หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยม สิ้นสุดระบอบกษัตริย์ในประเทศอิรัก

โพสท์โดย น้องมิ่ง รัตนาภรณ์

            พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก (อาหรับ: الملك فيصل الثان, Al-Malik Fayṣal Ath-thānī) พระนามเต็ม อัลมะลิก ฟัยศ็อล อัษษานี ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก ระหว่างปีพ.ศ. 2482 ถึงพ.ศ. 2501 เมื่อพระองค์ทรงถูกปลงพระชนม์ พร้อมพระราชวงศ์อิรัก ในปฏิวัติ 14 กรกฎาคม การปลงพระชนม์หมู่พระเจ้าฟัยศ็อลและพระราชวงศ์ ถือเป็นจุดสิ้นสุด 37 ปีแห่งระบอบกษัตริย์ แห่งราชวงศ์ฮัชไมต์ในอิรัก ที่ซึ่งได้กลายมาเป็นสาธารณรัฐในปัจจุบัน

            เจ้าชายฟัยศ็อล เสด็จพระบรมราชสมภพวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 ณ แบกแดด ประเทศอิรัก เป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระเจ้าฆอซีแห่งอิรัก พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก พระองค์ที่สอง กับสมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์แห่งอิรัก ซึ่งเป็นพระธิดาในพระเจ้าอะลีแห่งเฮแจซ แกรนด์ชะรีฟแห่งมักกะฮ์ ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2482 พระราชบิดาของเจ้าชายเสด็จสวรรคต หลังจากรถยนต์ปริศนาพุ่งชนรถพระที่นั่ง ขณะที่เจ้าชายมีพระชนมายุเพียง 3 ชันษา เจ้าชายฟัยศ็อล จึงครองราชสมบัติสืบต่อ เป็นพระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก บางคนเชื่อว่า พระเจ้าฆอซี ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี นูรี อัสซะอีด ในพระราชพิธีฝังพระบรมศพ ฝูงชนได้ตะโกนร้องว่า

            “นูรี แกจะต้องชดใช้ด้วยพระโลหิตขององค์กษัตริย์ฆอซี”

            นูรีถูกสงสัยว่า เขาได้รับพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระราชินีอะลียะฮ์ พระมเหสีของพระเจ้าฆอซีเอง และเขาได้วางแผนกับเจ้าชายอับดัลอิละฮ์ พระอนุชาในพระราชินี เพื่อดำเนินการถอดถอนองค์กษัตริย์ เจ้าชายอับดัลอิละฮ์ ซึ่งเป็นพระราชมาตุลาของพระองค์ ได้ดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกระทั่งพระเจ้าพระเจ้าฟัยศ็อล ทรงบรรลุนิติภาวะในปีพ.ศ. 2496

            พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 ทรงกลายเป็นต้นแบบของตัวละครการ์ตูนของแอร์เช นักวาดการ์ตูนชาวเบลเยียม สำหรับตัวละครเจ้าชายอับดุลละฮ์แห่งคีเหม็ด ในเรื่องการผจญภัยของตินติน พระเจ้าฟัยศ็อลประชวรด้วยพระโรคหอบหืด มาตั้งแต่ประสูติ

            พระมหากษัตริย์ มีพระชนม์ชีพช่วงวัยเยาว์ เกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งอิรัก ได้เป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการ กับจักรวรรดิอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตร ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2484 พระมาตุลาของพระองค์ ทรงถูกขับไล่ออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เพียงเวลาสั้นๆ จากการที่กองทัพได้ก่อรัฐประหาร ที่ซึ่งต้องการให้อิรักเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ

            การรัฐประหารนำโดยราชิด อะลี อัล-เกละนิ โดยวางแผนจะลอบปลงพระชนม์ผู้สำเร็จราชการเพื่อยึดอำนาจ ในวันที่ 1 เมษายน แต่ในวันที่ 31 มีนาคม เจ้าชายอับดัลอิละฮ์ ทรงทราบแผนการพระองค์ จึงเสด็จลี้ภัยออกนอกประเทศ ราชิด อะลี อัล-เกละนิ ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และดำเนินการกำจัดอิทธิพลของอังกฤษในอิรัก จากการรัฐประหารอิรัก พ.ศ. 2484 ส่งผลให้เกิดสงครามอังกฤษ-อิรัก การสนับสนุนจากนาซีเยอรมนี ที่ตกลงกันไว้ ไม่ได้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตาม เจ้าชายอับดัลอิละฮ์ ได้กลับคืนสู่อำนาจ โดยการรวมกลุ่มของกองทัพสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยกองทหารอาหรับจอร์แดน, กองทัพอากาศจอร์แดน และทหารอังกฤษหน่วยอื่นๆ อิรัก ได้ดำเนินสัมพันธไมตรีกับอังกฤษอีกครั้ง และเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติ หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่วนราชิด อะลี อัล-เกละนิ หลังจากแพ้สงคราม ต้องลี้ภัยไปยังเปอร์เซีย ก่อนที่เขาจะหนีออกจากแบกแดด เขาได้ติดต่อกับมุลละ แอฟเฟนติ และแจ้งต่อเขาว่า เขาได้มอบบ้านของเขาเอง ให้เป็นที่พำนักที่ปลอดภัย สำหรับพระราชวงศ์ โดยให้ทรงประทับจนกว่าความขัดแย้งจะสิ้นสุดลง ซึ่งเป็นที่สังเกตว่าราชิด อะลี อัล-เกละนิ เป็นผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์อย่างยิ่ง

            ในระหว่างช่วงต้นพระชนม์ชีพ พระเจ้าฟัยศ็อล ทรงได้รับการศึกษาที่พระราชวัง ร่วมกับเด็กชายชาวอิรักอื่นๆ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พระองค์ทรงประทับร่วมกับพระมารดาในกรูฟ ล็อด ที่หมู่บ้านวิงค์ฟิลด์ในบาร์กเชอร์ สหราชอาณาจักร เมื่อทรงเจริญพระชันษา พระองค์ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนฮาร์โรลด์ ร่วมกับพระญาติของพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน ทั้งสองพระองค์ เป็นพระสหายสนิทกัน และมีการบันทึกว่า ทรงวางแผนที่จะรวมทั้งสองราชอาณาจักรเข้าด้วยกัน เพื่อต่อต้านสิ่งที่ทั้งสองพระองค์เชื่อว่า กระทำการคุกคามลัทธิชาตินิยมแพน-อาหรับ

            การเร่งให้พระเจ้าฟัยศ็อลเสด็จสวรรคต เป็นการตัดสินพระทัยของพระมาตุลา ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการของพระเจ้าฟัยศ็อล (ภายหลังได้รับคำยืนยันโดยพระองค์) ที่ต้องการให้สหราชอาณาจักร สามารถรักษาบทบาทของตนอย่างต่อเนื่องในอิรัก โดยผ่านทางสนธิสัญญาอังกฤษ-อิรัก พ.ศ. 2491 และหลังจากนั้นแผนแบกแดด ที่ลงนามในปีพ.ศ. 2498 ผู้คนจำนวนมาก ออกมาประท้วงอิทธิพลสัมพันธมิตรนี้ เป็นผลให้มีการปราบปราม และผู้เดินขบวนประท้วงหลายร้อยคนเสียชีวิต และนำไปสู่ความตกต่ำของกระแสความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์อิรัก

            พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรักทรงบรรลุนิติภาวะในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 พระองค์ทรงเริ่มปกครอง ด้วยประสบการณ์ที่ทรงมีเล็กน้อย และในระหว่างการเปลี่ยนสภาวะทางการเมืองและสังคมของอิรัก ซึ่งถูกทำให้แย่ลง จากการพัฒนาลัทธิชาตินิยมแพน-อาหรับอย่างรวดเร็ว

            พระเจ้าฟัยศ็อล ทรงเริ่มต้นด้วยการอาศัยคำแนะนำทางการเมือง จากพระมาตุลา มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์และพลเอกนูรี อัสซะอีด ซึ่งเป็นนักการเมืองที่มีประสบการณ์ และเป็นนักชาตินิยม ที่ดำรงเป็นนายกรัฐมนตรีหลายสมัย ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1960 พระองค์และคณะที่ปรึกษา ทรงใช้ทรัพย์ของตนเอง ลงทุนในโครงการพัฒนา ที่ซึ่งสร้างความบาดหมางกับกลุ่มชนชั้นกลาง และชาวไร่อย่างรวดเร็ว พรรคคอมมิวนิสต์อิรักได้เพิ่มอิทธิพลขึ้น อย่างไรก็ตาม การปกครองของพระองค์ ดูเหมือนว่าจะปลอดภัย ความไม่พอใจที่เข้มข้นมากขึ้น ต่อสถานะของอิรัก ยังเป็นแต่ใต้ผิวหน้า การที่สามารถขยายช่องว่างระหว่างคนรวย โดยกลุ่มคนที่มีอภิสิทธิ์ทางการเมือง, ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และผู้สนับสนุนอำนาจในมือบุคคลเดียวอื่นๆ และความยากจนของกรรมกรและชาวนาอื่นๆ เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลของพระเจ้าฟัยศ็อลอย่างรุนแรง ตั้งแต่ชนชั้นสูงควบคุมรัฐสภา นักปฏิรูปได้เล็งเห็นกระแสการปฏิวัติที่มีเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นไปตามที่พวกเขาคาดหวัง การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2495 เพื่อล้มล้างระบอบกษัตริย์อียิปต์ภายใต้ราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลีโดยญะมาล อับดุนนาศิร เป็นการรับรองสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอิรัก

            ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 ซีเรียประเทศเพื่อนบ้านของอิรัก ได้ร่วมมือกับนาศิรแห่งอียิปต์ในการก่อตั้งสหรัฐอาหรับรีพับบลิค ส่งผลให้ราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรักและจอร์แดน สร้างพันธมิตรที่แข็งแกร่งขึ้นเช่นเดียวกัน สองสัปดาห์ถัดมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ สันนิบาตนี้ได้รับการก่อตั้งอย่างเป็นทางการในชื่อ สหพันธรัฐอาหรับแห่งอิรักและจอร์แดน พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรักเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่อาวุโสที่สุดในราชวงศ์ จึงทรงได้รับเกียรติให้ดำรงเป็นพระประมุขของสหพันธรัฐ

            สถานการณ์ทางการเมืองของพระเจ้าฟัยศ็อล เริ่มเลวร้ายลงในปีพ.ศ. 2499 ด้วยการลุกฮือของประชาชนในเมืองนะจัฟและฮะวี ขณะที่กองทัพอิสราเอลโจมตีอียิปต์ ในกรณีวิกฤติการณ์สุเอซ โดยการร่วมมือกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ซึ่งตอบโต้นโยบายชาตินิยมของญะมาล อับดุนนาศิรแห่งอียิปต์ ความนิยมที่ย่ำแย่ลง ในแผนแบกแดดก็ดีหรือการปกครองของพระเจ้าฟัยศ็อลก็ดี ฝ่ายต่อต้านได้เริ่มการเคลื่อนไหว ในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2500 ก่อตั้ง "ด่านหน้าสหภาพแห่งชาติ" (Front of National Union) ดำเนินการร่วมกันกับกลุมประชาธิปไตยแห่งชาติ, กลุ่มอิสรภาพ, คอมมิวนิสต์และพรรคบาธ กลุ่มดำเนินการที่เหมือนกันได้ดำเนินการแทรกแซงอย่างใกล้ชิดภายในเจ้าหน้าที่อิรัก ด้วยการก่อตั้ง "คณะเสนาธิการทหารอิสระสูงสุด" (Supreme Committee of Free Officers) คณะรัฐบาลของพระเจ้าฟัยศ็อล ได้พยายามรักษาความจงรักภักดีในกองทัพ โดยผ่านทางสวัสดิการต่างๆ แต่วิธีนี้ให้ผลที่ไม่ยั่งยืนมาก เมื่อกองทัพเห็นด้วยกับพวกต่อต้านระบอบกษัตริย์

            ในฤดูร้อน พ.ศ. 2501 สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน ส่งขอความช่วยเหลือทางการทหารกับอิรัก ในช่วงวิกฤตการณ์เลบานอน พ.ศ. 2501 ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น กองทหารภายใต้การบังคับบัญชาของพลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิม ได้กำหนดเดินทัพไปที่จอร์แดนแต่ ได้หันกลับมาที่กรุงแบกแดด ซึ่งได้กระทำการรัฐประหารปฏิวัติในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ในระหว่างการปฏิวัติ 14 กรกฎาคม กองทัพนำโดยพันเอกอับดุล ซะลาม อะริฟและพลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิมได้เข้ายึดกรุงแบกแดด ภายใต้การช่วยเหลือของพันเอกอิบด์ อัล-ละทิฟ อัล-ดะร์ระจี ในช่วงเช้าตรู่กองกำลังของอะริฟ ได้เข้ายึดสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และได้แถลงการณ์คณะปฏิวัติครั้งแรกความว่า

            "ล้มล้างจักรวรรดินิยม และกลุ่มพรรคพวกในคณะเจ้าหน้าที่ ประกาศสาธารณรัฐใหม่ และจุดจบยุคสมัยเก่า ประกาศสภาชั่วคราวแห่งสามสมัชชา เพื่อรับรองอำนาจประธานาธิบดี และสัญญาว่า จะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่ต่อไป"

            จากนั้น อะรีฟได้ส่งกองทหารสองกอง กองแรกมุ่งหน้าไปยังพระราชวังอัล-ราฮับ เพื่อกราบทูลพระเจ้าฟัยศ็อล และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ ให้ทรงทราบถึงการปฏิวัติ อีกกองหนึ่งมุ่งหน้าไปยังทำเนียบนายกรัฐมนตรีนูรี อัสซะอีด เมื่อกองทัพมาถึงพระราชวัง พระเจ้าฟัยศ็อล มีพระบัญชาให้ทหารกรมวังวางอาวุธ เพื่อไม่ให้ชาวอิรักต้องหลั่งเลือด และพระองค์ทรงยอมจำนนต่อฝ่ายต่อต้านด้วยพระองค์เอง แม้ว่าไม่มีรายงานใดๆ ถึงจำนวนกองกำลังที่บุกเข้าไปในพระราชวัง

            ในเวลา 8.00 น. หัวหน้ากองทหาร อับดุล ซัททาร์ ซะบาอะ อัล-อิโบซี ได้นำกองทัพปฏิวัติเข้าทำร้ายข้าราชสำนักในพระราชวัง มีคำสั่งกราบทูลพระบรมวงศานุวงศ์ได้แก่ พระเจ้าฟัยศ็อล, มกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์, เจ้าหญิงฮิยาม (พระชายาในมกุฎราชกุมาร และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์), สมเด็จพระราชินีนาฟิสซา บินต์ อัลอิละฮ์ (พระมารดาในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์ และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระอัยยิกาในกษัตริย์), เจ้าหญิงคะดิยะห์ อับดิยะห์ (พระเชษฐภคินี ในสมเด็จพระราชชนนีอะลียะฮ์และมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ และเป็นพระมาตุจฉาในกษัตริย์) และข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง ให้เสด็จลงมายังลานสนามในพระราชวังพร้อมๆ กัน

            จากนั้น มีคำสั่งให้ทุกพระองค์หันพระองค์เข้ากับกำแพง ที่ซึ่งทุกพระองค์ ถูกกราดยิงด้วยปืนกลในทันที ร่างของทั้งห้าพระองค์ร่วงลงพื้นสนาม พร้อมกับร่างของข้าราชบริพาร พระเจ้าฟัยศ็อลยังไม่สวรรคตในทันที หลังการระดมยิงครั้งแรก ทรงถูกนำพระองค์ส่งโรงพยาบาล โดยผู้จงรักภักดี แต่ก็เสด็จสวรรคตระหว่างทาง สิริพระชนมายุ 23 พรรษา เจ้าหญิงฮิยาม ทรงรอดพระชนม์ชีพจากการปลงพระชนม์หมู่มาได้ แต่ก็ทรงพระประชวรอย่างสาหัส จากการระดมยิง และทรงถูกผู้จงรักภักดี พาพระองค์เสด็จออกนอกประเทศ พระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ ถูกลากไปตามถนน และถูกตัดเป็นชิ้นๆ ข่าวการปลงพระชนม์หมู่ เกี่ยวกับมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ ได้มีการรายงานว่า

            "ประชาชนนักปฏิวัติ โยนพระศพของมกุฎราชกุมารอับดัลอิละฮ์ลงบนถนน ดั่งเช่นสุนัข และฉีกพระศพออกเป็นชิ้นๆ จากนั้น พวกเขาก็ทำการเผาพระศพ"

          ถือเป็นจุดสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก และเป็นโศกนาฏกรรมของระบอบกษัตริย์ 37 ปีในอิรัก

            นายกรัฐมนตรีนูรี อัสซะอีดก็ถูกสังหารด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากที่นูรีทราบข่าว การปลงพระชนม์พระบรมวงศานุวงศ์ เขาได้พยายามหลบหนี พลเอกอิบด์ อัล-คะริม กอซิม ได้ประกาศมอบรางวัลจำนวน 10,000 ดินาร์แก่ทหาร ที่สามารถจับตัวนูรีได้ และได้มีการค้นหาตัวครั้งใหญ่ ในวันที่ 15 กรกฎาคม นูรีได้ถูกจับตัวได้ที่เขตอัล-บัทตาวินในแบกแดด ซึ่งพยายามหนี โดยปลอมตัวเป็นผู้หญิงสวมใส่อาบายา (ชุดคลุมยาวของสตรีอิสลาม) นูรีและผู้ติดตาม ได้ถูกยิงถึงแก่อสัญกรรมทันที ม็อบหัวรุนแรง ได้ทำการไล่ล่าสังหารชาวต่างชาติทุกคนทั่วแบกแดด จนพลเอก กอซิม ต้องประกาศเคอร์ฟิว

            ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างอย่างเป็นทางการ และประเทศ ถูกเข้าควบคุมแบบไตรภาคี ภายใต้ "สภาปกครอง" ประกอบด้วยผู้แทนอิรัก จากสามกลุ่มชาติพันธุ์หลัก ความไม่เสถียรภาพทางการเมืองระยะยาวได้ทวีความรุนแรงขึ้น และถึงจุดสูงสุด เนื่องจากชัยชนะของพรรคบาธ ในปีพ.ศ. 2511 ที่ซึ่งเป็นการก้าวขึ้นสู่อำนาจ ของซัดดัม ฮุสเซน

            พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรักทรงหมั้นครั้งแรกกับเจ้าหญิงคียะเม็ท ฮะนิม เชื้อสายของราชวงศ์มัมลูกในอิรัก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2501 การหมั้นถูกยกเลิกในอีกสามเดือนต่อมา

            พระเจ้าฟัยศ็อล ทรงสู่ขอเจ้าหญิงชาห์นาซ ปาห์ลาวี พระราชธิดาในพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีแห่งอิหร่าน กับเจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ แต่เจ้าหญิงชาห์นาซทรงปฏิเสธพระเจ้าฟัยศ็อล ในช่วงก่อนที่จะพระองค์สวรรคต ทรงหมั้นหมาย และจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงซาบิฮา ฟาซิละ ฮานิม สุลต่าน พระธิดาเพียงพระองค์เดียว ในเจ้าชายมุฮัมหมัด อะลี อิบราฮิม เบเยเฟนดิแห่งอียิปต์ กับเจ้าหญิงซะห์ระ ฮันซะดี สุลต่าน

            พระองค์มีพระอิศริยยศทางทหารดังนี้

            จอมพลเรือแห่งกองทัพเรืออิรัก

            จอมพลแห่งกองทัพบกอิรัก

            จอมพลอากาศแห่งกองทัพอากาศอิรัก

            รองจอมพลอากาศแห่งกองทัพอากาศอิรัก (กิตติมศักดิ์)

โพสท์โดย: น้องมิ่ง รัตนาภรณ์
อ้างอิงจาก:
https://youtu.be/3TEm4ysW7bs?si=EP_qAFqYPbRg6qBM
วิกิพีเดีย
พระเจ้าฟัยศ็อลที่ 2 แห่งอิรัก
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: paktronghie, ลิลลี่ ไมโครนอส
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สิ้นนักแสดงอาวุโส คุณยายบรรเจิดศรี ยมาภัย ศิริอายุ 100 ปีครอบครัว 3 คน ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์พบตัวการจากอาหารที่คนไทยทานบ่อยทหารเกาหลีเหนือติด A.V หลังเข้าร่วมกองทัพรัสเซียนักแสดงดัง แจ้งข่าว ติดเชื้อ “HIV” ก่อนโพสต์สุดเศร้าตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง"ทรัมป์ไม่รอแล้ว! ประกาศชัยชนะพร้อมสัญญาสร้าง 'ยุคทอง' ให้สหรัฐฯ""อุไดปูร์" เมืองโรแมนติกแห่งอินเดีย เมืองหลวงเก่าของแคว้นราชาสถานและศิลปะสถาปัตย์อันงดงามไหนบอกสั่งที่จีน ช่างแกะสลักพูดเอง สิงห์-กิเลน “อ.อ๊อด”สั่งทำในไทยทำไม "เด็กปั๊มน้ำมัน" ถึงเป็นอาชีพในฝันของสาวเกาหลีเหนือ?จุดบรรจบแห่งสายน้ำ: ความงามและความลึกลับของมหาสมุทรแปซิฟิกและแอตแลนติกเพจดังแฉอีก! อดีตพระปลัดรองเจ้าอาวาส เปย์สาวฉ่ำขอ 2 แสน แต่โอนให้ 2 ล้านบาทสถิติหวยลาว 06/11/67 รวมผลหวยลาวพัฒนาย้อนหลัง เช็กผลได้ที่นี่!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หมูเด้ง ขึ้นตำแหน่งขลังของแทร่สิ้นนักแสดงอาวุโส คุณยายบรรเจิดศรี ยมาภัย ศิริอายุ 100 ปีไหนบอกสั่งที่จีน ช่างแกะสลักพูดเอง สิงห์-กิเลน “อ.อ๊อด”สั่งทำในไทย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
🌲ประตูสู่โลกที่ไม่เคยมีใครรู้จัก✨ตอนที่ 4ตำนาน และประวัติความเป็นมา ของอำเภอเถิน จังหวัดลำปางเนียงต็วลสัตรา ตำนานปราสาทบ้านพลวง (อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์)บ้านแห่งความตาย
ตั้งกระทู้ใหม่