Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

พุทธศาสนาถูกกลืนเพราะความงมงาย

โพสท์โดย LOVE MAX SHE

พุทธศาสนาถูกกลืนเพราะความงมงาย

เป็นภาพภิกษุในพระพุทธศาสนา กำลังถูกพวกพราหมณ์กลืน ภาพนี้เป็นภาพล้อ แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ในพุทธศตวรรษที่ ๘ ราว พ.ศ. ๗๔๓ ขณะนั้นในอินเดียเกิดการแบ่งชั้นวรรณะกันอย่างขนาดหนัก พวกศูทรหรือพวกกรรมกร ถูกตัดออกจากวงของสังคมด้วยการถูกต้านปฏิเสธให้ออกไป ดังเห็นอยู่ในภาพ

ภาพนี้ต้องการเตือนสติผู้ที่อ้างตนว่า นับถือพระพุทธศาสนาให้มั่นอยู่ในความไม่ประมาททุกเวลา เพราะปรากฏอยู่ไม่น้อย ที่เป็นชาวพุทธเพียงปาก แต่การประพฤติกลับไม่ใช่ชาวพุทธเลย. พระพุทธเจ้าสอนให้พึ่งตนเอง แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับไปพึ่งพิธีรีตอง พึ่งผีสางนางไม้ หรือพระภูมิ พระพรหม ฯลฯ อันเป็นเรื่องนอกตัวเองออกไป เขาไม่เคยสนใจต่อการดับทุกข์ของตนด้วยตนเอง ตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา

ผู้ที่อ้างตนว่าเป็นชาวพุทธ กำลังทำลายพระพุทธศาสนาอยู่อย่างขนาดหนัก ด้วยการเสกเป่าสร้างเครื่องรางของขลัง รดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ถึงกับกล้าเสกหิน เสกดิน และผงต่างๆ ให้เป็นพระพุทธเจ้า ช่วยให้คนงมงายมากขึ้นๆ วัดเลยกลายเป็นที่ทำมาหากินของคนบางพวก ซึ่งตรงข้ามกับ จุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา ที่มีแต่ต้องการช่วยให้ทุกคนพ้นจากความเชื่อที่งมงาย มีหูตาสว่าง เห็นทุกสิ่งที่ถูกต้องตามที่เป็นจริง จนกระทั่งเห็นว่า ทุกสิ่งว่างจากตัวตน ของตน ตามหลักธรรมที่ว่าด้วยเรื่อง สุญญตา.

เรื่องสุญญตานี้มีผู้ที่อยู่ในเครื่องแบบของพุทธบุตรกล้าอ้างว่า ไม่ใช่เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้านำมาสอนแก่ชาวบ้านชาวเมือง นี่ก็เพราะความเขลาของเขาเอง เพราะหากนำเอาหลักธรรมข้อนี้ออกเสียแล้ว พุทธศาสนาก็หมดความเป็นพระพุทธศาสนา หากใครผู้ใดไม่เข้าใจหลักธรรมข้อนี้ก็คือไม่เข้าใจพระพุทธศาสนาเลย. ยิ่งอ้างอย่างภาคภูมิด้วยกฎแห่งกรรมว่า ทำกรรมดีได้ดี ทำกรรมชั่วได้ชั่ว เป็นหลักพระพุทธศาสนา นั่นยิ่งเป็นการลดค่าทอนราคาพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง มองเห็นได้ยากทีเดียว เพราะกรรมที่กล่าวถึงนั้นเพียงระบุกรรมทางกาย ทางวาจา เท่านั้น ไม่มีการกล่าวถึงกรรมส่วนข้างใน คือ มโนกรรมเลย.

หากกล่าวถึงมโนกรรม ก็จะต้องกล่าวถึงสุญญตาในที่สุด หนีไม่พ้น เพราะการศึกษาธรรมะ ก็คือการศึกษาชีวิตจิตใจของตนเอง การที่จะรู้จักชีวิตจิตใจของตนเองได้ ก็ต้องด้วยการเฝ้ามอง เฝ้าสังเกต ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นกับจิต : เฝ้ามองไป สังเกตไป พินิจพิจารณาไป ในที่สุดจะพบว่าจิตตามสภาพธรรมดาของธรรมชาตินั้น มันว่างจากความโลภ ความโกรธ ความหลง. สำหรับกิเลส ๓ ตัวนี้ เป็นเพียงแขกที่มาชั่วครั้งคราว ภายหลังที่ตากระทบรูป หูได้ยินเสียงในฐานะเป็นเหยื่ออันยั่วยวนในโลก จนกระทั่งเวทนาปรุงเป็นตัณหา (ความอยากที่เป็นกิเลส)

เพราะฉะนั้น ก่อนที่กิเลสจะเข้ามาครอบงำจิต จิตจึงว่างจากตัวตนของตน อยู่ในภาวะสุญญตาอยู่ตามธรรมชาติธรรมดาของมัน และภาวะของจิตอย่างนี้แหละจึงจะปราศจากทุกข์ ผิดจากนี้แล้วจะปราศจากทุกข์ไม่ได้เลย.

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
LOVE MAX SHE's profile


โพสท์โดย: LOVE MAX SHE
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
56 VOTES (4/5 จาก 14 คน)
VOTED: cutiebarbie, มาราธอน, ginger bread, Betatia, bgs, Tabebuia, Ahom, llHackll, plangchompoo, ซาอิ, Ashikaga Sayuri
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
พบทองคำหนักเกือบ 18 กิโลกรัม ในบ่อน้ำลึกฝรั่งย้ายมาอยู่ไทยแต่ไม่ฝันหวาน ชีวิตจริงโคตรเรียล เจ็บจริง เหงาจริง แต่ก็ยังเลือกจะยิ้มอยู่ที่นี่สูตรคำนวณงวด 16/4/68มาได้ไง!! หนุ่มตั้งโต๊ะขายผลไม้บนทางด่วนเข้าตักเตือนทันที คงคิดว่าทำเลดีไร้คู่เเข่งสินะ🤣
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
สรุปเส้นทางความรักของโตโน่-ณิชามาได้ไง!! หนุ่มตั้งโต๊ะขายผลไม้บนทางด่วนเข้าตักเตือนทันที คงคิดว่าทำเลดีไร้คู่เเข่งสินะ🤣จีนสวนกลับสหรัฐฯร้านค้าเรียกเก็บค่าบริการชาว อเมริกันเพิ่มกว่าเท่าตัว
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
TikTok เปิดตัวครั้งแรกในปี พ.ศ. ใด และมีพัฒนาการอย่างไรจนได้รับความนิยมจากทั่วโลกนวนิยายในปัจจุบันที่นิยมในประเทศไทย กับในอดีต แตกต่างกันอย่างไรรักที่แตกต่างตอนที่18 ผลลับแห่งการกระทำ (อวสาน)รักที่แตกต่างตอนที่17 ความริษยาพาใจมืดบอด
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง