หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตำนาน พระธาตุอินทร์แขวน (พระธาตุไจ้ก์ทิโย) เมืองไจ้ก์โถ่ อำเภอสะเทิม เขตรัฐมอญ

โพสท์โดย น้องมิ่ง รัตนาภรณ์

            พระธาตุไจที่โย่ หรือที่คนไทยเรียกว่า พระธาตุอินทร์แขวน เป็นเจดีย์ที่จาริกแสวงบุญ ของพุทธศาสนิกชน ตั้งอยู่ในรัฐมอญ ประเทศพม่า เป็นพระเจดีย์ขนาดเล็ก สร้างขึ้นบนก้อนหินแกรนิต ที่ปิดด้วยทองคำเปลว โดยผู้ที่นับถือศรัทธา

            เชื่อว่าพระธาตุไจที่โย่ เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ ของพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาสูงชัน บนยอดเขาไจที่โย่อย่างหมิ่นเหม่ เหมือนจะหล่น และท้าทายแรงดึงดูดของโลก โดยไม่ตกลงมา พระธาตุไจที่โย่นับเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวพม่า

            ปัจจุบัน ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาต ให้เข้าไปด้านในบริเวณพระธาตุ ซึ่งดูแลโดยพนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งเฝ้าประตูรั้วรอบขอบชิด ผู้หญิง สามารถเข้าออกได้ที่ระเบียงด้านนอก และลานด้านล่างของก้อนหิน

            ในภาษามอญ คำว่า ไจก์ แปลว่า "พระเจดีย์" และ เหย่อ แปลว่า "ทูนไว้ข้างบน" ส่วนคำว่า อิซอย  มาจากคำว่า ริซิ  ในภาษาบาลี) ในภาษามอญแปลว่า "ฤๅษี" ดังนั้น ไจที่โย่ จึงหมายถึง "พระเจดีย์บนศีรษะฤๅษี"

            ที่ใดมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่นั่นย่อมมีเทวดา ผู้เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมือง “พระธาตุอินทร์แขวน” ที่คนไทยรู้จัก คนมอญเรียก “เจดีย์ไจก์ทิโย” ก็ด้วย

            พงศาวดารมอญ เล่าตำนานสร้างเมืองสะเทิม (ปัจจุบันคือจังหวัดของรัฐมอญ) ว่า สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จแสดงธรรม ที่ “ดินแดนสุวรรณภูมิ” (เรียกอาณาจักรทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ตามเอกสารของจีนและอินเดีย) ได้มอบเกศาธาตุ เป็นสิ่งแทนพระองค์ แก่ประชาชน ฤๅษีตนหนึ่งก็ได้รับ และรักษาไว้ในมวยผม ถึงคราวจะละสังขาร ก็ปรารถนาจะบรรจุเกศาธาตุ ไว้ในหินสักก้อน ที่มีลักษณะคล้ายศีรษะตน จึงแจ้งพระเจ้าติสสะ กษัตริย์ผู้ครองนครสะเทิม (บุตรที่ธิดาพญานาค ฝากให้เลี้ยงแต่เล็ก) ความทราบถึงพระอินทร์ จึงบันดาลให้พบหินขนาดความสูง ๗.๖ เมตร เส้นรอบวง ๑๕ เมตร จากใต้มหาสมุทร แล้วบรรทุกขึ้นเรือ จนได้นำมาวางริมภูผาสูง ต่อมา พระเจ้าติสสะ ให้สร้างเจดีย์ขนาดสูง ๗.๓ เมตร เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งเหนือหินก้อนกลม คล้ายทูนไว้เหนือมวยผมฤๅษี เรียกขานกันในชื่อ “เจดีย์ไจก์ทิโย” ภาษามอญหมายถึง “ศีรษะฤๅษี”

            สิ่งน่าอัศจรรย์ คือหินก้อนนั้น ตั้งบนแท่นหินธรรมชาติ ที่ต่างเป็นอิสระจากกัน ปลายสุดของแท่นหินลาดเอียงลงหุบเขาเบื้องล่าง แต่นอกจากก้อนหินจะไม่เอียงกระเท่เร่ ยังทรงตัวอยู่ได้ราวพระอินทร์แขวนไว้ ระหว่างพระเจ้าติสสะสร้างเจดีย์ ได้พบรักและอภิเษกกับ “ชเวนันจิน” ลูกสาวผู้นำชุมชนกะเหรี่ยง ที่มีถิ่นฐานแถวนั้น จึงรับเป็นมเหสีในวัง ครั้นนางตั้งครรภ์แล้วป่วย เชื่อว่า เพราะสมรส โดยไม่ได้ขอขมาผีบรรพชน พระเจ้าติสสะ จึงให้นางกลับบ้านทำพิธี ระหว่างทางในป่า มีเสือกระโจนขวาง พ่อกับพี่ชายวิ่งหนี นางวิ่งไม่ไหว จึงนั่งสมาธิ สวดมนต์ภาวนา จดจ่อสายตา ยังเจดีย์ที่พระสวามีทรงสร้าง ด้วยแรงศรัทธา ในที่สุด เสือก็หนีไป โดยไม่ทำอันตราย ชเวนันจิน ในร่างที่อ่อนล้า ยังกระเสือกกระสนขึ้นเขา จนถึงฐานเจดีย์ไจก์ทิโย ตั้งจิต ขอให้ได้อยู่ใกล้เจดีย์ ที่สร้างโดยพระสวามีตลอดไป ก่อนทอดกายลง สิ้นลมหายใจอย่างสงบ กว่าพระเจ้าติสสะจะเสด็จถึง ศพของนางก็กลายเป็นหิน และวิญญาณ ก็สถิตอยู่ที่นั่น คอยปกปักษ์รักษาองค์เจดีย์ไจก์ทิโย

            แต่บ้างก็ว่า ชเวนันจินเอง ก็เกิดจากนางนาคและมนุษย์ ฤๅษีเป็นผู้เก็บไข่ไว้ ครั้นฟักเป็นเด็กหญิง จึงให้ชาวหมู่บ้านกะเหรี่ยงในละแวก เลี้ยงดู ครั้นเติบโต ได้อภิเษกกับพระราชโอรสเจ้าเมืองสะเทิม ต่อมานางป่วยหนัก โหรหลวงทักว่า เพราะทำผิดผี ที่ก่อนแต่งงาน ไม่ได้ขอขมาฤๅษีผู้มีพระคุณ ชเวนันจินจึงจะเดินทางกลับมากราบฤๅษี และองค์เจดีย์ไจก์ทิโย แต่ระหว่างทางถูกเสือไล่ทำร้าย จึงอธิษฐานก่อนสิ้นใจบริเวณฐานเจดีย์ว่า ขอให้ดวงวิญญาณ ได้วนเวียนอยู่แถวนี้ คอยช่วยเหลือ ผู้ที่จะเดินทางมากราบไหว้เจดีย์ไจก์ทิโย

            นอกจากรูปปั้นฤๅษี บริเวณทางขึ้นองค์เจดีย์ จึงมีศาลาเทพารักษ์หลังหนึ่ง ภายในมีรูปปั้น “สตรีกะเหรี่ยง” นอนรอให้ผู้มาเยือนอธิษฐาน-สัมผัสกาย ด้วยศรัทธาว่า หากเจ็บปวดเมื่อยล้าส่วนใด ได้ลูบร่างกายส่วนนั้น ของนางชเวนันจิน อาการเจ็บป่วยจะบรรเทา หรือหายไป เพราะได้รับการปัดเป่า-โอนถ่ายไว้ที่นางแทน

            แม้เป็นเพียงเรื่องเล่า ชาวบ้านก็เชื่อ อาจเพราะตำนาน อ้างจากสถานที่มีจริง อย่างเรือที่ใช้ขนส่งก้อนหินรูปศีรษะฤๅษี จากท้องทะเลลึก ก็กลายเป็นหิน ตั้งอยู่ห่างองค์เจดีย์ไจก์ทิโย ประมาณ ๓๐๐ เมตร รู้จักกันในชื่อ “เจดีย์เจาะตานบาน” ภาษามอญหมายถึง “เจดีย์เรือหิน”

 

            ก้อนหินสีทอง ที่มีการสร้างพระเจดีย์ขนาดเล็กไว้ด้านบน มีความสูงประมาณ 25 ฟุต (7.6 เมตร) และมีเส้นรอบวง 50 ฟุต (15 เมตร) พระเจดีย์เหนือหินมีความสูงประมาณ 7.3 เมตร (24 ฟุต) ก้อนหิน ตั้งอยู่บนแท่นหินธรรมชาติ ที่ดูเหมือนเป็นฐานของพระธาตุ ตั้งอยู่บนระนาบที่เอียง และบริเวณที่สัมผัส มีขนาดเล็กมาก ก้อนหินและฐานหิน เป็นอิสระจากกัน ก้อนหินสีทอง มีส่วนที่ยื่นออกไปครึ่งหนึ่งของความยาว และตั้งอยู่ที่ปลายสุดของพื้นผิว ที่ลาดเอียงของฐานหิน ที่ชันดิ่งลงไปในหุบเขาเบื้องล่าง มีรูปประดับกลีบบัวสีทอง ล้อมรอบฐานหิน ก้อนหิน ดูลักษณะเหมือนจะล้มลงมาทุกขณะ บันไดสู่พระธาตุ มีอาคารซับซ้อนหลายรูปแบบเช่น ลาดดาดฟ้าชมทิวทัศน์, เจดีย์ต่าง ๆ, วิหารประดิษฐานพระพุทธรูป และศาลนะ (หรือวิญญาณ) เป็นต้น

            อย่างไรก็ตาม พระธาตุไจที่โย่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวหลักสำหรับผู้แสวงบุญ ที่สวดมนต์และปิดทองบนพระธาตุด้วยความศรัทธา ห่างออกไปเล็กน้อยมีฆ้องตั้งอยู่ บริเวณกลางลานเป็นเสาหงส์ มีระฆังและรูปปั้นเทวดา กับนะทั้งสี่ทิศล้อมรอบเสา ลานหลัก ใกล้กับพระธาตุ มีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และถวายเครื่องบูชาของผู้แสวงบุญ ที่อยู่ติดกับลาน คือหมู่บ้านที่มีร้านอาหาร ร้านขายของกระจุกกระจิก และเกสต์เฮาส์ มีการทำระเบียงขึ้นใหม่ ตามชั้นของเนินเขา ซึ่งผู้เข้าชม สามารถมองเห็นทัศนียภาพของพระธาตุ

            พระธาตุไจที่โย่ ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อ ระหว่างอำเภอไจโท จังหวัดสะเทิม รัฐมอญ กับอำเภอชเวจีน จังหวัดพะโค ภาคพะโค ใกล้ชายฝั่งตะนาวศรีตอนเหนือ ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 1,100 เมตร (3,609 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง บนยอดเขาไจที่โย่ (ยังเป็นที่รู้จักกัน ในนามเนินเขาเคลาซาหรือทิวเขาโยมาตะวันออก) อยู่บนสันเขาปองลอง ของทิวเขาโยมาตะวันออก ห่างจากนครย่างกุ้งประมาณ 210 กิโลเมตร (130 ไมล์) และห่างขึ้นมาทางเหนือ จากเมาะลำเลิง เมืองหลักของรัฐมอญ 140 กิโลเมตร (86 ไมล์) หมู่บ้านกีนมู่น 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) ตั้งอยู่ที่ฐานของภูเขาไจที่โย่ เป็นเส้นทางเริ่มต้นในการเดินทาง ขึ้นไปพระธาตุไจที่โย่ ตลอดเส้นทาง มีก้อนหินแกรนิตบนภูเขาหลายแห่ง ที่ตั้งอยู่ในสภาพหมิ่นเหม่

            สถานีสุดท้าย รู้จักในชื่อ ยาเตตอง เป็นจุดสุดท้าย สำหรับการจราจรยานพาหนะ จากนั้นผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยว จะต้องขึ้นไปพระธาตุ ด้วยการเดินเท้าหรือขึ้นเสลี่ยง จากจุดหยุดรถยาเตตอง ขึ้นไปบริเวณพระธาตุ มีร้านค้าขนาดเล็กตามทางริมสองฝั่ง ด้านบนของภูเขา มีรูปปั้นชินเต คล้ายสิงโตขนาดใหญ่สองตัว คอยเฝ้าประตูทางเข้าพระธาตุ

            เมื่อจะลอดซุ้มประตูสู่เจดีย์ ขนาบข้างรูปปั้นสิงห์ ๒ ตัว รู้กันว่า ต้องเตรียมถุงใส่รองเท้าพกติดตัว เนื่องจากชาวมอญ พม่า หรือกะเหรี่ยง ล้วนเคารพต่อพุทธศาสนา ไม่ว่าแดดร้อน เสี่ยงเท้าพองเพียงใด ต้องเดินเท้าเปล่า เข้าเขตพุทธสถาน สุดทางถนน ที่อนุญาตให้ชาวบ้านตั้งร้านค้า จะมีบันไดขึ้นสู่เขตเจดีย์อีกครั้ง คราวนี้ มีรูปปั้นหงส์ ๒ ตัว ประดับเหนือเสาประตู สะท้อนวัฒนธรรมมอญ แม้ยืนบนแผ่นดินมอญ แต่เอาเข้าจริง ปรากฏลมหายใจของชาวพม่า ปะปนกะเหรี่ยงมากกว่า

            อาจเพราะพื้นที่ ๔,๗๔๗.๘ ตารางไมล์ ของ “รัฐมอญ” แบ่งเป็น ๒ จังหวัด คือ สะเทิม มี ๔ อำเภอ ตั้งอยู่ทิศเหนือ จากปากแม่น้ำสาละวิน และมะละแหม่ง มี ๖ อำเภอ ตั้งอยู่ทิศใต้ จากปากแม่น้ำสาละวิน ไม่เพียงอยู่ในแผนที่สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา จังหวัดสะเทิม ยังมีพื้นที่ทับซ้อนจังหวัดดูตะทู ของกองทัพกะเหรี่ยง KNLA กองพลน้อยที่ ๑ ภายใต้สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง KNU เช่นเดียวกับจังหวัดมะละแหม่ง ก็ซ้อนกับด้านตะวันตก ของจังหวัดดูปลายา ในที่ของกองทัพกะเหรี่ยง KNLA กองพลน้อยที่ ๖ แต่แง่การดำเนินชีวิต กาลครั้งไหน ชาวบ้านตาดำๆ ทั้งสามแผ่นดินมอญ พม่า กะเหรี่ยง ก็ไม่เคยแยกขาดความสัมพันธ์ จึงไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่มีรูปปั้นมเหสีชาวกะเหรี่ยง ร่วมเขตพุทธสถานสำคัญของรัฐมอญ

 

          Kyaiktiyo is a well-known Buddhist pilgrimage site in Mon State, Myanmar. It is a small pagoda (7.3 m (24 ft)) built on the top of a granite boulder covered with gold leaves pasted on by its male worshippers.

          According to legend, the Golden Rock itself is precariously perched on a strand of Lord Buddha's hair.[1] The balancing rock seems to defy gravity, as it perpetually appears to be on the verge of rolling down the hill. The rock and the pagoda are at the top of Mt. Kyaiktiyo. Another legend states that a Buddhist monk impressed the celestial king with his asceticism and the celestial king used his supernatural powers to carry the rock to its current place, specifically choosing the rock for its resemblance to the monk's head. It is the third most important Buddhist pilgrimage site in Burma after the Shwedagon Pagoda and the Mahamuni Pagoda.

          In the Mon language, the word 'kyaik' means "pagoda" and 'yo' means "to carry on the hermit's head". The word 'ithi' in Mon means "hermit". Thus, 'Kyaik-htiyo' means "pagoda upon a hermit's head".

          The legend associated with the pagoda is that the Buddha, on one of his many visits, gave a strand of his hair to Taik Tha, a hermit. The hermit, who had tucked it in the tuft of his hair safely, in turn gave the strand to the king, with the wish that the hair be enshrined in a boulder shaped like the hermit's head. The king had inherited supernatural powers from his father Zawgyi, a proficient alchemist), and his mother, a naga serpent dragon princess. They found the rock at the bottom of the sea. With the help of the Thagyamin, the king of Tawadeintha Heaven in Buddhist cosmology, found the perfect place at Kyaiktiyo for locating the golden rock and built a pagoda, where the strand was enshrined. It is this strand of hair that, according to the legend, prevents the rock from tumbling down the hill. The boat, which was used to transport the rock, turned into a stone. This is also worshiped by pilgrims at a location about 300 metres (980 ft) from the golden rock. It is known as the Kyaukthanban Pagoda or stupa (literal meaning: stone boat stupa).

          Legends also mention that pilgrims undertaking the pilgrimage by trekking from the Kinpun base camp three times consecutively in a year will be blessed with wealth and recognition.

          The pagoda is located near Kyaikto in Mon State in the northern part of the Tenasserim coast. The Golden Rock is situated at an elevation of 1,100 m (3,609 ft) above mean sea level, on top of the Kyaiktiyo hill (also known as Kelasa hills or Eastern Yoma mountains); it is on the Paung-laung ridge of the Eastern Yoma mountains. It is at a distance of 210 kilometres (130 mi) from Yangon and 140 metres (460 ft) north of Mawlamyine, the capital of Mon State.[10][11] The Kinpun village 16 kilometres (9.9 mi) is at the base of Mt. Kyaiktiyo. It is the closest to the Kyaiktiyo Pagoda. From Kyaiktiyo, the foot trail or road starts for the Golden rock. On this approach, there are numerous granite boulders on the mountain, perched in precarious condition. Near the top of the mountain, there are two large lions guarding the entrance to Kyaiktiyo Pagoda. From this location, known as Yatetaung (the last point for vehicular traffic), pilgrims and visitors have to climb to the Golden Rock barefoot, after leaving their footwear behind, as per Burmese custom.[2][4][8][12] The paved mountain track, built in 1999, from the bus terminal at Yatetaung, is along a dusty section with kiosks on both sides and the climb of 1.2 kilometres (0.75 mi) up to the Golden Rock is stiff and takes about one hour to reach.[2] From the base camp at Kinpun, the hiking trek to the pagoda is about 11 kilometres (6.8 mi) and many devotees do this trek as part of the pilgrimage rites.[13] There are also many temples and pagodas, which have been built recently on other hills in the vicinity of the Kyaiktiyo Pagoda that are visited by pilgrims and tourists by trekking along foot tracks.

          The boulder, which gleams golden and is popularly known as the Golden Rock, and on which the small Kyaiktiyo Pagoda has been built, is about 25 feet (7.6 m) in height and has a circumference of 50 feet (15 m). The Pagoda above the rock is about 7.3 metres (24 ft) in height. The boulder sits on a natural rock platform that appears to have been naturally formed to act as the base to build the pagoda. This granite boulder lies on an inclined plane and the area of contact is extremely small. The golden rock or boulder and the rock table on which it is resting are independent of each other; the golden rock has an overhang of half its length and is perched at the extreme end of the sloping surface of the rock. There is a sheer vertical drop in the rock face, into the valley below. A lotus shape is painted in gold leaf, encircling the base of the rock. It appears as though the boulder will crash down at any moment. A staircase leads to the pagoda complex that houses several viewing platforms, pagodas and shrines for nats (folk deities worshipped in Burma in conjunction with Buddhist shrines). However, the Golden Rock is the main attraction for the pilgrims who offer prayers and also stick golden leaves on the rock in reverence. A short distance away, there is a circle of gongs with four statues of nats and angels in the centre.

          A main square close to the golden rock has many establishments that deal in religious paraphernalia for worship and offerings made by the pilgrims. Adjoining the plaza area are restaurants, gift shops, and guest houses. A new terrace has been built at a lower level from which visitors can get a good view of the rock and the pagoda

          Kyaiktiyo Pagoda or Golden Rock has become a popular pilgrimage and also tourist attraction. At the peak of the pilgrimage season, during November to March, an atmosphere of devotion is witnessed at Kyaikhtiyo pagoda. As the golden rock gleams in different shades from dawn to dusk (the sight at dawn and at sunset are unique), pilgrims' chants reverberate in the precincts of the shrine. Lighting of candles, meditation and offerings to the Buddha continues throughout the night. Men cross over a bridge across an abyss to affix golden leaves (square in shape) on the face of the Golden Rock, in deep veneration. However, women are not allowed to touch the rock so cannot cross the bridge. Pilgrims visit the pagoda, from all regions of Myanmar; a few foreign tourists also visit the pagoda. Even disabled persons who are staunch devotees of Buddha visit the pagoda, walking up the track on crutches. Old people, who can not climb, are carried on stretchers by porters to the Pagoda to offer prayers to Buddha. The Full Moon day of Tabaung in March, is a special occasion for pilgrims who visit the shrine. On this day, the platform of the pagoda is lighted with ninety thousand candles as reverential offering to the Buddha. The devotees visiting the pagoda also offer fruits, food and incense to the Buddha.

โพสท์โดย: น้องมิ่ง รัตนาภรณ์
อ้างอิงจาก:
Miang News
Wikipedia
ตำนาน พระธาตุอินทร์แขวน
Legend of Phra That Inkhang
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ราคาทองร่วงหนักเจ้าหญิงยูริโกะของญี่ปุ่น สิ้นพระชนม์แล้วหมอถูกแทงหลายครั้ง ในโรงพยาบาลอินเดีย"ว่าที่บ่าวสาว แม็ค-วิว เปิดบ้านสุดอบอุ่นที่แคนาดา พร้อมโมเมนต์สุดพิเศษ"เลขเด็ดเจ๊ฟองเบียร์10 อันดับเลข ยอดฮิต หวยแม่จำเนียร 16/11/67"ฟิล์ม รัฐภูมิ" เปิดใจสุดเศร้า "เหมือนโดนรุมจนไม่มีอากาศจะหายใจ"พบแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก"ช็อกทางจิตใจ! พ่ออาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูด 3 วัน หลังรู้ผลสอบลูกสาว ป.3"ลาก่อนพระปีนเสา! เจ้าอาวาสวัดสามชุกสั่งไล่ออกสังกัดวัด หลังพฤติกรรมไม่เหมาะสมครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่มีความละอายวิธีเข้าหาคนที่แอบชอบง่ายๆฟิล์มรัฐภูมิและกฤษอนงค์คืนนี้อาจอดเล่นลอยกระทงแล้วรอสอบละเอียด หากพบว่ามีหลักฐานเพียงพอ จึงออกหมาย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ราคาทองร่วงหนักชาวอาข่า เปิดใจ ทั้งน้ำตา เผยสาเหตุทำไมฆ่ๅหมา สารภาพกินเนื้อหมาจริง"ฟิล์ม รัฐภูมิ" เปิดใจสุดเศร้า "เหมือนโดนรุมจนไม่มีอากาศจะหายใจ"คิมโซอึนโพสต์ข้อความอำลาสุดซึ้ง หลังการจากไปของซงแจริมวิธีเข้าหาคนที่แอบชอบง่ายๆวัยรุ่นฟันน้ำนม!! เต้นบีบอยอย่างเทพ รุ่นนี้ยังใส่แพมเพิสอยู่เลย เก่งแท้เจ้าหนูเอ้ย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
กระต่ายกับเต่ามัลติเวิร์สละครศึกเสน่หา ไกรทอง ชาละวัน ความเป็นพระเอกของไกรทองคือความซื่อสัตย์ตำนานรัก เมืองฟ้าแดดสงยางตำนานเขาหินกลิ้ง เรื่องเล่าเมืองทวารวดีแถบ ไพศาลี - ท่าตะโก จ.นครสวรรค์
ตั้งกระทู้ใหม่