Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

Amelia Dyer นักฆ่าเด็กทารก

โพสท์โดย ไก่อ้วน


ฟาร์มเด็ก (Baby farming) เป็นชื่อเรียกขานของอาชีพหนึ่งที่ได้รับความนิยมในปลายยุควิคตอเรีย ในประเทศอังกฤษ
โดยผู้ทำอาชีพดังกล่าวมีหน้าที่เลี้ยงทารกโดยมีเงินค่าก้อนหนึ่ง(หรือจะชำระเงินเป็นระยะ)มาเป็นค่าตอบแทนในการเลี้ยงดูให้
โดยเด็กที่ถูกนำมาเลี้ยงส่วนใหญ่จะถูกเรียกว่า ลูกชาวนา ซึ่งเป็นเด็กนอกสมรสหรือเกิดจากการผิดคำนองคลองธรรม
สำหรับสังคมแล้วถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง ผู้เป็นแม่ของเด็กไม่มีพ่อจะถูกสังคมตีตราและกดดันต่างๆ นาๆ ถึงขั้นกลายเป็น
โรคประสาทเลยก็มี ด้วยเหตุนี้ทำให้หญิงสาวเหล่านั้นต้องเอาเด็กมาให้คนอื่นมาเลี้ยงดูและเขาจะเลี้ยงดูเด็กจนเติบโต
ให้อยู่วัยอันควรก็จะให้แม่เด็กพากลับบ้าน(ในระหว่างนั้นแม่เด็กสามารถมาเยี่ยมเป็นระยะๆ ได้ )


ส่วนใหญ่แล้ว ธุรกิจดูแลเด็กในอังกฤษมักจะบริหารโดยสตรีที่ซื่อสัตย์ รวมทั้งมีผู้ช่วยพยาบาลพี่เลี้ยงเด็กที่รักและเมตตาเด็ก
อย่างแท้จริง ราวกับเป็นมารดาแท้ๆ ไม่ปาน อย่างไรก็ตามยังมีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่แลเห็นผลกำไรมากมายมหาศาล
จากอาชีพดังกล่าว เลี้ยงดูเด็กที่ปราศจากความดูแลเอาใจใส่ ปล่อยเนื้อตัวให้สกปรกมอมแมม เจ็บไข้ได้ป่วยด้วยโรคภัยต่างๆ
สุดท้ายก็เสียชีวิตเพราะขาดสารอาหารแต่ยังมีที่ร้ายกว่านั้นเพราะสถานรับเลี้ยงเด็กได้เปิดโอกาสให้คนจำพวกหนึ่งที่จะสร้างกำไร
จากเด็ก โดยการฆาตกรรมเด็กที่ไม่มีทางสู้ เพื่อลดภาระการเลี้ยงดู และตักตวงผลกำไรมากที่สุด


อมีเลีย ไดเยอร์ (Amelia Dyer)



อมีเลีย ไดเยอร์ (1838-1896) ชีวิตในวัยเด็กของเธอนั้นยากจน และมีอาการทางเจ็บป่วยทางจิต ทางชีวิตขึ้นๆ ลง จนกระทั้งเธอ
ได้ทำอาชีพเป็นนักทำฟาร์มเด็กเนื่องจากแลเห็นกำไรจากการฆ่าทารกดังกล่าว เมื่อแม่เด็กฝากทารกไว้กับเธอ ทันทีที่เด็กอยู่ในมือ
ของเธอ ชีวิตของเด็กนั้นชะตาขาดทันที เด็กอาจจบชีวิตในหนึ่งวันหรือสามวัน แล้วแต่ความสะดวกในการฆ่าของไดเยอร์ ส่วนวิธีการฆ่า
ไดเยอร์มักจะใช้ผ้าเทปสีขาวรัดคอเด็ก และห่อศพด้วยกระดาษหรือไม่ก็ถุง ก่อนที่จะนำไปถ่วงน้ำแม่น้ำเทมส์ ในเขตรีดดิ้ง


จนกระทั้งมีคนทำศพทารกในแม่น้ำหลายศพ และจากการตรวจสอบหลักฐานต่างๆ ก็นำไปสู่ตัวไดเยอร์ทั้งสิ้น ส่งผลทำให้เธอถูกจับกุมในที่สุด
จากการตรวจสอบค้นบ้านของเธอ ในบ้านพบจดหมายฉบับใหม่ๆ จากแม่ใจแตกจำนวนมาก รวมทั้งเสื้อผ้าของเด็กที่กองเป็นภูเขาเลากา
แสดงให้เห็นว่าในบ้านของเธอน่าจะเต็มไปด้วยทารกที่แม่เด็กฝากให้เลี้ยงมากมาย แต่ในบ้านไม่พบเด็กสักคนทำให้เชื่อว่าเด็กถูกฆ่าหมด
เมื่อสอบสวนเพิ่มเติมพบว่าไดเยอร์เป็นคนชอบโฆษณารับเลี้ยงเด็ก โดยเก็บค่าธรรมเนียมกับค่าเสื้อผ้าล่วงหน้า เธอสามารถจูงใจให้คนอื่น
ได้เห็นว่าเธอเป็นคนรับผิดชอบ รวมไปทั้งการโอ้อวดเรื่องความปลอดภัยและความรักที่มีให้แก่เด็กๆแม่เด็กส่วนมากเชื่อคำโฆษณาของเธอ
เลยพาลูกของตนมาให้ไดเยอร์เลี้ยงโดยหารู้ไม่ว่าเด็กเหล่านั้นซะตากรรมต่อมาจะเป็นอย่างไร

เธอทำแบบนี้ ฆ่าเด็กไปเรื่อย หลายปี ก่อนที่จะโดนจับ จากการวิเคราะห์เชื่อว่าเธอน่าจะฆ่าทารก 200 ราย(มากกว่านั้น)
ทำให้เธอถูกจารึกว่าเป็นฆาตกรฆ่าทารกมากที่สุดในโลก สุดท้ายเธอก็ได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในที่สุด




อมีเลีย ไดเยอร์เกิดในปี 1836 ในครอบครัวที่ยากจน ในหมู่บ้านเล็กใน Pyle Marsh เป็นลูกสาวช่างทำรองเท้าที่ต้องมีลูกถึง 5 คน
(พี่ชายสาม น้องสาวหนึ่ง) ตอนเป็นเด็กเธอเป็นคนชอบเรียนรู้ ชอบอ่านและเขียนวรรณคดีและบทกวี อย่างไรก็ตามในวันเด็กนั้นเธอต้อง
ทุกข์ทรมานเนื่องจากถูกแม่ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เกิดจากโรคไข้รากสาดใหญ่ ทำร้ายทุบตีประจำ ซึ่งเธอต้องทนทุกข์ดังกล่าว
จนถึงวันที่แม่ตายเมื่อปี 1848 ซึ่งนักจิตวิทยาวิเคราะห์ว่าผลกระทบจากการถูกทารุณกรรมต่างกล่าวทำให้ไดเยอร์กลายเป็นคนเลือดเย็น
ก่อนที่จะกลายเป็นฆาตกรต่อเนื่องในเวลาต่อมา

หลังจากการตายของแม่ ไดเยอร์ได้อาศัยอยู่กับญาติซึ่งเป็นป้าในบริสตอล โดยเคยฝึกงานและรับใช้งานบ้านไปด้วย ต่อมาในปี 1859
พ่อของเธอตาย ทำให้พี่ชายคนโตของเธอต้องสืบทอดกิจการซ่อมรองเท้าแทน เมื่อไดเยอร์อายุ 24 ปีเธอก็เริ่มห่างเหินกับญาติพี่น้อง
หายหน้าเพื่อแต่งงานกับจอร์จ โทมัส ชายชราอายุ 59 ปีที่พักในบ้านบนถนนทรีนีตี้ โดยทั้งสองโกหกเกี่ยวกับอายุในใบทะเบียนเพื่อ
ลดช่องว่างระหว่างวัย โดยโทมัสหักไป 11 ปี ส่วนเธอเพิ่มเป็น 6 ปี

สามปีหลังการแต่งงานกับโทมัส อเมเลียเริ่มฝึกฝนเป็นพยาบาล ซึ่งเป็นงานที่ค่อนข้างเหนื่อยยากมากในสมัยวิคตอเรีย แต่อย่างไรก็ตาม
อาชีพยาบาลถือว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติอีกทั้งตัวเธอเองก็เรียนรู้ทักษะที่มีประโยชน์หลายอย่างโดยเฉพาะการผดุงครรภ์ และเธอเริ่มสนใจอาชีพ
นักทำฟาร์มเด็ก จากการพักอาศัยอยู่กับผู้หญิงคนหนึ่งชื่อ Ellen Dane ที่ทำฟาร์มเด็กผิดกฎหมาย โดยปล่อยปะละเลยเด็ก จนขาดแคลน
อาหารตายหลายราย




ในช่วงเวลานั้น ปี 1834 กฎหมายพระราชบัญญัติไม่ค่อยเอื้อแก่บุตรนอกสมรสมากนัก ทำให้ผู้หญิงที่มีบุตรดังกล่าวขาดเงินการเลี้ยงดู
ส่งผลทำให้นักทำฟาร์มเด็กที่รับเลี้ยงดูบุตรเหล่านี้มีความจำเป็นในสมัยนั้นมาก และอเมเลียเองก็สนใจธุรกิจนี้เนื่องจากเห็นผลประโยชน์
ที่ได้รับจากอาชีพนี้อย่างมหาศาล หากแต่เธอไม่คิดจะเลี้ยงดูเด็กแต่อย่างใด

อเมเลียเริ่มทำการโฆษณาในหนังสือว่ารับลี้ยงเด็กในราคาย่อมเยา ในใบโฆษณาเธอบอกว่าเธอเป็นนางพยาบาลมีความสามารถในการเลี้ยงดู
เด็กเป็นอย่างดี มีเสื้อผ้าเพียงพอสำหรับเด็ก อีกทั้งเธอแต่งงานมีความรับผิดชอบ มีบ้านที่ปลอดภัยและรักเด็ก

แม่เด็กส่วนมากเชื่อคำโฆษณาของเธอ เลยพาลูกของตนมาให้ไดเยอร์เลี้ยงโดยเก็บค่าธรรมเนียมกับค่าเสื้อผ้าล่วงหน้า ด้วยความเป็นผู้หญิง
ท่าทางน่าเชื่อถือทำให้แม่เด็กเชื่อสนิทใจ โดยหารู้ไม่ว่าเด็กเหล่านั้นชะตากรรมอย่างไรหากอยู่ในมือของเธอ

ทันทีที่เด็กอยู่ในมือของไดเยอร์ ชีวิตของเด็กนั้นชะตาขาดทันที เด็กอาจจบชีวิตในหนึ่งวันหรือสามวัน แล้วแต่ความสะดวกในการฆ่าของไดเยอร์
ส่วนวิธีการฆ่าส่วนมากมักใช้ผ้าเทปสีขาวรัดคอเด็ก และห่อศพด้วยกระดาษหรือไม่ก็ถุง ก่อนที่จะนำไปถ่วงน้ำใกล้บ้าน วิธีของเธอมันช่างง่าย
แต่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังลอยนวลหลายปี แม้ว่าเธอจะถูกจับหลายครั้งเนื่องจากหลายคนสงสัยจำนวนเด็กทารกเสียชีวิตมากเกินเหตุภายใต้
การดูแลของเธอ แต่กระนั้นโทษที่เธอได้รับกลับเล็กน้อยเนื่องจากเธอใช้สภาพจิตมีปัญหามาอ้างต่อชั้นศาล ทำให้ถูกปล่อยตัวในเวลาอันสั้น
และเธอก็ทำอาชีพนักทำฟาร์มเด็กอีก อีกทั้งตัวแม่ของเหยื่อเองก็ไม่สนใจอยู่แล้วว่าลูกของเธอจะเป็นอย่างไร บางคนจ่ายแล้วหายหน้าไปเลย

แต่กระนั้นก็มีแม่เด็กบางราย มาขอลูกคืน เธอก็อ้างว่าลูกชายของเธอป่วยตายตามธรรมชาติ หรือย้ายไปอยู่สถานเลี้ยงเด็กที่อื่น
หากเรื่องจนตัวเธอก็หนีไปต่างเมืองและเปลี่ยนชื่อที่อยู่ใหม่หมด จนไม่มีใครจับได้
 

แม่น้ำเทมส์



หนึ่งในเหยื่อของไดเยอร์ นั้นมีมากมาย อย่างกรณีของ เอเวลิน่า มาร์มอน เป็นหญิงบาร์ในเมืองเชลท์แน่ม อายุ 25 ปีที่กำลังมีปัญหา
การเลี้ยงดูบุตรสาวนอกสมรส โดร่า มาร์มอน หากแต่ไม่นานนักเธอก็ได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวเมื่อเธอเหลือบไปเห็นโฆษณา
ในหนังสือพิมพ์ฟาร์มเด็กของไดเยอร์ ซึ่งเมื่อได้อ่านนางมาร์มอนก็ตั้งใจที่จะเอาลูกไปฝากเธอชั่วคราวเพื่อจะได้ทำงานเก็บเงินมาก
พอที่จะเลี้ยงดูลูกของเธอในอนาคต


ในเดือนมกราคม 1896 นางมาร์มอนไปที่พักในถนนอ๊อซฟในรีดดิงตามที่ไดเยอร์นัดเอาไว้ และเธอเห็นนางไดเยอร์ ครั้งแรกเธอก็พบว่า
นางไดเยอร์ เป็นคนน่านับถือเป็นหญิงชราที่ดูเหมือนไม่มีพิษภัย อีกทั้งเธอบอกว่าเธอแต่งงาน และเธอพร้อมที่จะเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพดี
เติบโตด้วยความรักในบ้านที่แสนอบอุ่น โดยเธอขอเพียงแค่เงิน 10 ปอนด์ล่วงหน้า




ความจริงแล้วนางมาร์มอนต้องการจ่ายเงินรายสัปดาห์มากกว่าเพื่อการเลี้ยงดูลูกสาวเธอให้ดี หากแต่นางไดเยอร์ ยืนยันว่าต้องจ่ายเงินก้อน
ตั้งกว่าล่วงหน้าโดยไม่มีการต่อรองใดๆ ทั้งสิ้น หลังจากที่ทั้งสองต่อรองราคาพักใหญ่ นางมาร์มอนก็ยอมแพ้ตกลงที่จะจ่ายเงิน 10 ปอนด์
อย่างไม่เต็มใจและสัปดาห์ต่อมานางมาร์มอนก็มายังเมืองเชลท์แน่มอีกครั้งเพื่อนักลูกสาวมาให้ไดเยอร์ เลี้ยง โดยเธอส่งลูกสาวของเธอ
ที่อยู่ในกระดาษแข็ง เสื้อผ้าของเธอ และเงินค่าเลี้ยง 10 ปอนด์ ไม่กี่วันต่อมาเธอได้รับจดหมายของไดเยอร์ เขียนไว้ว่า ทุกอย่างกำลัง
ไปได้สวย เมื่อนางมาร์มอนส่งจดหมายกลับ นับจากนั้นเป็นต้นมาเธอไม่ได้รับจดหมายจากนางไดเยอร์ อีกเลย

ความจริงแล้วตอนที่ไดเยอร์รับบุตรของนางมาร์มอนถึงมือ และเมื่อเด็กจากไป ชะตาของเด็กก็ขาดตั้งแต่บัดนั้น เมื่อเธอไม่ได้ไปริดดิ้ง
สถานที่เลี้ยงดูเด็กตามที่บอกเอาไว้ หากแต่ไปบ้านของลูกสาวในลอนดอนแทน และจากนั้นเธอใช้เทปสีขาวที่ใช้เย็บตัดเสื้อผ้าพันรอบคอเด็ก
สองครั้งและผูกโบว์เพื่อให้เด็กตายอย่างเยือเย็น ซึ่งเธอได้กล่าวภายหลังว่า ฉันชอบดูพวกเขาตายระหว่างเอาเทปรัดรอบคอ จากนั้นเธอก็ห่อ
ร่างกายด้วยผ้าเช็ดปาก ส่วนเสื้อผ้าเด็กที่มาพร้อมกับเด็กเธอเอาไปขายในโรงจำนำ

ในวันพุธของวันที่ 1 เมษายน 1896 เธอก็รับเด็กคนหนึ่งชื่อแฮร์รี่ ซิมมอนส์ อายุ 13 เดือน และเธอก็ฆ่าเด็กทันทีหลังที่เธอได้มา
หลังจากนั้น 2 เมษายนเธอก็นำร่างกายของเด็กทารกทั้งสองซ้อนกันในกระเป๋าพรมพร้อมด้วยอิฐเพื่อถ่วงจน้ำหนักก่อนที่จะนำไปทิ้ง
ในแม่น้ำเทมส์ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายใหญ่ใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้และไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน

การพบศพเด็กในแม่น้ำไทม์




ไดเยอร์ยังคงฆ่าเด็กทารกต่อไป ทั้งๆ ที่มีการศพเด็กทารกมากมายในแม่น้ำไทม์ แต่กลับไม่มีใครสงสัยหรือตระหนักถึงความน่ากลัวของเธอเลย
จนกระทั้งวันที่ 30 มีนาคม 1896 เมื่อคนเรือคนหนึ่งได้ดึงห่อมัดผ้าห่อหนึ่งจากริมแม่น้ำเทมส์ และเมื่อเขาเปิดดูก็พบว่ามันเป็นศพของเด็กทารก
อายุประมาณ 1 ปี ถูกเทปรัดคอเป็นปมแน่นที่ต่อมาระบุว่าเป็นศพของเฮเลนา ฟราย ต่อมาวันที่ 10 เมษายน ปี 1896 มีคนพบห่อของที่มัดแน่น
ริมแม่น้ำเทมส์อีกครั้ง เมื่อแก้ห่อมัดซึ่งเป็นถุงพรมก็พบศพเด็กน้อยวัย 4 เดือนกว่า กับศพเด็กเพศชายอายุ 13 เดือน อยู่ใกล้กัน บริเวณคอ
ของทารกทั้งสองมีเทปสีขาว จากการการสอบสวนต่อมาตำรวจทราบชื่อศพภายหลังว่าชื่อ ดอริส มาร์มอน และแฮร์รี่ ซิมมอนส์

จากการพบศพเด็กทารกสามรายซ้อนดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจในเมืองริดดิ้งออกมาเคลื่อนไหว จากการวิเคราะห์ก็พบว่าศพเด็กดังกล่าว
น่าจะเป็นฝีมือของฆาตกรคนเดียวกันและเมื่อใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องบนกระดาษห่อศพทารก ผลคือพวกเขาพบชื่อที่อยู่ล่าสุดของอมีเลีย ไมเยอร์
เขตรีดดิ้ง ทำให้เชื่อว่าเธออาจเกี่ยวกับการฆาตกรรมดังกล่าว หากแต่พวกเขาไม่มีหลักฐานเพียงพอที่เอาผิดเธอ ไดเยอร์เชี่ยวชาญการหลบหนี
อยู่แล้ว ถ้าเธอรู้ว่าตำรวจสงสัยเธอละก็ ไดเยอร์ต้องหายไปแน่ ดังนั้นตำรวจเลยวางแผนให้เด็กสาวคนหนึ่งเป็นนกต่อทำเป็นโสเภณีที่สนใจ
ไดเยอร์รับลูกของเธอมาเลี้ยง และทำเป็นสนใจข้อมูลและนัดหมายพบปะกับเธอ

แผนการดำเนินด้วยดี ไดเยอร์หลงกล และวันที่ 3 เมษายน ตำรวจทำบุกค้นบ้านใหม่ของไดเนอร์ จนเธอไม่ตั้งตัว และเป็นอย่างที่คาดพวกเขา
ได้กลิ่นเหม็นจากการเน่าสลายของศพมนุษย์แม้ว่าไม่มีศพดังกล่าวอยู่ในบ้านก็ตาม แต่กระนั้นพวกเขาก็พบหลักฐานมากมายที่จะเอาผิดเธอ
เป็นต้นว่าเทปขอบสีขาวที่ใช้รัดคอเด็กทารก โทรเลขเกี่ยวกับการเตรียมการรับบุตรบุญธรรม ตั๋วจำนำสำหรับเสื้อผ้าเด็ก ใบเสร็จรับเงินสำหรับ
การโฆษณาและตดหมายจากมารดาที่สอบถามเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของเด็ก

เจ้าหน้าที่ตำรวจทำการคำนวณอย่างคร่าวๆ พบว่าไม่กี่เดือนก่อนหน้ามีเด็กไม่ต่ำกว่า 20 รายที่อยู่การเลี้ยงดูของไดเยอร์ หากแต่เมื่อทำการ
ค้นบ้านดูกับไม่พบเด็กดังกล่าวสักคนทำให้เชื่อว่าเธอคงฆ่าเด็กหมด และน่าขนหัวลุกอีกครั้งเมื่อทำการเจาะรายละเอียดแบบลึกๆ ก็พบว่า
ตั้งแต่เธอเป็นนักทำฟาร์มเด็กเธอน่าจะฆ่าเด็กทารกถึง 400 ราย ซึ่งถือว่าเป็นฆาตกรต่อเนื่องที่ฆ่าคนมากที่สุดเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
อย่างไม่ต้องสงสัย



ไดเยอร์ถูกจับกุมอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 เมษายนในข้อหาฆาตกรรม ส่วนอาเธอร์ พาล์มเมอร์ ลูกเขยของเธอถูกจับในข้อหาสมรู้ร่วมคิด
ระหว่างการสอบสวน ก็มีศพเด็กเจ็ดศพปรากฏออกมาในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาของปีนั้น ตำรวจพบร่างจำนวนนั้นที่แม่น้ำเทมส์ ทั้งหมดมี
ผ้าเทปสีขาว ประทับเครื่องหมายอมีเลีย ไดเยอร์พันรอบคอในไม่ช้าอมีเลีย ไดเยอร์ก็กล่าวคำกึ่งสารภาพว่า พวกคุณรู้ว่าเป็นฝีมือของฉัน
เพราะผ้าเทปที่พันรอบคอเด็กใช่เปล่า....

อมีเลีย ไดเยอร์ถูกขึ้นศาลที่โอลด์ไบลีย์ กรุงลอนดอน ก่อนหน้านั้นเธอพยายามฆ่าตัวตายสองครั้งหลังการจับกุมแต่ไม่สำเร็จ ส่วนแมรีกับ
อาเธอร์ พาล์มเมอร์ที่มีส่วนร่วมในการกระทำของไดเยอร์ ถูกปล่อยตัวเพราะไม่มีหลักฐานอีกทั้งคำรับสารภาพของอมีเลียในคุกที่สถานีตำรวจ
รีดดิ้งเขียนไว้ว่าลูกสาวและลูกเขยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีนี้ด้วย

ไดเยอร์ยอมรับสารภาพต่อศาลว่าเธอทำการฆาตกรรม ดอริส มาร์มอน เพียงคนเดียวเท่านั้น ส่วนทนายใช้วิธีสุดฮิตคือไดเยอร์เป็นคนมีวิกลจริต
นอกจากนี้อมีเลียยังแสดงพฤติกรรมให้ลูกขุนเชื่อว่าเธอเชื่อศรัทธาแรงกล้าในด้านศาสนา ด้วยการถือหนังสือเพลงสรรเสริญพระเจ้าตลอดการไต่สวน

การพิจารณาคดีใช้เวลาไม่กี่วันและคณะลูกขุนใช้เวลาเพียง 5 นาที ในการตัดสินความผิดว่าอมีเลีย ไดเยอร์ มีความผิด สังหารเด็กที่ไม่มีทางสู้
โดยคำแก้ตัวว่าเธอวิกลจริตนั้นคณะลูกขุนไม่เชื่อ จัสติค ฮอว์กินส์ ผู้พิพากษา ตัดสินให้มีการประหารชีวิตอมีเลีย ไดเยอร์ ช่วงเวลาที่รอวันประหาร
อมีเลีย ไดเยอร์ เขียนหนังสือห้าเล่ม หนึ่งในนั้นคือเรื่อง ความจริงสุดท้ายและคำสารภาพ ไดเยอร์ตัดสินใจไม่อุทธรณ์

สามสัปดาห์ก่อนมีการประหาร อนุศาสนาจารย์เข้ามาเยี่ยมเธอในคืนสุดท้ายถามว่าเธอมีอะไรอยากสารภาพความผิดที่ก่อขึ้นไหม
ไดเยอร์ยื่นหนังสือให้และกล่าวว่า เท่านี้เพียงพอหรือไม่




10 มิถุนายน 1896 เวลา 9 โมงเช้า อมีเลีย ไดเยอร์ได้รับโทษประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ โดยเจมส์ บิลลิงตัน ที่เรือนจำเก่าแก่
ในกรุงลอนดอน และได้รับบันทึกสถิตว่าเป็นสตรีสูงอายุที่ถูกศาลพิพากษประหารชีวิต

หลังจากอมีเลีย ไดเยอร์ถูกประหารที่มีข่าวลือกันเล่นๆ ว่าเธออาจเป็นแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ฆาตกรต่อเนื่องชื่อดังที่ออกอาละวาด
ในกรุงลอนดอนก็เป็นได้ เนื่องจากเธออยู่ช่วงสมัยกับฆาตกรดังกล่าว อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับเหยื่อที่เป็นโสเภณีที่ทำแท้งด้วย
แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่มีหลักฐานที่ยืนยันข้อสันนิษฐานดังกล่าว นอกจากบทกวีได้พรรณนาถึงเธอว่า


The old baby farmer, the wretched Miss Dyer
At the Old Bailey her wages is paid.
In times long ago, we'd 'a' made a big fy-er
And roasted so nicely that wicked old jade

 

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ไก่อ้วน's profile


โพสท์โดย: ไก่อ้วน
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
32 VOTES (4/5 จาก 8 คน)
VOTED: Ployza, อาราเล่จัง, ลูกเป็ดยักษ์พเนจร, Teyty
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รวม เลขปฏิทินจีน งวด 16/4/68วิธีหลีกหนีโรคสมองเสื่อม ไม่อยากเป็นอัลไซเมอร์ มีวิธีป้องกันได้สรุปเส้นทางความรักของโตโน่-ณิชาโตโน่ ภาคิน โดนโยงข่าวนอกใจแฟนสาว ผจก.ชี้แจงความจริงทำเกินเบอร์! คู่รักดาราเล่นใหญ่ เซิร์ฟดินสอพองจัดเต็มไม่ห่วงหล่อสวยจีนสวนกลับสหรัฐฯร้านค้าเรียกเก็บค่าบริการชาว อเมริกันเพิ่มกว่าเท่าตัวลูกรัก-ลูกชังในที่ทำงาน ‘Favoritism’ เมื่อหัวหน้ามีลูกรักคนโปรดควรรับมืออย่างไร? เช็กสัญญาณของปัญหาการมีลูกรัก-ลูกชังในที่ทำงานมาได้ไง!! หนุ่มตั้งโต๊ะขายผลไม้บนทางด่วนเข้าตักเตือนทันที คงคิดว่าทำเลดีไร้คู่เเข่งสินะ🤣รีวิวหนังดัง LOVE HURTS ด้วยรักและลูกปืนใครทิ้งรอยไว้กลางจุดพีค? "นาย ณ ภัทร" มีสะดุ้งเบา ๆเกิดเหตุโครงการก่อสร้างรถไฟใต้ดินพังถล่มที่ เกาหลีใต้!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
โตโน่ ภาคิน โดนโยงข่าวนอกใจแฟนสาว ผจก.ชี้แจงความจริงสรุปเส้นทางความรักของโตโน่-ณิชา
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
TikTok เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. ใด และมีพัฒนาการอย่างไรจนได้รับความนิยมจากทั่วโลกนวนิยายในปัจจุบันที่นิยมในประเทศไทย กับในอดีต แตกต่างกันอย่างไรรักที่แตกต่างตอนที่18 ผลลับแห่งการกระทำ (อวสาน)รักที่แตกต่างตอนที่17 ความริษยาพาใจมืดบอด
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง