เจ้าหญิงเวียงชื่น เทพวงศ์ ไม่ยอมถูกจับกุมคุมขัง ยอมปลิดชีพตน ด้วยการดื่มยาพิษ
เจ้าเวียงชื่น เทพวงศ์ ราชธิดา เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงผู้ครองนครแพร่ องค์สุดท้าย ยังไม่พบเอกสาร ที่ระบุปีประสูติของบุตร-ธิดาทั้ง 7 ของแม่เจ้าบัวไหล กับเจ้าหลวงพิริยะเทพวงค์ (อาจมีเก็บรักษาไว้ เฉพาะในวงศ์เครือญาติ) ดังนั้น เราจึงไม่อาจทราบได้ว่า ปี 2445 ช่วงที่เกิดกบฏเงี้ยวนั้น เจ้าเวียงชื่น (หรือที่ชาวสยามรู้จักในนาม “เจ้าเมืองชื่น”) ธิดาองค์ที่สอง รองจากเจ้ากาบคำ (ธิดาองค์แรกเสียชีวิตก่อนเกิดกบฏเงี้ยว) มีอายุเท่าไหร่
เมื่อพิจารณาจากอายุของแม่เจ้าบัวไหล 52 ปี ในช่วงกบฏเงี้ยว จึงพออนุมานได้ว่า เจ้าเวียงชื่น ก็น่าจะมีอายุราว 30 ต้นๆ ถือว่า เป็นตัวเลขที่น่าสนใจยิ่ง เพราะช่วงกบฏเงี้ยว เจ้าดารารัศมีเอง ก็มีพระชนมายุราว 30 ต้นเช่นกัน
น่าตื่นเต้นทีเดียว หากมีการพบหลักฐาน การแสดงความเห็นเรื่องกบฏเงี้ยว ของเจ้าดารารัศมี ไม่ว่าเอกสารตอบโต้ กับสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หรือมีถึงเจ้านายฝ่ายเหนือท่านอื่นใด ว่าพระองค์ ทรงมีมุมมองอย่างไร ต่อความพยายาม ที่จะปลดแอกตนเองของชาวแพร่ ในฐานะที่พระองค์เอง อยู่ในสภาพ เป็น “องค์ประกัน” ต่อราชสำนักสยาม
ทำไมเจ้าเวียงชื่นกับสวามี คือเจ้าราชวงศ์ (เจ้าน้อยบุญศรี บุตรรัตน์) จึงต้องปลิดชีพ ด้วยการดื่มยาพิษ ในคุ้มเจ้าราชวงศ์ (ปัจจุบันคุ้มนี้รื้อแล้ว) ในเมื่อเจ้าพี่เจ้าน้องคนอื่นๆ ก็ไม่ได้รับโทษทัณฑ์ขั้นประหาร มีเพียงแค่ถูกถอดยศศักดิ์ นำตัวไปกักบริเวณที่กรุงเทพฯ
หลักฐานหลายชิ้นระบุว่า เจ้าราชวงศ์ ผู้เป็นบุตรเขยลำดับที่ 2 รองจากเขยใหญ่ เจ้าอุปราช (เจ้าน้อยเสาร์ วราราช สวามีเจ้ากาบคำ) นั้น มีบทบาทสำคัญ ในการบริหารช่วยราชการเมืองแพร่ เนื่องจากเจ้ากาบคำได้เสียชีวิต ทำให้เจ้าอุปราช พลอยถูกลดบทบาทตามลงไปด้วย
เจ้าราชวงศ์ เป็นที่ไว้วางใจ ของเจ้าหลวงพิริยะเทพวงค์ ถูกวางตำแหน่งให้เป็น “ว่าที่เจ้าหลวงองค์ถัดไป” ดังนั้น ช่วงที่เกิดเหตุการณ์กบฏเงี้ยว เจ้าราชวงศ์กับเจ้าหญิงเวียงชื่น ย่อมถูกเพ่งเล็งจากสยามมากเป็นพิเศษว่า ต้องมีส่วนรู้เห็นเป็นใจ สนับสนุนให้พวกเงี้ยวก่อการจลาจล
ดังนั้น เมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ปราบกบฏเงี้ยว ในช่วงต้นเดือนตุลาคม 2445 เจ้าหลวงพิริยะเทพวงค์ ได้อัปเปหิตัวเอง ไปอยู่เมืองหลวงพระบาง จนสิ้นพระชนม์ชีพที่นั่น
ฝ่ายเจ้าเวียงชื่นพร้อมกับสวามี ได้พร้อมใจกัน ดื่มยาพิษจนถึงแก่กรรม เคียงข้างกัน โดยมิยอมให้ใครมาจับกุมคุมขัง ถอดยศริบทรัพย์ กล่าวคือ ได้ตัดสินใจเลือกทางเดินแล้ว แม้จะแพ้ หรือถูกมองว่าเป็นกบฏ แต่ก็เป็นผู้แพ้ที่เด็ดเดี่ยว ทระนง
เรื่องราวนี้เกิดขึ้น ในช่วงเหตุการณ์เงี้ยวก่อการจลาจล ในเช้าวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๔๔๕ นั้น มีเพียงเมืองแพร่เท่านั้น ที่พวกเงี้ยว เป็นผู้นำในการก่อการจลาจล ส่วนทางเมืองน่าน และเมืองลำปางนั้น ข่าวได้รั่วไหลไปก่อน
เจ้านายเมืองแพร่ จึงตกที่นั่งลำบาก เมื่อเรื่องยากที่จะแก้ไข สุดท้าย จึงเกิดการแตกแยกกัน ในหมู่เจ้านาย และพวกเงี้ยวพวกจีนเอง พะกาหม่อง และสล่าโป่ช่าย หัวหน้าพวกเงี้ยว ตายที่เมืองลำปาง
เจ้านายเมืองแพร่ จึงบอกพวกเงี้ยวที่เหลือ ลี้ภัยไปทางเหนือ เพื่อไปพึ่งอังกฤษ การก่อจลาจล จึงขึ้นไปทางเมืองพะเยา เงี้ยวปล้นเมืองแพร่ จึงสงบในเดือนสิงหาคม แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า อังกฤษ จะเข้าแทรกแซง และเพื่อเป็นการแสดงอำนาจของกองทัพสยาม จึงโปรดเกล้า ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี นำทัพใหญ่ ขึ้นมาขู่เจ้านายเมืองแพร่ แต่อ้างว่า มาปราบกบฏ ในปลายเดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ทางเมืองต่างๆ คิดว่า พวกเงี้ยวเป็นอันตราย
จึงได้ปราบปรามกันทุกเมือง เรื่องจึงบานปลายไป เจ้าหลวงเห็นว่า มันสายที่จะแก้แล้ว จึงหาทางตั้งรับ อยู่ที่เมืองแพร่พอ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีมาถึง ก็กระทำการออกแกมข่มขู่สอบสวน เจ้าเวียงชื่น ธิดาของเจ้าหลวง จับเจ้าน้อยสวน เจ้าคำลือ เจ้าไชยสงคราม เจ้าราชวงศ์ เจ้าราชบุตร(เป็นบุตรเจ้านครน่าน)ไปขังไว้
เจ้าหลวงได้ข่าวว่า อาจมีการนำเอาเมืองแพร่ ไปขึ้นเมืองน่านจริง จึงวิตกมาก เจ้าหลวง จึงปรึกษากับเจ้าสุริยะวงศ์ (เจ้าน้อยอินท มีฉายาทางพระว่า ขัตติยะ) จึงตัดสินใจได้ว่า จะไปปรึกษากับเจ้าเมืองน่านให้ช่วยแก้ไข ซึ่งเจ้าเมืองน่านกับเจ้าเมืองแพร่ เกี่ยวดองกัน ทางเขยสะใภ้เจ้าหลวง ได้หนีไปตามลำน้ำยม.ในวันที่ ๒๕ กันยายน แต่ข่าวรั่วไหลเสียก่อน ทางเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จึงให้ประกาศข่าว ให้เจ้าหลวงกลับมา ให้ทหารสกัดทุกทาง เรื่องระหว่างความไม่เข้าใจกัน ทำให้เจ้าเมืองน่าน แนะนำให้เจ้าหลวง หนีไปหลวงพระบางซึ่งขณะนั้น ฝรั่งเศส ดูแลอยู่ชั่วคราว
๓๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๔๕ เมืองแพร่ก็หมดสถาณภาพ เมืองประเทศราช ในระบอบเจ้าผู้ครองนครหลังการปลดเจ้าหลวงออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้งพระยาศรีสุริยราชฯ เป็นผู้รั้งเมือง เช้าวันหนึ่งในเดือน ตุลาคม เจ้าราชวงศ์แห่งเมืองแพร่ กับเจ้าเวียงชื่นภรรยา ซึ่งเป็นธิดา ของเจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าหลวงเมืองแพร่ ทั้งสองท่านสิ้นชีวิต โดยทำอัตวินิบาตกรรม ด้วยการดื่มยาพิษ นอนทอดกายเคียงข้างกัน ที่คุ้มเจ้าราชวงค์
เจ้าพระยาสุรศักดิ์ เกรงจะเป็นเรื่องใหญ่ จึงทูลไปให้ทางกรุงเทพทราบ รัชกาลที่ ๕ ทรงเกรงว่า เจ้าพิริยะเทพวงศ์ จะถูกบีบ จึงให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี คุมตัวทายาท และชายาเจ้าหลวง ลงไปไว้ที่กรุงเทพ และสั่งปลดเจ้าหลวง ออกจากเจ้าผู้ครองนครแพร่ ด้วยกลัวว่า ฝรั่งเศส จะแทรกแซง
อ้างอิงจาก:
https://youtu.be/WoEHlVTAOFA?si=MLAcsb0CMvHjZ_tE
เจ้าหญิงเวียงชื่น ขอปลิดชีพตนไม่ยอมถูกกุมขัง