ลดปวดประจำเดือนแบบไม่พึ่งยา
ลดอาการปวดท้องประจำเดือนแบบไม่พึ่งยา!
วันนั้นของเดือน มาทีไร สาวๆ หลายคนคงเข้าใจดีว่าความเจ็บปวดไม่ใช่เรื่องเล็ก จะให้กินยาลดปวดทุกๆเดือนก็กังวลเรื่องสุขภาพ ไหนจะผลข้างเคียง และยังเสี่ยงอาการดื้อยาอีก
แต่ทุกคนรู้ไหมคะว่าอาหารที่เรากินก็ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้เหมือนกัน แถมยังปลอดภัยและดีต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย
ถ้าคุณกำลังมองหาวิธีดูแลตัวเองแบบธรรมชาติ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับอาหาร 5 ชนิด ที่ช่วยลดปวดประจำเดือนที่ขอบอกเลยว่าหาทานได้ง่ายๆ ไว้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกกันค่ะ
อาการปวดท้องประจำเดือน คือ?
อาการปวดประจำเดือน (Dysmenorrhea) เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อมดลูกระหว่างที่เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาในช่วงมีประจำเดือน โดยร่างกายจะผลิตสารที่ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) เพื่อกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวเพื่อขับเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน ซึ่งถ้ามีสารโพรสตาแกลนดินมากเกินไป อาจทำให้มดลูกหดตัวแรงเกินไป จนทำให้เกิดอาการปวดได้
และเมื่อมดลูกหดตัวมากเกินไป จนทำให้หลอดเลือดในมดลูกหดตัว ส่งผลให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณนี้ลดลง ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดด้วยเช่นกัน
อาหารที่ชวยลดปวดประเดือน
1. แมกนีเซียม (Magnesium)
แมกนีเซียมมีส่วนช่วยคลายกล้ามเนื้อมดลูก ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดท้องน้อย แมกนีเซียมยังช่วยลดการหลั่งสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)ได้อีกด้วย
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียม: ถั่ว ธัญพืช ผักใบเขียว กล้วย อะโวคาโด ดาร์กช็อกโกแลต
2. ธาตุเหล็ก (Iron)
ธาตุเหล็กนั้นเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ซึ่งในช่วงมีประจำเดือนร่างกายเราจะสูญเสียธาตุเหล็กเป็นจำนวนมาก และอาจจะทำให้เป็นโลหิตจางได้ง่าย จึงจำเป็นต้องเสริมธาตุเหล็กเข้าไปด้วย
ช่วงมีประจําเดือนเลือดจะถูกขับออกมาทําให้เป็นโลหิตจางได้ง่าย เพือปองกันโลหิตจาง แนะนําให้รับประทานอาหารทีมีธาตุเหล็กสูง
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก: เนื้อสัตว์ ตับ ไข่ ถั่วเหลือง ผักใบเขียว ธัญพืช
3. วิตามินบี (Vitamin B6)
วิตามินบี6 ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนโดยเฉพาะโปรเจสเตอโรน ซึ่งมีส่วนช่วยลดอาการปวดท้องน้อย และหงุดหงิดช่วงก่อนมีประจำเดือน ช่วยเพิ่มสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนิน ที่ส่งผลต่อการลดความเครียดและอาการปวด
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี6: กล้วย มันฝรั่ง อกไก่ ปลาแซลมอน ถั่วเหลือง
4. กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega-3 Fatty Acids)
ช่วยต้านการอักเสบ ลดระดับโพรสตาแกลนดินในร่างกาย บรรเทาความเจ็บปวดและอาการปวดหัวร่วมในช่วงมีประจำเดือน
โอเมก้า 3 (Omega 3) คือ กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ต่อสุขภาพ และยังเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญในการทำงานของสมอง ระบบหัวใจและหลอดเลือด และระบบพัฒนาการการเติบโตของร่างกายอีกด้วย
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3: ปลาแซลมอน ปลาทูน่า เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย วอลนัท
5. แคลเซียม (Calcium)
มีส่วนช่วยคลายกล้ามเนื้อ และลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูก ลดความไวของเส้นประสาทที่ส่งผลต่อการปวด บรรเทาอาการท้องอืดและอารมณ์แปรปรวนในช่วงก่อนมีประจำเดือน
แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยแคมเซียม : นม โยเกิร์ต ชีส ผักใบเขียว งา
-----------------------------------------------------------
การลดปวดประจำเดือนทั้งทานยา และอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ทางที่ดีที่สุดคือการปรับสมดุลร่างกาย ใช้ยาบรรเทาอาการเฉพาะกรณีเร่งด่วน และการดูแลสุขภาพโดยรวมด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของอาการปวดประจำเดือนได้ดีในระยะยาว
การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการความเครียด ก็มีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือนได้เช่นกันนะคะ สุดท้ายนี้เราหวังว่าเนื้อหาเล็กๆน้อยๆเหล่านี้จะมีประโยชน์กับสาวๆทุกคนนะคะ ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ~~