อาบูน่า เยมาตา กูห์ (Abuna Yemata Guh) เป็นโบสถ์หินขนาดใหญ่ ของแคว้นทิเกรย์ ประเทศเอธิโอเปีย
**อาบูน่า เยมาตา กูห์** เป็นโบสถ์หินขนาดใหญ่แบบ *Monolithic* ตั้งอยู่ในเขตฮาวเซน (Hawzen woreda) ของแคว้นทิเกรย์ ประเทศเอธิโอเปีย โบสถ์แห่งนี้ ตั้งอยู่บนที่สูงถึง **2,580 เมตร (8,460 ฟุต)** เหนือระดับน้ำทะเล และต้องเดินเท้าปีนขึ้นไป จึงจะสามารถเข้าถึงได้ โบสถ์แห่งนี้ มีชื่อเสียงในด้าน **ทำเลที่ตั้งอันงดงาม สถาปัตยกรรมและโดมที่สร้างขึ้น ตั้งแต่ศตวรรษที่ 6** รวมถึง **ภาพจิตรกรรมฝาผนังจากศตวรรษที่ 15**
เกี่ยวกับโบสถ์
โบสถ์แห่งนี้เป็นหนึ่งใน "โบสถ์หินกว่า 35 แห่ง ซึ่งนับเป็นกลุ่มโบสถ์หินแกะสลาน ที่มีจำนวนมากที่สุดในเอธิโอเปีย" ตั้งอยู่ในเขตการ์อัลตา (Gar'alta) ในอดีต ทางเข้าสู่โบสถ์ ต้องผ่านการปีนป่ายที่สูงชันและอันตราย โดยต้องใช้ทั้งมือและเท้า ในการจับยึดหิน
ผู้มาเยือนต้องข้าม **สะพานหินธรรมชาติ ที่มีหน้าผาสูงชันถึง 250 เมตร (820 ฟุต) ทั้งสองข้าง** และจากนั้น ข้ามสะพานไม้แคบ ๆ เป็นด่านสุดท้าย
เสาหินที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณโบสถ์ ประกอบด้วยหินทรายเอนติโช (Enticho) และหินทรายอดิกรัท (Adigrat) ซึ่งเป็นซากของชั้นหินทราย ที่เคยปกคลุมพื้นหินดึกดำบรรพ์ ก่อนจะถูกกัดเซาะจนเหลือเพียงบางส่วน
แม้ว่าอาบูน่า เยมาตา กูห์ จะเป็นหนึ่งในสถานที่ประกอบศาสนพิธี ที่เข้าถึงได้ยากที่สุดในโลก **แต่ยังไม่มีบันทึกว่า มีพระหรือนักบวช เสียชีวิตจากการปีนขึ้นไปยังโบสถ์แห่งนี้**
ประวัติศาสตร์
ตามตำนานท้องถิ่น โบสถ์แห่งนี้ ถูกแกะสลักขึ้นจากหิน ในช่วง **ศตวรรษที่ 6** และอุทิศให้กับ **อาบูน่า เยมาตา** (หรือที่เรียกว่า *อับบา เยมาตา*) ซึ่งเป็นหนึ่งใน **นักบุญทั้งเก้า (Nine Saints)**
เชื่อกันว่า นักบุญทั้งเก้านี้ เดินทางมาจาก **โรม คอนสแตนติโนเปิล และซีเรีย** ในช่วงปลายศตวรรษที่ 5 ถึงต้นศตวรรษที่ 6 เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในภูมิภาคนี้
จิตรกรรมภายในโบสถ์
สภาพอากาศแห้งของโบสถ์ช่วย **รักษาภาพจิตรกรรมฝาผนัง และภาพวาดบนโดม ให้อยู่ในสภาพที่ดี** ลวดลายของจิตรกรรมภายในโบสถ์ มีความคล้ายคลึงกับภาพวาด ที่พบในโบสถ์หินแห่งอื่น ๆ ในแถบ *การ์อัลตา (Gher'alta)* เช่น **โบสถ์เดเบร เซียน (Debre Tsion)** ซึ่งมีภาพจิตรกรรม ที่แสดงเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม มากกว่าพันธสัญญาใหม่
จิตรกรรมภายในโบสถ์ เน้นเรื่องราวของ **นักบุญทั้งเก้า และอัครสาวกสิบสององค์** โดยมีการวาดภาพแบบ **ดิพทีค (Diptych) และทริพทีค (Triptych)** ตามธรรมเนียมโบราณ
แม้ว่าตำนาน จะกล่าวว่าภาพเหล่านี้ ถูกวาดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 แต่ **นักวิชาการลงความเห็นว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 15**
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ในปี **2016** โดยใช้เทคนิค *X-ray fluorescence* พบว่า ภาพจิตรกรรมเหล่านี้ ใช้เม็ดสีที่หาได้จากท้องถิ่น และไม่มีชั้นสีเก่าที่ซ้อนอยู่ ยกเว้นเพียง **ภาพของพระแม่มารีย์** ที่มีร่องรอยของการแก้ไข และเติมสีในภายหลัง
เนื่องจากการเข้าถึงที่ยากลำบาก **โบสถ์แห่งนี้ ยังคงอยู่ในสภาพเดิม โดยแทบไม่ถูกรบกวนมานานหลายศตวรรษ** ผู้มาเยือน มีเพียงพระภิกษุที่ธุดงค์ และคริสตศาสนิกชนผู้ศรัทธาเท่านั้น ความสันโดษนี้ ช่วยรักษาภาพจิตรกรรมภายในโบสถ์ ให้อยู่ในสภาพเกือบสมบูรณ์
โบสถ์หินแห่งนี้ ถูกแกะสลักโดย **บิดาเยมาตา (Father Yemata) ในช่วงศตวรรษที่ 5** แม้ว่าจะไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำไมท่านจึงเลือกสถานที่อันห่างไกลนี้ แต่บันทึกทางประวัติศาสตร์จากยุคนั้นรายงานว่า **ชาวเอธิโอเปียที่นับถือศาสนาคริสต์ เป็นชนกลุ่มน้อยที่ถูกกดขี่ข่มเหง** ทำให้มีการคาดการณ์ว่า ท่านอาจกำลัง **หลบหนีศัตรูและการจับกุม**
อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือ **เยมาตาต้องการความสันโดษ** เพื่อแยกตัวออกจากโลกภายนอก **แสวงหาการทำสมาธิและการตรึกตรอง** หวังเข้าถึงความศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริง
**ไม่ว่าจุดประสงค์ของการสร้างโบสถ์แห่งนี้ จะเป็นอย่างไร** แต่มรดกหินแกะสลานอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ยังคง **เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงพลังแห่งศรัทธา**
สำรวจโบสถ์อาบูน่า เยมาตา กูห์
เมื่อเตรียมตัวปีนขึ้นไปสู่ **อาบูน่า เยมาตา กูห์** สิ่งแรกที่คุณจะสังเกตได้คือ **ดวงอาทิตย์ที่ส่องแสงเจิดจ้า** สะท้อนกับหน้าผาหินทรายสีส้มขนาดมหึมา แต่ทันทีที่คุณก้าวเข้าสู่ภายในถ้ำ **โลกภายนอกก็เลือนหายไป** รอบตัวมีเพียง **ความมืดมิด** ที่มีแสงริบหรี่จากเทียนไขให้พอมองเห็น
ภายในโบสถ์ยังคง **ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วาดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 15** ซึ่งตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตร **สัญลักษณ์ทางศาสนา** และภาพวาดของ **นักบุญเก้าท่านจากอัครสาวกสิบสององค์** ภาพเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่ได้จาก **ดอกไม้ แร่ธาตุ และผลไม้** ที่พบในพื้นที่โดยรอบ
ซ่อนตัวอยู่ภายในโบสถ์ยังมี **ม้วนคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์** ซึ่งบรรจุข้อความโบราณ ที่เต็มไปด้วยสีสันและภาพประกอบ ที่ช่วยให้ตัวอักษร มีชีวิตชีวาขึ้น
อ้างอิงจาก:
https://shorturl.asia/MdvOj
https://shorturl.asia/goCRT
https://shorturl.asia/RHhQq











