ยามอุบากองคืออะไร ? ใช้ในเรื่องอะไรได้บ้าง ?
ตอนที่ 1
"ยามอุบากอง" คือศาสตร์โบราณที่สอดคล้องกับความเชื่อของคนไทยสมัยก่อน ซึ่งนิยมถือฤกษ์งามยามดี ก่อนเดินทางออกจากบ้าน หรือเดินทางออกจากที่ตั้ง เพื่อไปทำธุระสำคัญ ถ้าเป็นทหารก็คือการเคลื่อนทัพออกรบ โดยเชื่อว่า ถ้าเลือกยามที่เป็นมงคล ก็จะประสบความสำเร็จ แคล้วคลาดจากอุบัติเหตุเภทภัยทั้งปวง ได้รับชัยชนะกลับมา ถ้าเลือกยามที่เป็นกาลกิณี ก็จะประสบอุบัติเหตุอันตราย หรือพ่ายแพ้กลับมา
ประวัติความเป็นมาของ "ยามอุบากอง" เกิดขึ้นเมื่อสมัย ร.1 พระเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า สั่งให้แม่ทัพใหญ่ยกไพร่พลหลายกองทัพ หวังจะตีเมืองเชียงใหม่ แต่เจ้านครเชียงใหม่ ปกป้องเมืองไว้ได้ กองทัพพม่าจึงถอยไปล้อมเมืองไว้ ร.1 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำทัพเสริม และสามารถตีทัพพม่าแตกพ่าย จับตัวแม่ทัพพม่ามาเป็นเชลยได้ 1 คน ชื่อ "อุบากอง" เมื่อสั่งให้ถอดเสื้อก็เห็นยันต์บนแผงอกของอุบากอง มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งออกเป็นช่องต่าง ๆ ผู้คุมจึงสั่งให้ลอกยันต์ พร้อมแปลเป็นภาษาไทย (ตัวอย่างในภาพ)
อุบากองได้เผยเรื่องราชการของกรุงอังวะ เป็นประโยชน์ต่อกองทัพไทย จึงได้รับพระราชทานทรัพย์ไปตั้งตัว ทำให้ยันต์อุบากองแพร่หลายในหมู่ชาวไทยตั้งแต่นั้นมา (โปรดติดตามความพิเศษของยันต์อุบากอง และวิธีอ่านยามอุบากอง
ในตอนที่ 2 ครับ)