2 โรคสมองที่อาจเชื่อมโยงถึงกันได้ง่าย
ลึก ๆ แล้วเราและคุณก็ต่างไม่รู้เลยว่าสิ่งเล็ก ๆ ที่อยู่ข้างกายเราก็ส่งผลให้ป่วยและเกิดโรคสมองได้ ไม่าจะกิน ดื่ม พฤติกรรม การเสพ สูบ และความนึกคิด ก็ล้วนแต่เป็นตัวฉกาจที่จ้องจะทำร้ายสมองของเราได้ทุกเมื่อเชื่อวัน
ตามเกณฑ์แล้วสมองเป็นอวัยวะที่บอบบางมาก ตามที่ทุกคนเข้าใจดี จากการพบเจอไม่ว่าจะอุบัติเหตุรถล้ม รถชนเพียงแค่ศีรษะถูกกระแทกเล็กน้อย ก็ส่งผลให้ระบบแปรปรวนได้ฉับพลันเลย ไม่ว่าจะการได้ยิน การมองเห็น การขยับใบหน้า รวมไปถึงการทรงตัวที่อาจจะต้องผิดปกติไป
ฉะนั้นแล้วไม่มีใครอยากให้โรคสมองหรือแม้แต่จะเป็นสัญญาณเล็กๆก็ตาม
วันนี้เราจึงตัดสินใจเลือกทำบทความนี้ขึ้นมาเพื่อสรุปความเข้าใจและหาวิธีป้องกันไม่ให้โรคร้ายมาสู่คุณ
- โรคเส้นเลือดในสมองตีบ
อาการ : สับสน งุนงง มึน หรือเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ได้ เดินโซซัดโซเซ ล้มโดยไม่มีสาเหตุ
ขาและแขนอ่อนแรง พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง หูมีปัญหาต่อการได้ยินเสียง ตาพร่ามัว มองเห็นได้ไม่ชัด สำลักอาหาร กลืนอาหารได้ยาก-ลำบาก
"ซึ่งระยะเวลาของการเกิดโรคนั้นจะใล้เวลาเพียงแค่ 10-15นาทีเท่านั้น(หรือไม่อาจเกิดขึ้นเร็วกว่านั้นก็ได้) "
- ต้นสายปลายเหตุของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
-พันธุกรรมที่ยังคงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดเส้นเลือดในสมองตีบ
-ไขมัน ลิ่มเลือด หรือเกล็ดเลือด ไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดมากจนทำให้เลือดอุดตัน หรือไม่สามารถผ่านไปเลี้ยงสมองได้เต็มที่
-โรคเส้นเลือดในสมองตีบส่วนมากมีระยะเวลาอยู่ที่ 7-14วัน จากนั้นก็จะเข้าสู่โรค ๆ เส้นเลือดในสมองโป่งพองแตก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เพราะส่วนมากแล้วผู้ป่วยมักอยู่ในโรคเส้นเลือดในสมองอยู่ก่อนแล้ว แต่การมาหาหมอหรือพบแพทย์ก็มักจะอยู่ในขั้นวิกฤต ซึ่งเดิมอาการปวดศีรษะคนที่เป็นก็จะเข้าใจว่าเป็นภาวะปกติ รับประทานยาแก้ปวด นอนพัก เดี๋ยวก็ดีขึ้นจนอาการนั้นเป็นเรื้อรังมากขึ้น บางคนไม่รู้ตัว เพราะอาการไม่ได้แสดง บางคนรู้ตัวแต่เลือกรับประทานยาเอง นี่เลยเป็นสามารถให้การรักษานั้นไม่เป็นไปอย่างตรงจุด และส่งผลให้อาการลุกลาม จากสารที่อยู่ในเลือดไปทำปฎิกริยาให้เส้นเลือดค่อย ๆ แคบลง
- การรักษาเส้นเลือดในสมองตีบ
เบื้องต้นตามที่ได้อธิบายไว้ในกลุ่มอาการ เช่น ปวดศีรษะ การได้ยินเปลี่ยนไป สายตาผิดแผลกไป ก็ขอให้พบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องอย่างละเอียด เพราะจากโรคเส้นเลือดสมองตีบไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มียาที่ช่วยบรรเทาให้อาการทุเลาลงได้
ผู้ประสบกับโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ควรฝึกทำกายภาพบำบัดตามตารางนัดหใฝมายของแพทย์ เพื่อให้ร่างกายนั้นกลับฟื้นตัวได้ไวขึ้น
หากผู้ที่เป็นเส้นเลือดในสมองตีบเป็นผู้ป่วยที่ติดเตียง ครอบครัวหรือญาติควรที่จะคอยพลิกเปลี่ยนอิริยาบถให้เพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับ
- วิธีป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
แม้คุณอาจจะมองว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นกับคุณแน่ ๆ เพราะความแข็งแรงของร่างกายนั้นเต็มร้อย ไม่มีประวัติการอาการป่วยใด ๆ แต่คุณควรป้องกันไว้อย่างน้อย ๆ ก็ดีกว่ามาแก้ทีหลัง
1)เลี่ยงหรืองดการสูบบุหรี่ จากสารคาร์บอนมอนอกไซด์จะไปเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในผนังหลอดเลือด
2)เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ๆ ขาหมู หมูย่าง เนื้อ น้ำมัน ชีส อาหารเหล่านี้จัดว่ามีไขมันที่สูงและหากว่าได้รับในปริมาณมาก ๆ หรือทุก ๆวัน โอกาสการเกิดไขมันอุดตันเส้นเลือดได้
3) ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เพื่อให้เส้นเลือดในสมองทำงานได้อย่างปกติ
4)ไม่หักโหมหรือทำงานหนักจนเกินไป
5)พักผ่อนให้เพียงพอ
6)แนะนำให้ตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจเลือดที่ปีเพื่อจะได้มีเวลาในการหาวิธีป้องกันได้ทันท่วงที
ทั้งนี้ก็ยังมีตัวยาที่ไม่เหมาะสมต่อการนำมารักษาโรคเส้นเลือดในสมองตีบด้วย โดยเฉพาะ ยาต้ม หรือยาสมุนไพร และอาจมีผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่ตามมาด้วยได้ เช่น กระเพาะติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง สุดท้ายนี้ก็อยากฝากว่าไม่ควรหลงละเลิงไปกับสรรพคุณเกินจริงและราคาที่ถูกเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีควรตรวจกับทางโรงพยาบาลผ่านแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากมายที่พร้อมรอให้บริการกับคุณดีที่สุด
- โรคเส้นเลือดในสมองโป่งพอง
แม้จะบอกไปในช่วงของโรคเส้นเลือดในสมองตีบแล้ว โรคเส้นเลือดในสมองโป่งพองก็ถือเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันของภาวพเส้นเลือดในสมองตีบ
อาการ:ปวดศีรษะช่วงท้ายทอย ต้นคอ อย่างเฉียบพลัน หรือรู้สึกเหมือนมีของฟาดจากทางต้นคออย่างแรง
คลื่นไส้ อาเจียน พูดไม่ชัด หรือจะสื่ออีกสิ่งแต่ได้อีกอย่าง จากมะม่วงเป็นมะพร้าว ขา แขนอ่อนแรง เป็นลมล้มหมดสติ และหากว่านำตัวส่งโรฃพยาบาลไม่ทัน ผู้ประสบอาจหยุดหายใจและเสียชีวิตได้ในที่สุด
" ผู้ที่ประสบกับโรคเส้นเลือดในสมองโป่งพองถือว่าได้รับอันตรายและเสียชีวิตมากกว่าครึ่ง เนี่องด้วยไม่รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ซึ่งหากปล่อยไว้นานๆในที่สุดเส้นเลือดในสมองจะแตกแล้วเลือดก็จะไหลไม่หยุดส่งผลให้ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ปกติทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงในที่สุด หลังจากการที่เส้นเลือดในสมองนั้นแตกผู้ประสบมีโอกาสสูงที่จะเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตแบบฉับพลันซึ่งถือว่าเป็นอาการที่เกิดหลังเกิดโรค และพบได้บ่อยมาก ๆ ในผู้สูงอายุ"
- สาเหตุโรคเส้นเลือดในสมองโป่งพอง
-เกิดจากหนังหลอดเลือดแดงที่ค่อยๆพองตัว/โป่งคนบ้านกับกสีสูบลมโป่ง จนมาขนาดให้และแตกไปในที่สุด มักเกิดได้ในผู้สูงอายุทั้งสิ้น
-อาจพบว่าผู้ป่วยมีควาผิดปกติของหลอดเลือดในสมองมาตั้งแต่เกิด ซึ่งหลอดเลือดที่ปกตินั้นจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นตามการเจริญเติบโต
-การรักษา
ไม่ว่าอาการจะมากหรือน้อยความผิดปกติควรที่จะรีบพบแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยโรในเบื้องต้น ซฝซึ่ฃแพทย์ก็จะใช้วิธีการตรวจซีทีสแกน แต่ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุแพทย์จะฉีบสารทึบแสงในสายสวนเส้นเลือดแดง ที่จะสอดเข้าไปก้านหน้าต้นขา และเอกซเรย์บริเวณศีรษะ ซึ่งจะทำให้เห็นเลยเสเนเลือดในสมองโป่งพอง ซึ่งแพทย์ก็จะทำการวินิจฉัยขั้นตอนการรักษา หากว่าผู้ป่วยมีอาการเส้นเลือดใดในสมองมาก แพทย์จะวางแผนในการรักษาต่อไป
วิธีทีที่ป้องกันอาหาร เส้นเลือดในสมองโป่งพอง
1). ความเครียดหรือความคิดจะส่งผลให้เกิดการเกร็งไปเพิ่มความกดดันให้กับส้นเลือดมากขึ้น
2).งดการอยู่ท่ามกลางแหล่งมลพิษทางอากาศ
3).คุมน้ำหนักหรือห้ามอ้วนจนเกินไป
4).ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้การทำงานของหลอดเลือดในสมองเป็นไปตามปกติ
5).หากรู้ว่าตัวเองมีภาวะเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมองไม่ว่าจะระยะไหนจะตีบ หรือโป่งพอง ควรพบแพทย์โดยด่วน เพราะการยิ่งทิ้งไว้ สะสมไว้โอกาสของการได้รับอาการบาดเจ็บอาจจะมีสูงมากขึ้น
6).หลังผ่าตัดแล้ว คอยที่จะทำกายภาพบำบัดอยู่บ่อย ๆ เพื่อให้การทำงานของเส้นเลือดกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เส้นเลือดโป่งซ้ำอีก
7).ผู้ที่มีโรคประจำตัว ความดัน เบาหวาน เป็นกลุ่มที่เสี่ยงสูงที่จะเกิดเส้นเลือดในสมองโป่งพองได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงวัย ดังนั้นบุตรหลานควรที่จะพาไปพบแพทย์เพื่อทำหารตรวจเช็กสมองอย่างน้อย 6เดือน 1/ครั้งหรือ1ปี/1ครั้งก็ได้
Reference
- Kamal N, Holodinsky JK, Stephenson C, Kashayp D, Demchuk AM, Hill MD. Improving Door-to-Needle Times for Acute Ischemic Stroke: Effect of Rapid Patient Registration, Moving Directly to Computed Tomography, and Giving Alteplase at the Computed Tomography Scanner. Circ Cardiovasc Qual Outcomes [Internet]. 2017 [cited 2019 July 18]; 10(1). Available from: https://www.ahajournals.org/doi/10.1161/CIRCOUTCOMES.116.003242
- Smith RW, Scott PA, Grant RJ, Chudnofsky CR, Frederiksen SM. Emergency Physician Treatment of Acute Stroke with Recombinant Tissue Plasminogen Activator: A Retrospective Analysis. Acad Emerg Med. 1999; 6(6): 618-25.
- Cerebral aneurysm. American Association of Neurological Surgeons. http://www.aans.org/en/Patients/Neurosurgical-Conditions-and-Treatments/Cerebral-Aneurysm. Accessed April 11, 2017.
- Daroff RB, et al. Intracranial Aneurysms and Subarachnoid Hemorrhage. In: Bradley’s Neurology in Clinical Practice. 7th ed. Philadelphia, Pa.: Elsevier; 2016. https://www.clinicalkey.com. Accessed April 11, 2017.
อ้างอิงจาก: pixabay