นมยูเอชที นมสเตอลิไลส์ และ พาสเจอร์ไรส์ ต่างกันอย่างไร
ทุกคนคงเคยเดินห้างซื้อของกันอยู่บ่อย ๆ ใครที่ชอบดื่มนม เวลาเข้าห้างแต่ละครั้งนี่คือสิ่งที่ลืมไม่ได้เลย โซนนมที่มีหลากหลายยี่ห้อให้เราเลือกสรร แล้วสงสัยกันมั้ยคะว่าทำไมนมบางชนิดไม่ต้องแช่เย็น ในขณะที่บางชนิดต้องแช่เย็นตลอด วันนี้มีคำตอบค่ะ
การที่นมบางชนิดจะต้องแช่ตลอด ในขณะที่นมบางชนิดไม่ต้องแช่เย็นก็ได้ เพราะกระบวนการผลิตนม เเละการให้ความร้อนกับนมมันต่างกันค่ะ ซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของนมตามกระบวนการให้ความร้อนได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. นม U.H.T (Ultra High Temperature)
คือนมที่ผ่านการให้ความร้อนสูงมาก ๆ ในเวลาสั้น ๆ โดยใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 130-150 °C เป็นระยะเวลาเพียง 3-4 วินาทีเท่านั้น (กระพริบตายังนานกว่างะเอาจริง ๆ) สาเหตุที่ต้องใช้เวลาสั้นที่สุด ก็เพื่อคงเเร่ธาตุเเละวิตามินต่าง ๆ ในนมไว้ให้ได้มากที่สุด เพราะถ้าใช้ความร้อนสูง เเน่นอนว่าวิตามินสู่ขิตไปส่วนนึงเเล้วนะ เลยต้องใช้เวลาสั้นที่สุด เเละต้องสามารถทำลายเชื้อก่อโรคและเชื้อที่ทำให้อาหารเสียได้อย่างหมดเกลี้ยง เเบบไม่ได้ฝุดได้เกิด (เอ้อ!! เค้าคิดมาเเล้ว) นมยูเอชทีสามารถเก็บได้นาน 6-7 เดือนโดยไม่ต้องแช่เย็น
นอกจากนี้ ตัวกล่องนมก็มีส่วนอย่างมากในการยืดอายุการเก็บของนมยูเอชที ที่เราเห็นกล่องนมบาง ๆ เเบบนั้น เเต่ที่จริงเเล้วมันมีทั้งหมด 6 ชั้นประกบกันเลยนะ โดยวัสดุจะทำจากกระดาษ 75% โพลีเอททีลีน 20% และอลูมิเนียมฟอยล์ 5% นอกจากจะป้องกันเชื้อโรคเเล้ว ยังช่วยกันแสงสว่าง กลิ่นจากภายนอกเเละความชื้นอีกด้วย
2. นมสเตอริไลซ์
เช่น นมหมีกระป๋อง (ส่วนตัวแอดชอบนมหมีมาก) นมชนิดนี้จะให้ความร้อนประมาณ 118 °C เป็นเวลา 12 นาที เนื่องจากให้ความร้อนสูงและนานพอสมควร จึงทำให้สูญเสียแร่ธาตุและวิตามินบางชนิดไป อย่างเช่น วิตามิน B1 B6 B9 และ B12 นมประเภทนี้เมื่อเก็บไประยะนึง นมอาจจะมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังรับประทานได้ นมสเตอริไลซ์สามารถเก็บได้นานถึง 12 เดือนเลยนะ
3. นมพาพาสเจอร์ไรซ์
เรามักจะเห็นนมชนิดในตู้เย็นช่องตามห้าง หรือตามร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ สาเหตุที่ต้องแช่เย็นไว้ตลอด เนื่องจากนมชนิดนี้ผ่านการให้ความร้อนที่ระดับต่ำ 72 °C 15 วินาที ซึ่งเป็นความร้อนที่สามารถทำลายเชื้อก่อโรคได้ แต่เอนไซม์บางชนิดหรือจุลินทรย์บางชนิดยังไม่ได้ถูกทำลาย การเก็บที่อุณหภูมิเย็นจึงเป็นการป้องกันไม่ให้เอนไซม์หรือจุลินทรีย์บางชนิดที่ทำให้อาหารเสียทำงานได้นั่นเอง นมพาสเจอร์ไรซ์จึงมีอายุการเก็บน้อยที่สุดประมาณ 7-10 วันเท่านั้น และต้องเก็บไว้ในตู้เย็นเท่านั้น