ทำไมพายุต้องมีชื่อ?
สงสัยเหมือนกันนะคะว่าทำไมต้องตั้งชื่อพายุ ทำไมพายุต้องมีชื่อ ทำไมไม่เรียกแค่พายุ แล้วชื่อที่ตั้งใครเป็นคนตั้ง มีหลักเกฑณ์ในการตั้งชื่อตามหลักสากลมั้ย บางลูกเป็นชื่อไทย บางลูกเป็นชื่อฝรั่ง ชื่อเกาหลี จีน ญี่ปุ่นก็มี สงสัยไปหมด วันนี้มีคำตอบค่ะ
การตั้งชื่อพายุ ไม่ได้ตั้งเพื่อให้มีชื่อเรียกเก๋ ๆ เรียกไปงั้นๆ นะคะ แต่ตั้งเพื่อจะให้ผู้เชี่ยวชาญ และประชาชนสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของพายุลูกนั้น ๆ ได้ง่าย เพราะพายุที่เกิดในโลกเรา มันไม่ได้มีลูกเดียวและหายไป หรือต่อแถวกันเกิดทีละลูก โน่ๆๆๆ บางครั้งมันเกิดทีเดียวพร้อมกันก็มีเยอะแยะ และพบบ่อยมาก ซึ่งอาจจะมีความเร็วลมต่างกัน แต่ละลูกมีความรุนแรงต่างกัน และกินเวลาไม่เท่ากันด้วย การตั้งชื่อจะทำให้ง่ายต่อการจดจำและติดตาม ผู้เชี่ยวชาญจะได้กล่าวอ้างถึงได้ถูกและเสนอข่าวที่ถูกต้องแก่ประชาชนนั่นเอง ก็เหมือนคนนั้นแหละค่ะ เราอยู่ในสังคมมนุษย์โลกที่มีเป็นล้าน ๆ คน ก็ต้องมีชื่อ จะได้ชี้เฉพาะเจาะจงไปเลย
ว่ากันว่าพายุสมัยก่อน ถูกตั้งตามชื่อโดยทหารอเมริกา และมักจะใช้ชื่อนักการเมือง หรือชื่อผู้หญิงมาตั้งเป็นชื่อพายุ ต่อมาหลักการตั้งชื่อได้พัฒนามาเรื่อย ๆ โดยมีการตั้งชื่อตามลำดับตัวอักษรเรียงไปเรื่อย ๆ และส่วนใหญ่ก็จะเป็นชื่อคนทั้งชื่อผู้ชายและผู้หญิง
ปัจจุบันองค์กรที่มีหน้าที่ตั้งชื่อพายุคือ ผู้ที่องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก หรือที่เรียกว่า World meteorological organization (WMO) เมื่อมีพายุเกิดขึ้น ชื่อจะถูกเสนอโดยสถาบันที่กำกับดูแลในแต่ละภูมิภาคก่อน ซึ่งจะถูกแบ่งหน้าที่ไปตามแต่ละเขตการรับผิดชอบ และจะถูกอนุมัติในการประชุมประจำปี
ส่วนระบบการตั้งชื่อในแถบบ้านเรา จะใช้วิธีตั้งชื่อแบบวนประเทศ ซึ่งใช้วิธีนี้มาตั้งแต่ปี 2000 แล้ว และไม่ใช่ว่าพายุทุกลูกจะมีชื่อนะคะ มันจะดูเยอะเกินไป การจะได้ชื่อมาได้นั้นจะต้องดูความเร็วลมด้วย กล่าวคือ คุณต้องเป็นพายุโซนร้อนเท่านั้น คือความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ 34 นอต ถึงจะได้ชื่อไปครอง และเกณฑ์การตั้งชื่อก็แบ่งไปตามแต่ละที่ภูมิภาครับผิดชอบ โดยมีกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น เป็นองค์กรผู้รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในแถบนี้
ในส่วนของประเทศไทย ตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบน และทะเลจีนใต้ ร่วมกับสมาชิกประเทศอื่นๆ ได้แก่กัมพูชา, จีน, เกาหลีเหนือ-ใต้, ฮ่องกง, ญี่ปุ่น, ลาว, มาเก๊า, มาเลเซีย ไมโครนีเซีย (รัฐอิสระอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือหมู่เกาะอินโดนีเซีย) ฟิลิปปินส์, สหรัฐฯ และเวียดนาม
ชื่อพายุจะแบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ แต่ละชื่อจะเรียงตามชื่อประเทศเป็นภาษาอังกฤษ เริ่มจากกัมพูชา เรื่อยไปจนถึงเวียดนามเป็นอันดับสุดท้าย โดยพี่ไทยเราอยู่อันดับที่ 12 เมื่อใช้หมด 1 กลุ่มก็จะขึ้นชื่อแรกในกลุ่มที่ 2 เรียงกันเรื่อยไปจนครบทุกกลุ่ม แล้วจึงกลับมาใช้ชื่อแรกของกลุ่มที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
ด้วยเหตุนี้ ทางกรมอุตุนิยมวิทยาจึงได้ตั้ง คณะกรรมการพิจารณารายชื่อ และความหมายของชื่อขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนเสนอชื่อพายุใน ภาษาไทยที่ที่ประชุมของ ศูนย์เตือนภัยพายุไต้ฝุ่นร่วม หรือ เจทีดับบลิวซี (Joint Typhoon Warning Center (JTWC)) ซึ่งตั้งอยู่ที่เกาะกวม ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก โดยมีสมาชิกอีก 14 ประเทศในโซนเดียวกันมาร่วมประชุม จนได้ชื่อพายุของไทยตามลำดับได้แก่ พระพิรุณ, ทุเรียน, วิภา, รามสูร, เมขลา, มรกต, นิดา, ชบา, กุหลาบ และขนุน
หากชื่อที่เสนอไปก่อให้เกิดความเสียหาย หรือเป็นชื่ออัปมงคล หรือไปกระทบกับประเทศใด ๆ ก็สามารถขอยื่นถอนและเปลี่ยนรายชื่อได้
https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/26111-038667
https://today.line.me/th/v2/article/WZ2YBy