หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน ราคาทองคำ กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การทำ QE คืออะไร ? ทำไมประเทศไทย ไม่ใช้มาตรการนี้

เนื้อหาโดย machete007

“775 ล้านล้านบาท” คือ มูลค่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงิน ผ่านมาตรการ QE ทั้งหมดของธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลก 4 แห่ง คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ณ สิ้นปี 2020

ถามว่าตัวเลขนี้มากขนาดไหน ? ถ้าลองเทียบกับ GDP รวมทุกประเทศในโลกปี 2020 ที่ประมาณ 2,824 ล้านล้านบาท มูลค่าอัดฉีดดังกล่าว จะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP โลก

มาตรการ QE นี้ มันมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง

และทำไมประเทศไทย ถึงยังไม่ใช้มาตรการนี้ ?

เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ แต่ละประเทศจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมา

ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะแบ่งนโยบายต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน

ซึ่งในส่วนของนโยบายการคลังจะถูกดำเนินการโดยรัฐบาล

โดยรัฐบาลจะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในกรณีนี้จะเรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” ซึ่งเกิดจากก่อหนี้สาธารณะผ่านการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล

นอกจากนี้ นโยบายการคลังยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีต่าง ๆ เพื่อให้คนมีเงินเหลือมากขึ้น จนนำเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน

ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ปัจจุบัน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ต้องใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อพยุงและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา

นอกจากรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ในอีกขาหนึ่ง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็จะดำเนินนโยบายการเงิน ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา ธนาคารกลางจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จูงใจให้คนนำเงินออกมาใช้จ่าย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคาร

ซึ่งกรณีนี้ถูกเรียกว่า “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้นำมาใช้ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เราจะเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพียงอย่างเดียว กลับไม่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเหมือนอย่างเคย

หลักฐานก็คือ เราเห็นธนาคารกลางหลายประเทศทำการปรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว จนบางประเทศอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเท่าไร

พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง จึงมีการนำมาตรการที่มีชื่อว่า Quantitative Easing (QE) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย อีกรูปแบบหนึ่งออกมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ

หรือพูดง่าย ๆ ว่ามาตรการ QE เป็นเครื่องมือพิเศษที่มาช่วยสนับสนุนและช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเอง

อธิบายวิธีการดำเนินมาตรการ QE แบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเพิ่ม และนำเงินดังกล่าวไปซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง-ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน

คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ แล้วข้อดี ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร ?

เรามาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน

- สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น

กรณีของธนาคารนั้น เมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้น ก็สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อได้สูงขึ้น ส่วนภาคธุรกิจที่มีเงินไหลเข้ามาซื้อหุ้นกู้ บริษัทก็จะมีเงินนำไปใช้จ่าย ลงทุน และขยายงาน ได้ด้วยเช่นกัน

- ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง

การเข้าซื้อตราสารทางการเงินเหล่านั้นยังส่งผลกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเหล่านั้นลดลงมา ทำให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านการออกตราสารเหล่านี้ของรัฐบาลและเอกชนลดลง

จนมีแนวโน้มที่ทำให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้กู้ในการนำเงินไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาเติบโต

- เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้บริโภค

การใช้มาตรการ QE ยังส่งผลให้ราคาสินทรัพย์หลายอย่างปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์

ทำให้นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ดังกล่าวรู้สึกมั่งคั่งขึ้น (Wealth Effect) ทำให้รู้สึกอยากนำเอาส่วนหนึ่งของทรัพย์สินออกมาใช้จ่าย จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว

อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้มาตรการ QE ในปริมาณมากและนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

- มูลค่าของเงินลดลง

ถึงแม้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ จะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจริง และมันอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยตรง แต่การอัดฉีดนี้ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้นในทางอ้อม และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย

- ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์

การอัดฉีด QE จะทำให้ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูกกดให้ต่ำ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นลดลง ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น

จนอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ

- กระทบต่อการออมในภาพรวมของประเทศ

อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณ

หรือแม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในการฝากเงินหรือตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภาพรวมในระบบที่ลดลง

สำหรับประเทศไทยเรา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ยังไม่ได้มีการหยิบเอามาตรการ QE ออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้

แต่รู้ไหมว่า ที่ผ่านมาก็มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เสนอให้ ธปท. นำมาตรการ QE ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

เพราะมองว่า นโยบายการเงินของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แล้ว

อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า การนำมาตรการ QE มาใช้ในประเทศไทย อาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนนี้

เพราะว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบ ที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้นอยู่สูงกว่า 14.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)

นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยยังมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีการนำมาตรการ QE มาใช้ ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว

ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่สุดในโลก ที่พออัดฉีดเงินเข้าไปในตลาดตราสารหนี้แล้ว จะเห็นผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างชัดเจน

ดังนั้น การใช้มาตรการ QE ในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้ส่งผลบวกในวงกว้างเหมือนกับประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่มากนัก

และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเลือกที่จะนำมาตรการการเงินอื่น ๆ เช่น การพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อพิเศษ การปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ยังไม่หยิบเอามาตรการอย่าง QE มาใช้ นั่นเอง..

เนื้อหาโดย: machete007
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
machete007's profile


โพสท์โดย: machete007
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: paktronghie, machete007
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทึ่งทั่วโลก : "Pedra do Telégrafo" จุดยอดนิยมสำหรับการถ่ายภาพ ที่โด่งดัง มากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศบราซิลรอยเท้าหรือรอยพระพุทธบาท เกิดจากอะไร แล้วทำไมใหญ่จังหมอปลายทักแม่น! ดวงนายกฯ เจอศึกหนัก-ปัญหาใหญ่ถาโถม เสี่ยงเสียเงินก้อนโตสมาธิสั้น หรือแค่สมองล้า? วิธีดูแลสุขภาพใจในยุคเร่งรีบย่างกุ้ง-พุกาม พม่า 5 วัน 4 คืน 8 พันบาท (รวมตั๋วเครื่องบิน)สาวเขมรอวด "เป็นคนงานที่มีคุณภาพที่สุดในโลก" พอแล้วกับไทย ขอกลับไปทดแทนคุณแผ่นดินเขมรตำนานสามล้อถูกหวย ตำนานสอนใจที่ไม่ใช่แค่นิทานอั๋น ภูวนาท คุนผลิน พิธีกรชื่อดัง สงสารนายก ไม่ทัน ฮุนเซนดาราดัง "ชิโฮะ ฟูจิมูระ" เสียชีวิตแล้ว“ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” ประกาศกลับมาลุยการเมืองเต็มตัว ในนามพรรครักประเทศไทย ลั่นพร้อมเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชนอดนอนบ่อยๆ ไม่ได้ทำให้คุณเก่งขึ้น แต่ทำให้สมองพังต่างหากตะลุมบอนรับคริสต์มาส! เมื่อหมัดแทนของขวัญในเทศกาล Takanakuy
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"อ.เฉลิมชัย" ฟาดแรง! "เกิดบนแผ่นดินไทยแต่ไม่รักชาติ"..มันเป็นพวกจัญไร ไร้ค่าเฌอเอม รองอันดับ 1 มิสแกรนด์ไทยแลนด์ 2025 ต่อต้านไม่เอารัฐประหารสมาธิสั้น หรือแค่สมองล้า? วิธีดูแลสุขภาพใจในยุคเร่งรีบตะลุมบอนรับคริสต์มาส! เมื่อหมัดแทนของขวัญในเทศกาล Takanakuyโอปอล- สุชาตา ช่วงศรี นางงามผู้สร้างประวัติศาสตร์ Miss World 2025 คนแรกของประเทศไทย บันทึกประวัติศาสตร์ไทย“ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” ประกาศกลับมาลุยการเมืองเต็มตัว ในนามพรรครักประเทศไทย ลั่นพร้อมเป็นทางเลือกใหม่ให้ประชาชน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สมาธิสั้น หรือแค่สมองล้า? วิธีดูแลสุขภาพใจในยุคเร่งรีบตะลุมบอนรับคริสต์มาส! เมื่อหมัดแทนของขวัญในเทศกาล Takanakuyเมื่อ 80 ล้านปีก่อน มหาสมุทรแอตแลนติกเคยมีสัตว์ยักษ์หน้าตาประหลาดแหวกว่ายอยู่Pesapallo: กีฬาประจำชาติของฟินแลนด์ที่คุณอาจไม่เคยรู้จัก
ตั้งกระทู้ใหม่