หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เจ้าหญิงบาดิยา บินต์ อาลี แห่งอิรัก ผู้รอดพ้นจากเหตุการณ์ สังหารหมู่ราชวงศ์

โพสท์โดย น้องมิ่ง รัตนาภรณ์

        เจ้าหญิงบาดิยา บินท์ อาลีแห่งอิรัก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2020 สิริพระชันษา 100 ปี สื่อมวลชนขนานพระนามว่า ทรงเป็นเจ้าหญิงพระองค์สุดท้าย แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ของอิรัก กว่า 60 ปีที่ทรงรอดจากการสังหารหมู่ราชวงศ์อิรักในการก่อรัฐประหารเมื่อปี 1958 ที่นำมาซึ่งการสิ้นสุดสถาบันพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์ฮัชไมต์ โดยเจ้าหญิงสิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการสงบ หลังทรงพระประชวรมานาน ย้อนดูเส้นทางพระชนม์ชีพของเจ้าหญิง ที่ทรงมีบทบาทสำคัญไม่น้อย จากเหตุความขัดแย้งที่รุนแรงที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง ในตะวันออกกลาง

            เจ้าหญิงบาดิยา ประสูติเมื่อปี 1920 ที่เมืองดามัสกัส เป็นสมาชิกของพระราชวงศ์ฮัชไมต์ ซึ่งเชื่อว่าสืบเชื้อสายมาจากนบีมูฮัมหมัด ศาสดาของศาสนาอิสลาม เป็นพระนัดดาของชารีฟ ฮุสเซน อิบน์ อาลี ผู้ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรฮิญาซ ผู้ทรงร่วมต่อต้านจักรวรรดิออตโตมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี 1916 โดยมีอังกฤษหนุนหลังอยู่ ปัจจุบันอยู่ทางตะวันตกของประเทศซาอุดิอาระเบีย

            ทว่าหลังจากสงคราม ชารีฟ ฮุสเซน ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการปกครองประเทศนี้ได้อีกต่อไป ทรงถูกขับออกจากฮิญาซ โดยอับดุลอาซิส อิบน์ ซาอุด ผู้สถาปนาราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียในปี 1924 แต่กระนั้น พระราชโอรสทั้งสองพระองค์ เจ้าชายอับดุลลาห์ และเจ้าชายไฟซาล ได้ไปปกครองประเทศใหม่ จอร์แดน และอิรัก ตามลำดับ สุดท้ายแล้วราชวงศ์ฮัชไมต์อิรักก็ถูกโค่นล้มระบอบกษัตริย์ในปี 1958 ขณะที่ราชวงศ์ฮัชไมต์จอร์แดนยังคงปกครองประเทศจนถึงปัจจุบันภายใต้รัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลาห์ที่ 2 สำหรับสมาชิกราชวงศ์อิรักในปัจจุบันเอง กลายเป็นสมาชิกราชวงศ์จอร์แดนเสียหมด

            เจ้าหญิงบาดิยา เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระราชาธิบดีอาลี พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของฮิญาซ และแกรนด์ชารีฟแห่งมักกะห์ ผู้เป็นพระเชษฐาของว่าที่กษัตริย์จอร์แดนและอิรักในเวลาต่อมา โดยในช่วงที่มีการสถาปนาราชอาณาจักรฮัชไมต์อิรัก โดยเจ้าชายไฟซาล ผู้เป็นพระปิตุลาในปี 1921 เจ้าหญิงบาดิยา จึงได้ดำรงพระยศเจ้าหญิงแห่งอิรักด้วย

            เมื่อสมเด็จพระราชาธิบดีไฟซาลที่ 1 เสด็จสวรรคตกระทันหันเมื่อปี 1933 ด้วยพระอาการพระหทัยวาย ขณะที่บางข่าวลือระบุว่าทรงถูกวางยาพิษ พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวสืบราชสมบัติต่อเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีกาซีที่ 1 ที่ต่อมาทรงราชาภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงอาลียา บินท์ อาลี ผู้เป็นพระเชษฐภคินีของเจ้าหญิงเอง ซึ่งครองราชย์ได้ไม่นาน ก็เสด็จสวรรคตกระทันหันเช่นกันจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ซึ่งเชื่อว่าถูกลอบปลงพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำ ขณะที่ยังมีความขัดแย้งกับนายกรัฐมนตรีนูริ ซาอิด ที่สนับสนุนนโยบายของอังกฤษและขัดแย้งกับสมเด็จพระราชาธิบดีตลอดมา

            หลังจากนั้น พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวสืบราชสมบัติต่อ เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีไฟซาลที่ 2 ในขณะนั้นเจ้าชายอับด์ อัล-อิยา ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งต่อมาคือมกุฎราชกุมารพระองค์สุดท้ายจนถึงการปฏิวัติ 14 กรกฎาคม เจ้าหญิงบาดิยาจึงมีความใกล้ชิดมากขึ้นในฐานะพระราชมาตุจฉาในพระมหากษัตริย์

            5 ปีหลังจากสมเด็จพระราชาธิบดีไฟซาล เสด็จพระราชดำเนินกลับหลังสำเร็จการศึกษาที่อังกฤษ เมื่อถึงเวลาปกครองประเทศเต็มตัว กลับถูกโค่นล้มอำนาจโดยรัฐประหารในวันที่ 14 กรกฎาคม 1958 โดยกลุ่มชาตินิยมอาหรับนำโดย อับด์ อัล-คาริม กาซิม นำทัพเข้ากรุงแบกแดด และบุกเข้าพระราชวังริฮับ สมเด็จพระราชาธิบดีมีพระราชดำรัสสสั่งมิให้ทหารรักษาพระองค์ตอบโต้ใดๆ จนกระทั่งวาระสุดท้ายได้มาถึง เมื่อพระบรมวงศานุวงศ์อิรักทั้งหมด ประทับยืนเรียงแถวหันเข้ากำแพง และถูกยิงเสียสิ้น อีกทั้งพระบรมศพของเจ้าชายอับด์ อัล-อิยาห์ มกุฎราชกุมารผู้เป็นพระมาตุลา ถูกหั่นและลากไปตามท้องถนนของเมืองหลวง ก่อนจะเผาทิ้งไร้ซึ่งพระเกียรติยศใดๆ

            สำหรับเจ้าหญิงบาดิยาเอง มิได้ประทับในพระราชวังในขณะนั้น จึงทรงรอดจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เจ้าหญิงได้ประทับทอดพระเนตรเหตุการณ์ทั้งหมดจากตึกอีกฝั่งของกรุงแบกแดด ซึ่งหากเจ้าหญิงอยู่ร่วมกับพระบรมวงศ์ในครั้งนั้น แน่นอนว่าทรงมีชะตากรรมเดียวกับทุกพระองค์เป็นแน่ เจ้าหญิงพร้อมด้วยพระสวามี และพระโอรสได้ประทับในสถานเอกอัครราชทูตซาอุดิอาระเบียเป็นเวลา 1 เดือน ก่อนจะทรงลี้ภัยไปอียิปต์ สวิตเซอร์แลนด์ และอังกฤษตามลำดับ

            เจ้าหญิง ได้ใช้เวลาประทับในช่วงเวลาที่เหลือของพระชนม์ชีพ ในกรุงลอนดอน โดยทรงสนับสนุนพระโอรส ชารีฟ อาลี บิน อัล-ฮุสเซน ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวในการต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการของซัดดัม ฮุสเซนในขณะนั้น นำมาซึ่งความหวังในการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นใหม่ ด้วยมีผู้สนับสนุนว่าชารีฟ อาลีเป็นรัชทายาทอันชอบธรรม จากที่สืบสายโลหิตได้ใกล้ชิดที่สุดกับสมเด็จพระราชาธิบดีไฟซาลที่ 2 ขณะที่เจ้าชายจากอีกสายห่างไกล เจ้าชายราอัด บิน เซอิด ทรงรับสืบราชตระกูลเป็นประมุขราชวงศ์อิรักเช่นกัน ซึ่งเจ้าชายราอัดเองก็เป็นสมาชิกราชวงศ์จอร์แดนอีกด้วย

            ถึงแม้ว่าเจ้าหญิงบาดิยา มิได้มีบทบาทสำคัญต่อใดๆมากนักต่อรัฐบาลในอิรัก แต่ช่วงพระชนม์ชีพของพระองค์ได้ผ่านเรื่องราวความขัดแย้งมากมายในตะวันออกกลางยุคใหม่ การสิ้นพระชนม์เป็นการส่งท้ายเรื่องราวกรเปลี่ยนผ่านยุคสมัยในตะวันออกกลางหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่อิรักเองในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมน้ำมันในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า อีกทั้งการพยายามเอาชนะฝ่ายค้านเพื่อจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และต้องเผชิญกับการประท้วงต่อต้านรัฐบาลเป็นเวลาหลายเดือน

 

The last princess of Iraq, Badiya Bint Ali Bin Al-Hussein, died in Britain on 9 May 2020, aged 100, more than 60 years after the rest of her family were killed in the bloody coup of 1958 which ended Hashemite Dynasty in the country. Princess Badiya passed away peacefully after a long illness, marking an almost underwhelming end to a life characterised by years of turbulence in the Middle East.

 

Princess Badiya was born in Damascus in 1920, into a world in which the McMahon-Hussein correspondence, Sykes-Picot Agreement and Balfour Declaration had already started to shape the region. A member of the Hashemite dynasty – which traces its lineage back to Prophet Muhammad — Princess Badiya was also the grandaughter of Sharif Hussein Ibn Ali, the first King of the Hejaz in western Arabia. Hussein declared himself king of the region, which is now part of Saudi Arabia, when he launched the British-backed Arab revolt against the Ottoman Empire in 1916, during the First World War.

 

After the war Hussein failed to achieve his aim of ruling an Arab state, and was deposed from the Hejaz by Abdulaziz Ibn Saud, the founder of the modern Kingdom of Saudi Arabia, in 1924, but not before establishing two monarchies in Jordan and Iraq under his sons Abdullah and Faisal respectively. While the Iraqi monarchy was felled by the 1958 coup, Jordan’s Hashemite monarchy remains intact and is ruled by Abdullah’s great-grandson, King Abdullah II.

 

Princess Badiya was the daughter of Abdullah and Faisal’s brother, Ali Bin Hussein, who ruled the Hejaz kingdom briefly, and held the title of Grand Sharif of Makkah. Under her uncle Faisal’s Hashemite monarchy, established in 1921 in Iraq, Badiya officially became a princess and remained close to the throne throughout her life.

 

Faisal I was succeeded after his sudden death in 1933 — officially from a heart attack but believed to have been caused by poisoning – by his only son Ghazi I, who was married to Princess Badiya’s sister, Queen Aliya Bint Ali. After King Ghazi’s suspicious death in a car crash, which was allegedly orchestrated by pro-British Prime Minister Nuri Said who clashed with the monarch over his anti-British stance, Aliya’s three-year-old son, and Badiya’s nephew, was the heir. Once again, Princess Badiya remained close to the throne as her brother, ‘Abd Al-Ilah, acted as regent for young King Faisal II between 1939 and 1953.

 

In 1958, however, only five years after King Faisal II returned from his education at Harrow School in Britain, came of age and took control of what was by then a flourishing Iraq, the monarchy was overthrown in a military coup. On 14 July 1958, a pan-Arabist group called the Free Officers, led by Brigadier Abd Al-Karim Qasim, marched on Baghdad and staged a coup. Faisal reportedly ordered his guards not to resist as Qasim took control of the Rihab Palace. Members of the royal family, including the King, were then lined up against a wall and shot dead. The body of his uncle Crown Prince ‘Abd Al-Ilah was later mutilated, dragged through the streets of Baghdad and finally hanged outside the Ministry of Defence.

 

Princess Badiya was not at the Rihab Palace with the rest of her family on that fateful day. Instead, she was watching from a balcony of a building in another part of Baghdad. If she had been in the palace, it is almost certain that she would have met the same fate as the rest of her family. Instead, the princess, her husband Sharif Al-Hussein Bin Ali and their three children managed to flee to the Saudi Arabian Embassy in Baghdad. The family sheltered there for a month, before fleeing to Egypt, then Switzerland, and finally settling in Britain.

 

Princess Badiya spent most of her life in London, from where she supported her son Sharif Ali Bin Al-Hussein’s activism. Ali, who strongly opposed Saddam Hussein’s dictatorship, has advocated for the return of a monarchy, albeit a constitutional one, to Iraq, championing himself as the rightful heir.

 

Though Princess Badiya never played an active role in the governance of Iraq, her life encompassed events that many would see as key factors in the shaping of the modern Middle East. Her death signals the end of an era, and the passing of the generation of Middle Eastern royals who were unseated in the wake of the Second World War. Iraq bids farewell to its last princess as the state grapples with the increasing strain on the oil industry caused by the coronavirus pandemic; struggles to overcome sectarian opposition to the formation of a new government; and faces months of unabated anti-government protests.

โพสท์โดย: น้องมิ่ง รัตนาภรณ์
อ้างอิงจาก:
เจ้าหญิงบาดิยา บินต์ อาลี แห่งอิรัก ผู้รอดพ้นจากเหตุการณ์ สังหารหมู่ราชวงศ์
https://youtu.be/xFrRB3HWzBU?si=r-WD4gbnxhZI-8E-
Middle East Monitors, Al Arabiya
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: โยนี กีใหญ่
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เปิดตัวแฟชั่นทนายสายหยุด ที่มาพร้อมกับเครื่องประดับสุดหรู ราคาต่อชิ้นไม่ธรรมดาดาราจีนแชร์เทคนิค ผอมลง 15 โลใน 1 เดือน เพื่อรับบทบาทในละครเพียง 3 วินาที หญิงสาวสามารถขโมยนมผงในร้านสะดวกซื้อโดยไม่มีใครเห็นคลั่งยาllอบดูสาวอาบน้ำ ประวัติพึ่งพ้นคุกหญิงป่วยโปลิโอเดิน 4 ขามาขอทุนหลวงพ่อ เพื่อเปิดร้านกาแฟหาเลี้ยงดูตัวเอง 😔“จี๋ สุทธิรักษ์” พระเอกสุดปัง โกอินเตอร์แสดงซีรีส์ญี่ปุ่น เตรียมออนแอร์ต้นปี 2025!หนุ่มแคมป์ในป่าฝนอเมซอนตกใจสุดขีด เมื่อพบเห็นมดจำนวนกว่า 10 ล้านตัวกำลังทำลายเต็นท์ของเขาพ่อค้า แม่ค้าขายของ เป็นงง งานองค์พระปฐมเจดีย์ ค่าที่หลักแสนแต่คนเดินน้อยสายการบินอินเดียทำผู้โดยสารนับร้อย ติดค้างที่ภูเก็ตนานเกือบร้อยชม.คดีฮือฮา พนักงานฟ้องบริษัท หลังถูกไล่ออกเพราะ "หลับ" ในที่ทำงานบาปมั้ย! เพื่อนที่ทำงานใส่ซองช่วยงาน แบ่งเงินเป็นค่าเดินทางไปงานเปิดวาร์ป เจ้าหน้าที่สาวการบินดังสุดน่ารัก ยิ้มรูปเดียว สะกดหนุ่มในโลกออนไลน์
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ลาก่อน ตู้ทรูหน้าเซเว่น! สิ้นสุดยุคบริการยุคใหม่จะมาถึงคลั่งยาllอบดูสาวอาบน้ำ ประวัติพึ่งพ้นคุก"ช่อง 3 ร่อนแถลง 3 ภาษา! ปมเดือด 'โป๊ป-หลิงหลิง' ใกล้ชิดเกินเฟรม"น้ำตกสายทิพย์ ความจริงที่ขมคอ ณ ภูสอยดาวดาราจีนแชร์เทคนิค ผอมลง 15 โลใน 1 เดือน เพื่อรับบทบาทในละคร
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
รอยสัก Ta Moko : ศิลปะบนใบหน้าที่สะท้อนจิตวิญญาณของชนเผ่าเมารีถนนที่อันตรายที่สุดในโลก! Yungas Road "The Death Road"ความแตกต่างของผมสีเข้ม และผมสีอ่อน ภายใต้กล้องจุลทรรศน์"ความมหัศจรรย์ของทะเลทรายโซโนรา"
ตั้งกระทู้ใหม่