ไม่จบที่โลก!!! รัสเซียประกาศยุติความร่วมมือทางอวกาศกับชาติตะวันตกจนกว่าจะยกเลิกคว่ำบาตร
แม้ว่าสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ทุกฝ่ายพยายามจำกัดขอบเขตให้อยู่ในวงเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ เพื่อลดผลกระทบต่อความร่วมมือเพื่อพัฒนามวลมนุษยชาติอย่างการกีฬาและวิทยาศาสตร์ แต่ดูเหมือนรัสเซียจะหยิบยกอวกาศมาเป็นเครื่องมือต่อรองเพื่อเร่งให้ชาติจะวันตกยกเลิกการคว่ำบาตรให้เร็วที่สุด
ความก้าวหน้าทางอวกาศของรัสเซีย
ในอดีตตั้งแต่ยังมีสหภาพโซเวียต ชาวแดนหมีขาวมีความพยายามในการศึกษาอวกาศเป็นอย่างมาก โดยในปี 1929 คุณ Konstantin Tsiolkovsky ได้เสนอแนวคิดการแบ่งจรวดออกเป็นช่วงต่างๆ เพื่อใช้ขับดันจรวดออกนอกโลก (Multistage rocket) จนกลายเป็นรากฐานของจรวดแบบในปัจจุบัน ซึ่งทางอเมริกาก็เริ่มตื่นตัวกับการศึกษาอวกาศ ทำให้หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์และผู้มีความรู้ต่างๆ ได้ถูกโยกย้ายไปทำงานให้กับอเมริกา
ในช่วงศตวรรษที่ 50 เป็นต้นมา สหภาพโซเวียตและอเมริกาแข่งกันเป็นเจ้าอวกาศจนเกิดการแข่งขันอวกาศ (Space Race) ขึ้น ผลจากการแข่งขันดังกล่าวก่อให้เกิดคุณูประการต่อการศึกษาอวกาศอย่างมากมาย โดยผลงานเด่นๆ ของทางรัสเซียได้แก่การส่งกระสวยอวกาศ Sputnik 1 เพื่อขึ้นไปศึกษาอวกาศ ณ ระดับวงโคจร หรือการส่งสิ่งมีชิวิตขึ้นอวกาศและรอดกลับมาสู่พื้นโลกได้ โดยองค์ความรู้ต่างๆ ส่งผลให้เกิดนักบินอวกาศที่ได้เดินทางสู่อวกาศคนแรกของโลกอย่างคุณ Yuri Gagarin
นอกจากนี้ทางสหภาพโซเวียตและอเมริกาก็แลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้วยกัน ทั้ง 2 ประเทศได้สร้างโครงการความร่วมมืออวกาศนานาชาติขึ้นเป็นครั้งแรกคือโครงการ Apollo-Soyuz ซึ่งยาน Apollo และกระสวย Soyuz ได้เชื่อมต่อกันในปี 1975 ซึ่งการจับมือกันของนักบินอวกาศจาก 2 ประเทศแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือที่จะผลักดันมนุษยชาติให้ก้าวไกลยิ่งขึ้น และเป็นจุดสิ้นสุดแห่งยุคการแข่งขันอวกาศ กลายเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างสถานีอวกาศนานาชาติขึ้น
ความร่วมมือในอดีตสู่การต่อสู้ในปัจจุบัน
สถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station) เกิดจากความร่วมมือของนานาประเทศโดยมีตัวตั้งตัวตีคืออเมริกาและรัสเซีย และกลุ่มประเทศผู้นำทางด้านเทคโนโลยี เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป และแคนาดา โดยมีการวางแผนร่วมกันตั้งแต่ปี 1984 และเริ่มดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 1998 สถานีอวกาศนานาชาติเดิมมีเป้าหมายเพื่อเป็นจุดพักการเดินทางของนักบินอวกาศในการเดินทางไปดวงจันทร์ และเป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์เพื่อทำความเข้าใจเรื่องสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง ไปจนถึงการใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศอีกด้วย
อย่างไรก็ตามคุณ Dmitry Rogozin ผู้อำนวยการองค์การอวกาศของรัสเซีย (Roscosmos) ได้กล่าวทางสื่อ Social media ว่า การคว่ำบาตรนั้นคือการประหารเศรษฐกิจของรัสเซียและดึงให้ชาวรัสเซียจมดิ่งอยู่ในความสิ้นหวังและความหิวโหย เป็นความพยายามที่จะทำให้ประเทศรัสเซียต้องล้มลงไปคุกเข่า ถึงแม้มันจะไม่สำเร็จ แต่เจตนาร้ายนี้ชัดเจนนัก ทางคุณ Rogozin จึงจะตอบโต้นโยบายคว่ำบาตรของชาติตะวันตกโดยพวกเขาจะหยุดความร่วมมือของสถานีอวกาศนานาชาติทั้งหมด และทุกอย่างจะหวนคืนสู่สภาพปกติก็ต่อเมื่อชาติตะวันตกนั้นยกเลิกการคว่ำบาตรให้หมดอย่างไม่มีเงื่อนไข
ตามความเป็นจริงต้องบอกว่าการประกาศของคุณ Rogozin นับว่าเป็นการตอบโต้ทางชาติตะวันตกมากกว่า เพราะทางองค์การอวกาศแห่งยุโรป (European Space Agency) เพราะพวกเขาได้นำความร่วมมือทางอวกาศเข้ามาเป็นข้อต่อรองทางการเมืองเมื่อพวกเขาได้แถลงก่อนหน้านี้ว่าจะยุติการดำเนินการใดๆ กับ Roscosmos เรื่องโครงการ ExoMars rover เพื่อหาสิ่งมีชีวิตที่ดาวอังคาร
ท่ามกลางความขัดแย้งที่รุนแรง นักวิเคราะห์มองว่าทาง NASA เองก็น่าจะพยายามยื้อความสัมพันธ์ทางอวกาศกับรัสเซียให้ได้มากที่สุด เพราะโครงการต่างๆ ยังต้องพึ่งพาความร่วมมือกับ Roscosmos รวมไปถึงการเช่าใช้กระสวยอวกาศของรัสเซียในการส่งนักบินอวกาศไปกลับสถานีอวกาศด้วย แต่เรื่องนี้อาจไม่ได้กระทบมากขนาดนั้นเนื่องจากทาง SpaceX เริ่มให้บริการขนส่งดาวเทียมและการขนส่งนักบินอวกาศแล้ว
ทั้งนี้คงต้องกลับมาดูกันครับว่าการเมืองระหว่างประเทศจะส่งผลกระทบต่อการศึกษาอวกาศแค่ไหน ทั้งนี้อยากให้เรื่องของอวกาศอันเป็นหนึ่งในการพัฒนามนุษยชาติหลุดพ้นจากเรื่องการเมืองในทุกๆ ทางครับ ขอให้ทุกประเทศคำนึงถึงความร่วมมือเหนือความขัดแย้งครับ
https://www.nytimes.com/2022/04/02/world/europe/russia-space-station.html
https://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_space_program#:~:text=Over its 38-year history,Yuri%20Gagarin%20on%20Vostok%201).
https://www.wired.com/story/turmoil-over-ukraine-could-debilitate-russias-space-program/
https://www.businessinsider.com/russia-dmitry-rogozin-roscosmos-international-space-station-nasa-2022-4