แผ่นดินไหวทิพมีจริง!!!มารู้จักอาการเมาแผ่นดินไหวกัน

“ช่วงนี้มีใครรู้สึกแปลกๆบ้าง?”
หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2568 😨
หลายคนอาจรู้สึกว่าบ้านสั่น ที่ที่ตัวเองอยู่สั่นอยู่เกือบตลอดเวลา
จนตอนนี้แยกไม่ออกแล้วว่าแผ่นดินไหวจริงหรือหลอนไปเอง เพื่อนพี่น้องถามว่ารู้สึกไหมว่าแผ่นดินไหว เราก็จะแบบ
“หา หรอ นึกว่าเวียนหัว 😵”
หรือ...
“ไม่รู้สิ สำหรับเรามันไหวตลอดเวลาเลย” 😱
อาการที่เป็น อาจเป็นอาการเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk)
จิชิน-โยอิ (ภาษาญี่ปุ่น แปลแบบตรงๆว่า เมาแผ่นดินไหว)
หรือ อาการหลอนแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวทิพ (Phantom Quake)
เป็นอาการที่จะเกิดเป็นผลกระทบหลังจากเกิดแผ่นดินไหว การสั่นไหวแบบไม่คาดคิด
คือเราจะรู้สึกว่าบ้านสั่น พื้นที่อยู่สั่นหรือโยกเยกไปมาเหมือนตอนที่เกิดแผ่นดินไหวจริงๆ
การศึกษาพบว่า อาการนี้อาจเกิดจากการรบกวนในระบบการทรงตัว (vestibular system)
ซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นใน ที่ควบคุมความสมดุล
ส่งผลให้สมองพยายามปรับความรู้สึกให้กลับมาปกติ
หรือรู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย และอาการนี้อาจรุนแรงขึ้นในคนที่เมารถง่าย
ระยะเวลาของอาการทางร่างกายจะแตกต่างกันไป บางคน อาการวิงเวียนจะค่อยๆหายไปภายในไม่กี่นาที หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงเมื่อร่างกายปรับตัวได้
การวิจัยหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แผ่นดินไหวโทโฮกุในญี่ปุ่นปี 2011 (ขนาด 9.0 แมกนิจูด)
หรือแผ่นดินไหวที่คุมาโมโตะในปี 2016 (7.3 แมกนิจูด)
พบว่า บางคนมีปัญหาการทรงตัวนานถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
แผ่นดินไหวสามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดเฉียบพลัน
เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว แพนิก
หลายๆคน อาจมีอาการของโรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD)
ซึ่งมีอาการเช่น การย้อนนึกถึงเหตุการณ์ ความตื่นตัวเกินเหตุ หรือการนอนหลับยาก
บางคนอาจกลัวการอยู่ในตึก หรือ ขึ้นรถไฟฟ้าไปเลย
สาเหตุของอาการ
1. ความเครียดและความวิตกกังวล
แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกและความกลัว ทำให้ระบบประสาทตอบสนองต่อความเครียดอย่างรุนแรง
ส่งผลให้ผู้ที่มีอาการเกิดความรู้สึกว่าพื้นดินยังคงสั่นไหว แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปแล้วก็ตาม
2. การปรับตัวของระบบประสาท
ระบบประสาทอาจยังไม่สามารถปรับตัวกลับสู่สภาวะปกติได้ทันทีหลังจากเผชิญกับการสั่นไหวที่รุนแรง
ทำให้เกิดความรู้สึกว่าร่างกายยังคงเคลื่อนไหวหรือสั่นไหวอยู่
วิธีจัดการกับอาการเหล่านี้
•
มองไปที่วัตถุที่อยู่ไกล
เมื่อรู้สึกว่าพื้นดินสั่นไหว ลองมองไปที่วัตถุที่อยู่ห่างออกไป เพื่อช่วยให้สมองปรับสมดุลและลดความรู้สึกสั่นไหว
• พยายามทำใจให้สบาย
ลองตั้งสติ หายใจช้าๆเพื่อปรับความคิดและลดความตื่นตระหนก
มันอาจเป็นเรื่องยากเมื่อเราต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้
แต่การมีสติเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน
เราอาจค่อยๆคิดหาทางแก้ไขสถานการณ์และปรับตัวให้เข้ากับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้
•พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือข่าวสารที่ทำให้เกิดความเครียดเพิ่มเติม
เนื่องจากการรับข่าวสารที่มากเกินไปทำให้เราวิตกกังวล และเกิดความเครียด เราอาจจะกลับไปนึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทำให้กระตุ้นอาการนี้ขึ้นมาได้
ควรติดตามข่าวสารอย่างพอดี หยุดพักบ้าง เพื่อดูแลจิตใจของเราให้ไม่เกิดความเครียด วิตกกังวลหรือเอาแต่นึกถึงเหตุการณ์นั้น
พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือ หากจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป
แต่! ถ้ารู้สึกว่า อาการไม่ดีขึ้นเลยควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
หากอาการยังคงอยู่หรือรุนแรงขึ้น ควรปรึกษาแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การเข้าใจและรับมือกับผลกระทบทางร่างกายและจิตใจหลังจากแผ่นดินไหวเป็นสิ่งสำคัญ
เพื่อให้สามารถฟื้นตัวและกลับสู่ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่วิตกกังวลหรือระแวงจนเกินไปจนเสียสุขภาพจิต
เราควรจะมีสติ และค่อยๆหาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตรงหน้ฟ
“เราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ที่กำลังประสบภัยนี้ด้วยนะคะ 🤗 ✌”
อ้างอิงจาก: ThaiPost
https://www.thaipost.net/news-update/763879/
nationthailand
https://www.nationthailand.com/news/general/40048028?utm_source=chatgpt.comEarthquake Aftermath: Experts Warn of 'Earthquake Drunk' and Anxiety, Urge Mental Health Support
MEDICALLY SPEAKING
https://www.medicallyspeaking.in/latest-news/post-earthquake-anxiety-coping-with-fear-after-the-tremors/?utm_source=chatgpt.com
โรงพยาบาลสินแพทย์
https://www.synphaet.co.th/en/the-earthquake-has-passed-but-the-brain-is-still-shaking-synphaet-hospital-thailand/?utm_source=chatgpt.com
DOCTOR.NDTV.COM
https://doctor.ndtv.com/living-healthy/how-to-deal-with-post-earthquake-anxiety-7729754?utm_source=chatgpt.com












