กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ของ NASA สามารถบันทึกภาพแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์ของ NASA (James Webb Space Telescope; JWST) สามารถบันทึกภาพแสงออโรร่า (aurora) บนดาวเนปจูนได้เป็นครั้งแรก โดยแสงออโรร่าเกิดจากอนุภาคที่มีประจุจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามเส้นสนามแม่เหล็ก และพุ่งเข้าชนเข้ากับชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์จนทำให้เกิดเป็นแสงสวยงาม
ในอดีต นักดาราศาสตร์ได้พบเห็นสัญญาณอันน่าตื่นตาของแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนจากการบินผ่านของยานโวเอเจอร์ 2 ของ NASA ในปี 1989 แต่ตอนนั้นการถ่ายภาพ และการยืนยันการมีอยู่ของแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนนั้นยังไม่เป็นที่ยืนยันแน่ชัด ถึงแม้ว่าจะตรวจสอบการปรากฏตัวของแสงออโรร่าบนดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดาวยูเรนัสได้สำเร็จแล้วก็ตาม แต่ดาวเนปจูนยังคงเป็นเพียงหนึ่งในดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ในระบบสุริยะของเราเพียงดวงเดียวที่ยังไม่สามารถยืนยันการมีอยู่ของแสงออโรร่าได้
ภาพด้านซ้าย เป็นภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล แสดงให้เห็นดาวเนปจูนที่มีสีฟ้า ส่วนภาพด้านขวาเป็นรวมภาพระหว่างฮับเบิลและเจมส์ เว็บบ์เข้าด้วยกัน แสดงให้เห็นแถบพื้นที่สีเขียวอมฟ้าทางด้านขวา ซึ่งนักดาราศาสตร์ยืนยันว่านั่นคือแสงออโรร่า
ในเดือนมิถุนายน 2023 กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เวบบ์จับภาพดาวเนปจูน และนักดาราศาสตร์ได้สังเกตุสเปกตรัมเพื่อกำหนดองค์ประกอบ และวัดอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศบนของดาวเคราะห์ (ไอโอโนสเฟียร์) และนั่นก็เป็นครั้งแรกที่เขาพบเส้นการแผ่รังสีที่โดดเด่นมาก ซึ่งบ่งบอกถึงการมีอยู่ของไอออนไตรไฮโดรเจน (H 3 + ) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของแสงออโรร่า โดยในภาพของกล้องโทรทรรศน์จะปรากฏเป็นแสงสีฟ้าอมเขียว
นักดาราศาสตร์ได้ศึกษาการเกิดปรากฏการณ์แสงออโรร่าบนดาวเนปจูนอยู่หลายปี โดยอ้างอิงจากอุณหภูมิจากยานโวเอเจอร์ 2 บันทึกเอาไว้ในปี 1989 และสาเหตุที่เราไม่สามารถตรวจพบแสงออโรร่าบนดาวเนปจูนได้นั้น เป็นเพราะว่าบนดาวเนปจูนอยู่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดในระบบสุริยะของเรา และชั้นบรรยากาศมีอุณหภูมิที่ต่ำมาก มันจึงส่งผลให้ไม่สามารถเกิดปรากฏการณ์แสงออโรร่าได้
การสังเกตการณ์เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Guaranteed Time Observation โดยผลงานการสำรวจนี้ได้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Astronomy อีกด้วย





