เช็คเลย!! “อาหาร” ที่ไม่ควรกินคู่กัน
เช็คเลย!! “อาหาร” ที่ไม่ควรกินคู่กัน
1) โปรตีน(อาหารจำพวกถั่ว ไข่ นม เนื้อสัตว์ ปลา กุ้ง) + เอนไซม์ทริปซิน (trypsin; อาหารจำพวกถั่ว)
มักทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งเป็นอาการของอาหารเป็นพิษ
คำอธิบาย: ยกตัวอย่างเช่น น้ำเต้าหู้ใส่ลูกเดือย ในถั่วเหลืองดิบมีเอนไซม์ทริปซินที่ขัดขวางการดูดซึมโปรตีนที่อยู่ในลูกเดือยและควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่ทำหน้าที่สลายโปรตีนในร่างกาย ทำให้เกิดอาการระคายเคืองกระเพาะและลำไส้ ส่งผลให้คลื่นไส้ อาเจียน เอนไซม์สลายโปรตีนเหล่านี้จะถูกทำลายเมื่อถูกความร้อน ดังนั้น หากเรานำไปต้มให้เดือดปรุงให้สุกก็จะไม่เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
2) โปรตีน(อาหารจำพวกถั่ว ไข่ นม เนื้อสัตว์ ปลา กุ้ง)+กรดอินทรีย์ เอนไซน์ กรดมาลิก (malic acid;ผลไม้ คาร์โบไฮเครต)
ทำให้ท้องเสียบ่อย
คำอธิบาย: ยกตัวอย่างเช่น แอปเปิลกับนมวัว เมื่อโปรตีนในนมวัวรวมกับกรดมาลิกในแอปเปิล และสะสมจนถึงระดับหนึ่ง นมจะตกตะกอนทำให้ท้องเสียบ่อย จึงไม่ควรกินคู่กัน
3) ไลซีน (lysine) ในอุณหภูมิสูง(เนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารจำพวกนม) + น้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต)
ทำให้กระเพาะและลำไส้ปั่นป่วนคลื่นไส้ ท้องเสีย
คำอธิบาย: ยกตัวอย่างเช่น นมรสหวาน นมแช่เย็นที่นำมาเดิมน้ำตาลจะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงแต่นมที่อุ่นให้ร้อนและนำมาเติมน้ำตาลจะมีผลเสียต่อร่างกายเพราะในนมวัวมีไลซีน ซึ่งเมื่อรวมตัวกับน้ำตาลในอุณหภูมิสูง จะกลายเป็นสารชนิดหนึ่งที่ย่อยยาก ทำให้กระเพาะลำไส้ปั่นป่วน อาการจะรุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน
4) วิตามินซี(ผัก ผลไม้)+โซเดียมอาร์เซเนต(sodium arsenate; กุ้ง)
อาจทำให้ภูมิคุ้มกันลดลงหรืออาหารเป็นพิษ
คำอธิบาย: ยกตัวอย่างเช่น กุ้งมะนาว กุ้งมีโซเดียมอาร์เซเนต มะนาวมีวิตามินซี เมื่อสาร 2 ชนิด มาพบกันจะกลายเป็นสารอาร์เซไนด์ (arsenite) ซึ่งเป็นสารพิษชนิดหนึ่ง ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ ถ้าหากนำไปปรุงให้สุก ก็จะช่วยยับยั้งไม่ให้วิตามินซีไปกระตุ้นโซเดียมอาร์เซเนตและกลายเป็นสารอาร์เซไนต์ นอกจากนี้ สารโลหะอย่างสารโซเดียมอาร์เซเนตมักสะสมอยู่บริเวณหัวกุ้ง ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงการกินหัวกุ้ง
5) แคลเซียม(ผักสีเขียวเข้ม สาหร่ายทะเล อาหารจำพวกถั่ว นม และไข่ ปลาที่มีก้าง)+กรดแทนนิก(tannic acid; ผลไม้)
ทำให้กระเพาะปั่นป่วนและอาจทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ เช่น ท้องเสีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
คำอธิบาย: ยกตัวอย่างเช่น ชีสทาร์ดแอปเปิล ชีสอุดมไปด้วยแคลเซียม ส่วนแอปเปิลอุดมไปด้วยกรดแทนนิก หากกินพร้อมกันจะทำให้แคลเซียมในชีสรวมตัวกับกรดแทนนิกในแอปเปิล กลายเป็นสารชนิดหนึ่งที่ย่อยยาก สารตัวนี้จะกัดกระเพาะ ทำให้ระคายเคืองจึงแนะนำให้กินในปริมาณน้อย
6) กินขนมปังโฮลวีต + ตามด้วยกาแฟ
อาจทำให้เกิดอาการหลงลืม กระวนกระวายโมโหง่าย
คำอธิบาย: คาเฟอีนจะทำลายวิตามินบี 1 ที่อยู่ในขนมปังโฮลวีต หากกินในปริมาณมากและเป็นเวลานาน ร่างกายจะขาดวิตามินบี 1 ทำให้ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม กระวนกระวายกังวล โมโห และเหนื่อยง่าย จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
7) กินข้าว + ตามด้วยผลไม้
อาจทำให้เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน
คำอธิบาย: ไม่ควรกินผลไม้ระหว่างกินข้าวหรือหลังกินข้าวเสร็จ เพราะ น้ำตาลจากผลไม้ที่อยู่ในกระเพาะจะทำปฏิกิริยากับข้าวจนเกิดเป็นแก๊สในกระเพาะ ทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
8) กินมันเผา+ตามด้วยแอปเปิล
อาจทำให้เกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน
คำอธิบาย: มันเทศอุดมไปด้วยแป้งเมื่อกินเข้าไป กระเพาะจะหลั่งน้ำย่อยปริมาณมาก และเมื่อรวมกับสารเพกทิน (pectin) และกรดแทนนักของเส้นใยอาหารในแอปเปิลจะทำให้เกิดลิ่มที่ย่อยยากเป็นเหตุให้ท้องไส้ปั่นป่วน จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
9) กินหัวไช้เท้าทอด + ตามด้วยส้ม
ขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยต์
คำอธิบาย: เมื่อกินหัวไช้เท้าร่างกายจะผลิตกรดไทโอไซยานึก(thiocyanic acid) ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับฟลาโวนอยด์ที่อยู่ในส้ม ส่งผลต่อการดูดซึมไอโอดีนของร่างกายและการทำงานของต่อมไทรอยด์ จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
10) กินอาหารรมควัน + ตามด้วยเบียร์
สาเหตุของโรคมะเร็งและโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
คำอธิบาย: ผู้ที่ดื่มเบียร์บ่อยๆ จะมีสารตะกั่วในเลือดสูง ส่วนอาหารรมควันจะมีสารอะโรมาติกเอมีน(aromatic amine) สูง อาหารรมควันบางชนิดจะผลิตสารพอลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbon) ในปริมาณมากระหว่างการย่าง เมื่อสาร 2 ชนิดมารวมตัวกัน อัตราการเกิดโรคมะเร็งหรือโรคเกี่ยวกับการย่อยอาหารจะสูงกว่าปกติ จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
11) กินตับหมูผัด + ตามด้วยน้ำชา
อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก
คำอธิบาย: สารแทนนินในน้ำชาจะรวมตัวกับธาตุเหล็กในเนื้อสัตว์ เช่น ตับหมู กลายเป็นสารประกอบที่ย่อยยาก ส่งผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็กเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้น จึงไม่ควรดื่มน้ำชาภายใน 1 ชั่วโมงก่อนและหลังอาหาร ควรเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
12) กินสเต๊ก (ไก่หรือหมู) + ตามด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาจทำให้เกิดอาการมือสั่น ความจำแย่
คำอธิบาย: สเต๊กไก่มีวิตามินบี 1 หากกินพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานานแอลกอฮอล์จะทำลายวิตามินบี 1 ทำให้กล้ามเนื้อไม่มีแรง มือเท้าสั่นความจำแย่ จึงแนะนำให้กินห่างกันโดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
13) กินสาหร่ายคมบุ + ตามด้วยน้ำบ๊วย
อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย
คำอธิบาย: ไอโอดีน โพแทสเซียมและแคลเซียมในสาหร่ายคมบุ เมื่อรวมกับกรดผลไม้ (alphahydroxy acid: AHA) ในน้ำบ๊วย จะทำให้เกิดสารที่ย่อยยาก ทำให้ระคายเคืองกระเพาะและลำไส้คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
14) กินอาหารทะเลต้ม +ตามด้วยน้ำบ๊วย
อาจทำให้เกิดอาการท้องผูก
คำอธิบาย: หากกินอาหารทะเลในปริมาณมาก โปรตีนในอาหารทะเลจะรวมตัวกับกรดแทนนิกในน้ำบ๊วย กลายเป็นโปรตีนแอลบูมิน (albumin) ซึ่งจะขัดขวางการทำงานของลำไส้ ทำให้ท้องผูกและส่งผลต่ออัตราการดูดซึมโปรตีน จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง หากกินคู่กัน จะทำให้ระคายเคืองกระเพาะและลำไส้
15) กินอาหารทะเล + ตามด้วยเบียร์
อาจทำให้เกิดอาการโรคเกาต์ คุณค่าสารอาหารลดลง
คำอธิบาย: ในอาหารทะเลจะมีสารพิวรีน (purine) และสารนิวคลีโอไทด์ (nucleotide)ส่วนเบียร์มีวิตามินบี 1 ที่ย่อยสลายสารทั้ง 2 ชนิดนี้ ดังนั้น เมื่อกินอาหารทะเลพร้อมกับดื่มเบียร์ เบียร์จะไปควบคุมการขับกรดยูริกส่งผลให้กรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเกาต์ โรคไต หรือโรคข้ออักเสบ
นอกจากนี้ ในปลาสดมีวิตามินดีสูง หากกินอาหารทะเลพร้อมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจลดการดูดซึมวิตามินดีเข้าสู่ร่างกาย 6-7 เท่า จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
16) ดื่มน้ำเต้าหู้ + ตามด้วยส้ม
อาจทำให้เกิดอาการอาหารไม่ย่อย
คำอธิบาย: เมื่อน้ำเต้าหู้ที่อุดมไปด้วยโปรตีนรวมกับกรดผลไม้ในผักผลไม้ ทำให้โปรตีนแข็งตัวและย่อยยาก ส่งผลเสียต่อกระเพาะและลำไส้ ทำให้ปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อและท้องเสีย จึงแนะนำให้กินห่างกันโดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
17) กินต้นหอม + ตามด้วยน้ำผึ้ง
อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย
คำอธิบาย: ในต้นหอมมีกรดอะมิโนที่ในโมเลกุลมีซัลเฟอร์ เมื่อรวมกับกรดอินทรีย์และเอนไซม์ในน้ำผึ้ง จะก่อให้เกิดสารชนิดหนึ่งที่ส่งผลเสียต่อการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้จนกลายเป็นเหตุให้ท้องเสีย จึงแนะนำให้กินห่างกันโดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
18) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์+ตามด้วยกาแฟ
อาจทำให้เกิดอาการโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ กระวนกระวาย
คำอธิบาย: เมื่อดื่มแอลกอฮอล์กับกาเฟอีนพร้อมกันจะยิ่งกระตุ้นสมอง หากดื่มในช่วงที่ตื่นเต้นหรือกระวนกระวายใจจะยิ่งทำให้อารมณ์แย่ลง หากมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจอาจทำให้หลอดเลือดขยายตัว เลือดไหลเวียนเร็วขึ้น ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ จึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
19) ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์+ตามด้วยน้ำชา
อาจทำให้เกิดอาการเมาค้าง โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ โรคไต
คำอธิบาย: เอทานอลที่ถูกย่อยไม่หมดกับน้ำชาที่มีคุณสมบัติช่วยขับปัสสาวะจะไปกระตุ้นไตและส่งผลเสียต่อการทำงานของไต นอกจากนี้ แอลกอฮอล์และน้ำชาล้วนมีคุณสมบัติกระตุ้นหลอดเลือดหัวใจ ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามด้วยน้ำชาจะยิ่งไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจึงแนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
20) กินของหวาน + ตามด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น
คำอธิบาย: แอลกอฮอล์ที่ผ่านกระบวนการป้องกันการออกซิเดชันจะไปควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตในร่างกาย ทำให้ปริมาณน้ำตาลกลูโคสที่ถูกนำไปใช้ลดลง ส่งผลให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควรกินของหวานและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตาม แนะนำให้กินห่างกัน โดยเว้นช่วง 1 ชั่วโมง
ป.ล. เพื่อนๆ สามารถติดตามกระทู้อื่นๆ ได้ที่
https://page.postjung.com/n00kky
อ้างอิงจาก: หนังสือกินเปลี่ยนชีวิต ด้วยอาหาร 100 ชนิดจากธรรมชาติ คัมภีร์อาหารเพื่อสุขภาพ ที่แต่งโดย “3 ผู้เชี่ยวชาญ” ทั้งโภชนากร แพทย์แผนปัจจุบัน และแพทย์แผนจีนของไต้หวัน