ชวนมาทำความรู้จักกับช่วง “Pluto Time” แสงตอนเที่ยงของดาวพลูโตที่ทุกคนสามารถสัมผัสได้บนโลกของเรา
ดาวพลูโต หรือ 134340 Pluto เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ซึ่งเป็นวงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน หรือTrans-Neptunian Object (TNO) ที่ราบบนพื้นผิวของดาวพลูโตประกอบด้วยไนโตรเจนแข็งมากกว่า 98% โดยมีร่องรอยของมีเทนและคาร์บอนมอนอกไซด์ในปริมาณเล็กน้อย พื้นผิวของดาวพลูโตมีความหลากหลาย โดยมีความสว่างและสีที่แตกต่างกันมาก ขาดของมันใหญ่เป็นอันดับ 9 และ มีมวลมากเป็นอันดับ 10 ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งดาวพลูโตเคยถูกจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์ทั้ง 9 ดวงในระบบสุริยะ จนกระทั่งปี 2006 ดาวพลูโตโดนถอดออกจากการเป็นดาวเคราะห์ เนื่องจากคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์
ดาวพลูโตมีความส่องสว่างปรากฏโดยเฉลี่ย 15.1 เท่า และสว่างขึ้นเป็น 13.65 เท่าเมื่อใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด ดาวพลูโตใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 90,530 วัน หรือประมาณ 248 ปีบนโลก และระยะห่างระหว่างดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 3.7 พันล้านไมล์ (5.9 พันล้านกิโลเมตร) ด้วยความที่ดาวพลูโตอยู่ห่างจากดวงอาทตย์มากทำให้แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงดาวพลูโตประมาณ 290 นาที ในขณะเดียวกัน แสงจากดวงอาทิตย์ใช้เวลาเดินทางถึงโลกเพียง 8 นาทีเท่านั้น แต่คุณรู้ไหมว่า เราสามารถสัมผัสความสว่างบนดาวพลูโตในตอนเที่ยงอันแสนสดใสได้จากบนโลกของเรา โดยเราเรียกช่วงนั้นว่า “Pluto Time”
Pluto Time คืออะไร?
แสงที่ส่องลงมาบนโลกในช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างรุ่งอรุณและพลบค่ำในแต่ละวัน จะเท่ากับแสงสว่างในช่วงเที่ยงวันบนดาวพลูโต ซึ่งทาง NASA เรียกช่วงเวลานี้ว่า “Pluto Time” เนื่องจากดาวพลูโตนั้นโคจรอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ห่างไปไกลกว่าโลกถึง 40 เท่า และแสงของดวงอาทิตย์บนดาวพลูโต จะมีแสงสว่างน้อยกว่าบนโลกถึง 1,000 เท่า ทำให้ช่วงเวลาเที่ยงวันบนดาวพลูโตมีแสงสลัวเท่ากับช่วงเวลารุ่งอรุณ และช่วงพลบค่ำบนโลกของเรานั่นเอง
แบบจำลองความสว่างช่วง Pluto Time ในแต่ละประเทศ
(ที่มา : https://youtu.be/mTC-YAR5Ml4?si=n1-wIQm50BIdAfL0 )
คุณสามารถจำลองวันเวลาช่วง Pluto Time บนโลกของเราได้ที่เว็บไซต์ของ NASAเลยค่ะ
( https://science.nasa.gov/dwarf-planets/pluto/plutotime/ )
อ้างอิงจาก:
ประวัติคร่าวๆ ของพลูโต :
https://en.wikipedia.org/wiki/Pluto#cite_note-Lellouch_2009-158
https://nineplanets.org/questions/how-far-is-pluto-from-the-sun/
ความหมายของช่วงเลา Pluto Time : https://earthsky.org/space/how-light-is-noon-on-pluto-see-for-yourself/
















