำบังกายเข้าไปในจิตกาธาน อัญเชิญพระทันตธาตุเบื้องขวาและเบื้องซ้าย ไปถวายพระเจ้าพรหมทัต กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงคราษฏร์ จากนั้น พระทันตธาตุทั้งสอง ก็ได้เคลื่อนย้ายไปประดิษฐานยังนครต่างๆ และในที่สุด ได้ไปอยู่ที่เมืองทนธบุรี อันมี พระเจ้าโคสีหราช ครองอยู่ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 852 กษัตริย์ทมิฬ 5 พระองค์ก็รวบรวมกำลัง ยกทัพมาตีเมืองทนธบุรี เพื่อทำลายพระทันตธาตุนั้น

พระเจ้าโคสีหราชจึงทรงมีพระราชโองการ ให้พระราชธิดาและพระราชโอรส คือ พระนางเหมชาลา และ เจ้าชายทนธกุมาร ปลอมพระองค์เป็นพ่อค้า อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งสองแบ่งกันซุกซ่อนไว้ในเกล้าเมาลีอย่างมิดชิดทั้งสองพระองค์ พากันเสด็จหนีลงเรือมุ่งไปกรุงลังกา

ตำนานกล่าวว่า ขบวนเรือพระที่นั่งได้ล่องอยู่ในทะเลลึกหลายวันหลายคืน จนระหว่างทางนั้นเองก็เกิดพายุแรงกล้า จนเรือส่วนใหญ่ในขบวนอับปางลง เหลือแต่เรือสำเภาพระที่นั่งเพียงลำเดียวที่ยังสามารถล่องลอยฝ่าคลื่นลมจนพ้นอันตรายมาได้โดยปาฏิหาริย์ ผ่านหมู่เกาะอันดามันและเกาะแก่งต่างๆ ไป

กระทั่งถึงเมืองตะโกลา สองรัชทายาท แห่งเมืองทนธบุรี ก็เสด็จขึ้นฝั่งไปอาศัยอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งทรงทราบข่าวว่า ทางเมืองตามพรลิงค์ ฝั่งตะวันออกของสุวรรณภูมิ มีเรือสำเภาขึ้นล่องไปมาระหว่างลังกากับสุวรรณภูมิ พระนางเหมชาลาและพระอนุชา ผู้เป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์แห่งนครทนธบุรี จึงออกเดินทาง มุ่งหน้าไปตามพรลิงค์ โดยต้องทรงบุกป่าฝ่าดง ลำบากกันมิใช่น้อยทั้งสองพระองค์ จนมาถึงสถานที่ร่มรื่นแห่งหนึ่ง บริเวณหาดทรายแก้ว จึงได้แวะพักอาศัย และอัญเชิญพระทันตธาตุจากเกล้าเมาลี ลงประทับฝังไว้ชั่วคราว ก่อนเดินทางไปที่เมืองตรังฝั่งตะวันตก และขออาศัยเรือสำเภาลำหนึ่งเดินทางไปกรุงลังกา

ครั้นไปถึง พระทันตธาตุ ได้แผ่ฉัพพรรณรังสีให้เห็นเป็นปาฏิหาริย์ กษัตริย์ลังกา คือ พระเจ้าทศคามมุนี จึงทรงมีพระราชโองการ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชพระทันตธาตุ อย่างยิ่งใหญ่อลังการ จากนั้น โปรดฯให้อัญเชิญพระทันตธาตุ ไปประดิษฐานชั่วคราวในพระราชวัง ระหว่างรอการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้น เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วทั้งสองพระองค์นั้น สำหรับเป็นที่สักการบูชา ของพุทธศาสนิกชนชาวลังกาทั้งหลาย ซึ่งก็คือพระธาตุเขี้ยวแก้ว องค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ เมืองแคนดี (เรียกขานในขณะนั้น) ส่วนพระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนธกุมาร ก็ได้เสด็จประทับในพระราชวังกรุงลังกา อย่างสมบูรณ์พูนสุข เสมอด้วยพระราชธิดาและพระราชโอรส ของพระเจ้ากรุงลังกาเอง

เวลาผ่านไประยะหนึ่ง กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะ ผู้ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงกู้เมืองทนธบุรีจากพวกทมิฬ และได้มีการสถาปนา เจ้านายในราชวงศ์ ของพระนางเหมชาลากับพระอนุชา ขึ้นปกครองบ้านเมือง พระเจ้ากรุงลังกา จึงพระราชทานคืนพระทันตธาตุเบื้องซ้าย พร้อมทั้งพระบรมสารีริกธาตุที่หักย่อยอีก 1 ทะนาน ให้พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนธกุมาร อัญเชิญด้วยเรือสำเภาใหญ่จากลังกา กลับสู่หาดทรายแก้ว เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 854

จากนั้น อัญเชิญพระทันตธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุครึ่งทะนานประดิษฐานภายในผอบแก้ว บรรจุไว้ในขันทองคำ แล้วทำการก่อพระเจดีย์หุ้มไว้ ณ รอยเดิมที่เคยฝังพระทันตธาตุไว้ในกาลก่อน ส่วนพระบรมสารีริกธาตุ ที่เหลืออีกครึ่งทะนาน พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนธกุมาร ได้อัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองทนธบุรี ทั้งสองพระองค์ได้ทรงเสร็จสิ้นภารกิจ ในการจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างสมบูรณ์ และประทับอยู่ในบ้านเกิดเมืองนอน ด้วยความสุขสบายตลอดพระชนม์ชีพ

เวลาผ่านไปนานหลายร้อยปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้เสด็จมาพบพระทันตธาตุ กับพระบรมสารีริกธาตุที่หาดทรายแก้ว จึงโปรดฯ ให้สร้างพระมหาธาตุเจดีย์ขึ้นอย่างใหญ่โต อัญเชิญพระทันตธาตุและพระบรมสารีริกธาตุครึ่งทะนานบรรจุไว้ภายในพระมหาเจดีย์แห่งนั้น ซึ่งก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช

จะเห็นได้ว่า ตำนานพระบรมธาตุเมืองนครฯ ยกย่องให้ขัตติยนารี คือ พระนางเหมชาลา เป็นผู้อัญเชิญพระทันตธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุจากลังกา มาประดิษฐานภายในองค์พระบรมธาตุอยู่จนปัจจุบันนี้ 

โพสท์โดย: ประเสริฐ ยอดสง่า
อ้างอิงจาก:
https://youtu.be/Ms9UxjHT2lo?si=W8GF470UGW_GGe--
ตำนาน สทิงพระ และเขาคูหา
พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมาร ผู้นำพระบรมสารีริกธาตุสู่ดินแดนนครศรีธรรมราช
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ภาพจักรพรรดิ​นี​หว่า​นห​รง​ ราชวงศ์​ชิงเกาหลีใต้เจอศึกหนัก ธุรกิจทรุดหลายเดือน แถมไทยก็แบนไม่หยุด ต้องหันหน้าหาญี่ปุ่นอดีตศัตรูโตโยต้าเตรียมเรียกคืนรถยนต์กว่า 42,000 คันในสหรัฐฯสาลี่ เดอะสตาร์ โพสต์คลิปสวีตอวยพรวันเกิด ตงตง กฤษกร หวานจนแฟนคลับแซวสนั่นอ้าว จัดอันดับประเทศในเอเชียมีอิทธิพลต่อโลก ไทยติดโผ แต่เกาหลีอยู่ตรงไหนกันแน่ลุงต๋องแฉแม่ตั๊ก ให้เงินในคลิป 3,000 บาท ถ่ายเสร็จขอคืน 2,000 หวังช่วยรักษาเท้าแต่เป็นแค่ลมปากโมสาร์ทปล่อยเพลงใหม่ ในรอบ 200 ปีกฟภ. ประกาศฟรีค่าไฟเดือน ก.ย. และลด 30% ในเดือน ต.ค. สำหรับพื้นที่น้ำท่วมเข้าใจคนผ่านกฎ 18 ข้อเราควรซักผ้าปูที่นอนและหมอนบ่อยแค่ไหน?ฮือฮา! ภาพวาดบ้านไม้โบราณสุดสมจริง ผลงานสีน้ำมันของนักศึกษาสาว ม.ราชภัฏบุรีรัมย์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อ้าว จัดอันดับประเทศในเอเชียมีอิทธิพลต่อโลก ไทยติดโผ แต่เกาหลีอยู่ตรงไหนกันแน่ภาพจักรพรรดิ​นี​หว่า​นห​รง​ ราชวงศ์​ชิงสาลี่ เดอะสตาร์ โพสต์คลิปสวีตอวยพรวันเกิด ตงตง กฤษกร หวานจนแฟนคลับแซวสนั่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
บารมีหลวงปู่หน่วยประสบการณ์เจอผี ไม่น่าเชื่อจะมีจริงๆ น่ากลัวมาก จิตอ่อนอย่าอ่านตำนานพระนางจามเทวีปริศนาคลื่นความทรงจำ (2) #อักษราลัย
ตั้งกระทู้ใหม่