หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ทำความรู้จัก ประเพณีการแต่งงานของประเทศ "ญี่ปุ่น"

เนื้อหาโดย Benri

 

"การแต่งงาน" ของญี่ปุ่นนั้นมีมาตั้งแต่โบราณ ซึ่งที่มาของการจัดงานแต่งงานที่ญี่ปุ่นมาจากตำนานที่มีเทพพระเจ้า 2องค์พบกันและตกหลุมรัก ตำนานนี้ทำให้คนญี่ปุ่นนั้นมีการประกอบพิธีที่จะเป็นสามีและภรรยาซึ่งก็คือการแต่งงาน เพื่อเป็นการแสดงความนับถือต่อเทพพระเจ้า คำว่า "แต่งงาน" ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 結婚 คำว่า หมายถึง ผูกมัดรวมกัน เชื่อมต่อกันและคำว่า หมายถึง การไปเป็นลูกเขยหรือลูกสะใภ้ เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงหมายถึง "การแต่งงาน" นอกจากนี้เมื่อเติมคำว่า 式  ซึ่งหมายถึง พิธี ต่อท้ายคำว่าแต่งงานเป็น 結婚式 ก็จะหมายถึง พิธีแต่งงาน

 

 

"การแต่งงาน" ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ นับพันปี แต่เดิมจากที่เป็นการเคารพเทพเจ้าเพียงอย่างเดียว ในสมัยเฮอัน ชนชั้นสูงเริ่มต้นกฎเกณฑ์ข้อบังคับต่างๆเกี่ยวกับการแต่งงานขึ้นมา วัตถุประสงค์ของการแต่งงานก็เริ่มเปลี่ยนไปเช่นเดียวกัน ในกลุ่มคนชั้นสูงวัตถุประสงค์ของการแต่งงานคือการผลิตเด็กที่จะสืบทอดตำแหน่ง การแต่งงานของคู่บ่าวสาวมักจะขั้นอยู่กับการตกลงกันของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่ความรักเพียงอย่างเดียวเหมือนแต่ก่อน

 

ใน "สมัยเอโดะ" วัตถุประสงค์ของการแต่งงานคือการสร้างพันธมิตรระหว่างครอบครัวเพื่อดูแลครอบครัวของของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนชั้นต่ำ การเพิ่มสมาชิกใหม่ในครอบครัว เปรียบเสมือนการแรงงานของคนในครอบครัว ต่อมามีการนำหลักคำสอนเรื่องลูกกตัญญูของขงจื่อเข้ามามีส่วนในการใช้ชีวิตในครอบครัวมากขึ้น คู่สมรสที่แต่งงานจึงจำเป็นจะต้องมีบุตรชายเพื่อสืบทอดวงศ์ตระกูล บ้านไหนที่ไม่สามารถมีลูกได้ หรือมีแต่ลูกสาว ก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายการรับบุตรบุญธรรมในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ การแต่งงานระหว่างคนญี่ปุ่นกับชาวต่างชาติ ไม่ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจนถึงวันที่ 14 มีนาคม ปี 1873 หรือรู้จักกันในชื่อ "วันสีขาว"

 

 

หลังจากที่ประเทศญี่ปุ่นลงนามยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังพันธมิตรได้จัดตั้งมาตรา 24 ของรัฐธรรมนูญ ในปี 1947 ให้การแต่งงานอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค  สามีและภรรยามีสิทธิเท่าเทียมกัน การจัดพิธีการแต่งงาน ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของคู่บ่าวสาว ไม่ใช่โดยผู้ใหญ่ หรือ ผู้ปกครองเหมือนในอดีต และยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนรูปแบบการจัดพิธีการแต่งงานนั้น ก็ถูกปรับเปลี่ยนไปตามการเวลาเช่นเดียวกัน

 

 

พิธีกรรมในการจัดงานก็มีหลายรูปแบบ ทั้ง "แบบชินโต" และ "แบบเข้าโบสถ์" ลักษณะพิเศษอีกอย่างของการจัดงานแต่งงานที่ประเทศญี่ปุ่นก็คือ สามารถเลือกได้ว่าอยากจัดแบบไหนโดยไม่ต้องคำนึงถึงศาสนา

การแต่งงานแบบชินโต ได้รับอิทธิพลจากศาสนาชินโต ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่ศาลเจ้า นอกจากนี้ยังมีโรงแรมที่มีห้องโถงงานแบบชินโตไว้สำหรับจัดงานแต่งงานอีกด้วย ในงานแต่งงานแบบคริสต์ เป็นงานที่เลียนแบบงานแต่งงานของชาวคริสต์จะจัดขึ้นในอาคารแนวคริสตจักรที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อสำหรับงานแต่งงาน นอจากนี้ยังมีการแต่งงานแบบต่อหน้าเครือญาติ คือ ​​แทนที่จะสาบานที่จะแต่งงานกับเทพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็เป็นการสาบานแต่งงานต่อหน้าพ่อแม่ ผู้ปกครอง และญาติมิตร เพื่อนฝูง แต่ไม่ได้เป็นที่นิยมมากนัก

 

 

แรกเริ่มของการจัดงานแต่งงานแบบชินโตเริ่มต้นขึ้นในปี 1872 แต่ไม่มีรายงานการจดบันทึกไว้จนถึงปี 1880 งานแต่งงานเหล่านี้ถูกจำกัด ในครอบครัวของพระสงฆ์ชินโตเท่านั้น เพื่อปกป้องเจ้าสาวจากปีศาจ แต่ในช่วงหลักเริ่มมีการจัดงานแต่งงานแบบชินโตกับคนที่ไม่ได้นับถือชินโต โดยเริ่มเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยความนิยมในการแต่งงานแบบชินโตเกิดขึ้นหลังจากการแต่งงานของมกุฎราชกุมาร โยชิฮิโตะ กับ เจ้าหญิง คุโจ ซาดาโกะ

 

 

การแต่งงานแบบนิกายชินโต ที่คู่บ่าวสาวจะต้องสวมชุดแต่งงานแบบดั้งเดิมของศาลเจ้าชินโต เจ้าสาวมักจะสวมเป็นชุดกิโมโนสีขาว ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 白無垢 ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คนญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับสี ในแต่ละครอบครัวก็จะมีสี รูปแบบ สไตล์ หรือ ขนบธรรมเนียม ที่แตกต่างกันไป การที่เจ้าสาวแต่งสีขาวทั้งหมดนั้น ก็เพื่อจะสื่อความหมายที่ว่า เจ้าสาวคนนั้นพร้อมจะย้อมตัวเองให้เป็นสีเดียวกันกับสีของครอบครัวเจ้าบ่าว ทรงผม จะต้องเกล้าผมขึ้น จะมีวิกผม ซึ่งหนักประมาณประมาณ 2-3 ก.ก. มาครอบ และ คลุมด้วยผ้าขาวอีกที รองเท้าจะสวมรองเท้าเกี๊ยะ เจ้าบ่าวจะสวมชุดแต่งงานที่ทางศาลเจ้าเตรียมไว้ให้ โดยที่แขนทั้งสองด้านจะมีสัญลักษณ์ หรือ ตราประจำตระกูล ของครอบครัวนั้น ๆ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ของศาลเจ้าจะสอบถามเราก่อนล่วงหน้าและ เอาไปสกรีนลงบนเสื้อของเจ้าบ่าว

 

 

เมื่อถึง "วันแต่งงาน" คู่บ่าวสาวจะต้องชำระล้างร่างกายให้บริสุทธิ์ (Harai) ด้วยน้ำมิโซกิ (Misogi) โดยมีคนกลางเป็นผู้ทำพิธีให้ จากนั้นคู่บ่าวสาวจะต้องจิบสาเกจากถ้วย 3 ใบ ใบละ 3 ครั้ง รวมเป็น 9 ครั้ง และหลังจากจิบสาเกครบ 9 ครั้งแล้ว ทั้งคู่จะต้องวางถ้วยลงบนโต๊ะพร้อมกัน ห้ามไม่ให้มีใครวางถ้วยแตะโต๊ะก่อน เพื่อเป็นเคล็ดให้คู่เคียงคู่กันตลอดไป ไม่มีใครเสียชีวิตจากไปก่อน นอกจากนี้ คู่บ่าวสาวยังต้องเขียนวาทะสัญญามอบให้แก่กัน เพื่อเป็นคำมั่นให้กับคู่ชีวิตว่าจะรักและซื่อสัตย์ต่อกันจนวันตาย โดยมีพ่อแม่และญาติพี่น้องร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งใบวาทะสัญญานี้ไม่ใช่การจดทะเบียนสมรส เป็นเพียงแค่เครื่องเตือนใจแก่กันเท่านั้น จากนั้นก็สามารถเปลี่ยนชุดเป็นชุดกิโมโนและสูทแบบสากลเพื่อร่วมงานเลี้ยงฉลองกับเพื่อนฝูงและครอบครัวได้

 

 

พิธีแบบชินโต ต้องมีการซ้อมพิธีอยู่หลายครั้ง โดยเน้นการจัดงานแบบใหญ่โตและใช้งบประมาณสูง เพื่อให้เป็นเกียรติแก่คู่บ่าวสาวและครอบครัวนอกจากการแต่งงานแบบชินโตดั้งเดิมแล้ว การแต่งงานแบบญี่ปุ่นอีกแบบที่นิยมแต่งงานกันก็คือ การแต่งงานแบบคริสต์ นั่นคือการสวมแหวนหมั้นและเข้าทำพิธีแต่งงานในโบสถ์แบบชาวตะวันตก ในพิธีกรรมแบบคริสต์นั้น จะมีขั้นตอนและวิธีการแตกต่างจากแบบชินโต มีการส่งตัวเจ้าสาว คือ เจ้าสาวจะควงแขนคุณพ่อของเธอ และค่อย ๆ เดินไปตามพรมในโบสถ์เพื่อไปหาเจ้าบ่าว และกล่าวคำสาบานร่วมกันต่อหน้าแขกที่มาร่วมงาน

 

 

ซึ่งชาวญี่ปุ่นหลายคนที่ไม่ได้นับถือคริสต์ก็นิยมทำพิธีแต่งงานแบบนี้ เนื่องจากความสะดวกและใช้งบประมาณน้อยกว่า ช่วงเวลาแต่งงานที่นิยมของญี่ปุ่นก็คือ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ (เดือนเมษายน - มิถุนายน) และฤดูใบไม้ร่วง (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน) เพราะไม่ร้อนและไม่หนาวจนเกินไป ส่วนมากก็จะจัดงานกันในวันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดราชการ นอกจากนี้ก็ยังมี 友引 วันดึงมิตรสหาย เป็นวันที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการจัดงานทั้งงานมงคลต่างๆ เพราะเป็นการแบ่งปันความสุขไปยังญาติสนิทมิตรสหาย ที่เหมาะในการจัดงาน หรืออาจจะดูวันจากปฏิทินที่ระบุวันมงคล 大安カレンダ ประกอบการตัดสินใจ ด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงดังกล่าวค่าใช้จ่ายในการจัดงานก็จะสูงขึ้นมาก อีกทั้งบางสถานที่ ๆ มีคนนิยมไปจัดมาก ๆ ก็อาจจะมีการต่อคิวจัดงานกันกว่า 10 งานต่อ 1 วัน

 

 

การแต่งงานของญี่ปุ่นทำให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศเทศที่คำนึงถึงเสรีภาพ และสิทธิส่วนบุคคล แต่เดิมที่มีแต่การ แต่งแบบชินโต ที่ใช้งบประมาณสูง ก็มีการแต่งงาน แบบคริสเตียน เพิ่มเข้ามา แสดงให้เห็นถึงความเปิดกว้างทางศาสนาของประเทศญี่ปุ่นได้อย่างชัดเจน

 

..........

เนื้อหาโดย: Benri
ขอบคุณภาพประกอบจาก
akagi-wedding,blogspot,gifu-gokoku
goodlucktripjapan,kamadojinja
okunijinja,studio-feel
umie,watayawedding,how-to-inc
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Benri's profile


โพสท์โดย: Benri
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
35 VOTES (5/5 จาก 7 คน)
VOTED: Suvit, Crush Crush, ความรักนับห้า, อันนาอารยา, thecalmgirl, focus44, EARTH BARAMEETAS
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อีกหนึ่งวิธีการนำ ปลาหมอคางดำ มาใช้ประโยชน์ ก็คือการนำมาทำเป็น น้ำหมักชีวภาพ นั่นเอง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อุทยานพระพิฆเนศร้าง จ.ชลบุรี : ความศรัทธาท่ามกลางซากปรักหักพัง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
คันฝ่ามือบอกอะไร? มีโชคลาภจริงหรือคนมีผมขาวหรือผมหงอกได้เฮ เพราะผลการวิจัยล่าสุด มีความหวังให้ผมกลับมามีสีปกติเหมือนก่อนหน้านั้น ได้อีกครั้งเบาหวานอย่าเบาใจ เสี่ยงหัวใจวาย! อันตรายถึงชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 3 เท่าCanva อัปเดต 4 feature ใหม่!
ตั้งกระทู้ใหม่