นิสัยสร้างสุข สุขง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้ เริ่มได้ในแต่ละวัน ใช้เวลาไม่ถึง 20 นาทีต่อวัน เพื่อชีวิตที่มีความสุขยิ่งขึ้น
1.บันทึกความสุข และ ความรู้สึกขอบคุณทุกวัน จดสิ่งที่ทำให้มีความสุข และ ความรู้สึกขอบคุณทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยเพียงใด จะช่วยปรับปรุงทั้ง ระดับความสุขและสุขภาพกาย นักวิจัย พบว่า การทำเพียง 15 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถเปลี่ยนแปลงสุขภาพจิตได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยลดความเครียด เพิ่มความชัดเจนทางความคิด ปรับปรุงคุณภาพการนอน และเป็นการจัดสรรเวลาให้ตัวเองได้ทำในสิ่งที่มีความสุขมากขึ้น
2.ดำเนินชีวิตด้วย “คำพูดที่สร้างแรงจูงใจ” หาคำพูดที่เชื่อมโยงกับความรู้สึก อย่างเช่น โล่งใจ เป็นอิสระ มีพลัง สุขใจ เป็นต้น ให้เขียนคำเหล่านั้นออกมาสร้างเป็น list แล้วลองปรับกิจกรรมที่ทำ ปรับความคิด และปรับความรู้สึกให้อิ่มใจได้ในแต่ละวัน ไปกับคำพูดเหล่านี้
3.เริ่มต้นชีวิตวันใหม่ในแบบที่ปรารถนา เริ่มยามเช้าด้วยพลังบวก ใช้เวลาสั้น ๆ วางแผนชีวิตวันนี้อย่างมีสติสัก 1 นาที ถามตัวเองว่า วันนี้ฉันต้องการบรรลุอะไร ฉันจะทำมันอย่างไร และด้วยทัศนคติอะไร มันคือช่วงเวลาแห่งการตัดสินใจว่า เราต้องการจะมีประสบการณ์ และตอบสนองกับสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างไร
4.ตามประกายแสงแห่งความใฝ่รู้ เริ่มจากประกายไฟในสมองที่เกิดจากความตื่นเต้นที่คน ๆ นั้นอยากรู้อยากเข้าใจ ตัดสินใจที่จะลองลงมือทำ สร้างการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะปล่อยมันให้ผ่านไป อาจเริ่มจาก การอ่านบทความ ดูสารคดี หรือโทรหาเพื่อนที่ให้ไอเดียใหม่ ๆ
5.การนอนหลับให้เพียงพอ การนอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงต่อคืน ช่วยปรับปรุงอารมณ์ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ และภาวะสมองเสื่อม
ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีอายุยืนยาว พูนัม เดไซ (Poonam Desai) แนะนำว่า การนอนหลับอย่างเพียงพอ เป็นวิธีที่สำคัญที่สุดในการรักษาสุขภาพร่างกายในระยะยาว “มันเป็นสิ่งที่เราทำทุกวัน มันฟรี คุณมีโอกาสที่จะปรับให้ดีขึ้นได้ทุกวัน” เดไซกล่าวกับ CNBC Make It
6.การพูดคุยกับผู้คนแบบเห็นหน้า แทนที่จะพึ่งพาโซเชียลมีเดีย และข้อความ ปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ให้พลังทางจิตใจมากกว่า “สองสิ่งที่บ่งชี้ว่าคุณมีความสุขหรือไม่ คือ เวลาที่คุณใช้กับเพื่อนและครอบครัว และการได้อยู่ท่ามกลางผู้คนจริง ๆ” แม้แต่การทักทายบาริสต้าประจำร้านกาแฟสัปดาห์ละครั้ง ก็เพิ่มความสุขได้ไม่ว่าจะเป็นคนเก็บตัว หรือเปิดเผย “มันให้ความรู้สึกว่าชีวิตของคุณดีขึ้น” งานวิจัยหลายชิ้นสนับสนุนแนวคิดนี้ว่า การเชื่อมต่อทางสังคมมีความสัมพันธ์โดยตรงกับอายุขัย และคุณภาพชีวิตโดยรวม














