8 สาเหตุทำให้นิ้วล็อก 4 วิธีคลายนิ้วล็อกแบบง่าย ๆ
โรคนิ้วล็อก เกิดจากการอักเสบของเยื่อเส้นเอ็นงอนิ้ว ตรงบริเวณฝ่ามือ ตรงตำแหน่งโคนนิ้วขยับได้ไม่ดี โคนนิ้วปวดบวมตึง ข้อต่อนิ้วเกิดติดขัดในขณะเหยียดหรืองอ จนถึงง้างไม่ออก งอนิ้วไม่ได้ หากไม่รีบรักษา อาการเหล่านี้จะตามมาคือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ปวดตามข้อ ทรมาน ข้อต่าง ๆ บิดเบี้ยว จับถือลำบากต้องผ่าตัด ข้อเสื่อมถึงขั้นพิการได้
โรคนิ้วล็อก เกิดได้ทุกเพศทุกวัย แต่โดยมากพบบ่อยในกลุ่มคนมีอายุ 40-60 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย สาเหตุเกิดโรคนี้เท่าที่สรุปได้มี 8 ประการคือ
1.ถือหรือแบกของหนักเป็นเวลานาน
2.ใช้อุปกรณ์ที่ต้องออกแรงกดต่อเนื่อง
3.ใช้โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์มากเกินไป
4.ปัดกวาดเช็ดถู ซักผ้า บิดผ้า ซึ่งต้องกำมือ เกร็งบ่อย ๆ
5.จับปากกา ดินสอเขียนนาน ๆ การใช้ปากกา ดินสอกดที่มีลักษณะแท่งเรียว ทำให้มือต้องเกร็งจับนานๆ
6.ใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ
7.การใช้ข้อมือ ที่มีการงอมือเป็นเวลานาน
8.การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้น และการสั่นกระแทก
เมื่อเกิดมีอาการนิ้วล็อกก็ไม่ควรเพิกเฉย เบื้องต้น ควรใช้วิธีคลายนิ้วล็อกแบบง่าย ๆ ทำเองได้ที่บ้าน มี 4 วิธี คือ
1.บริหารยกนิ้ว เริ่มจากวางมือลงบนโต๊ะ หรือพื้นที่เรียบ จากนั้นค่อย ๆ ยกนิ้วแต่ละนิ้วโป้งขึ้นอย่างช้า ๆ อย่าเกร็ง ทำค้างไว้ 2 วินาที และทำให้ครบทั้ง 10 นิ้ว
2.บริหารงอปลายนิ้ว เริ่มจากค่อย ๆ งอปลายนิ้วโป้ง และบริเวณข้อต่อกลางระหว่างนิ้วลง เมื่องอจนรู้สึกตึงแล้ว ให้ค้างไว้ 5 วินาที จากนั้นจึงคลายออก พร้อมสลับทำให้ครบทั้ง 10 นิ้ว จะช่วยบรรเทาความปวด และลดความฝืดของนิ้วได้ดีทีเดียว
3.นวดกดจุด เริ่มจากแบฝ่ามือข้างซ้ายพร้อมใช้นิ้วโป้งกดจุดบริเวณกึ่งกลางข้อมือ ต่อมาคลึงบริเวณอุ้งมือและกลางผ่ามือ จากนั้นใช้นิ้วโป้งคลึงบริเวณข้อต่อของนิ้วแต่ละนิ้ว สุดท้ายดัดนิ้วทั้ง 5 นิ้วไปด้านหลังอย่างช้า ๆ ให้ได้มากที่สุด ทุกท่าของการนวดกดจุด ควรทำค้างไว้ 10-15 วินาที ก่อนจะเปลี่ยนท่า และสลับข้าง
4.แช่น้ำอุ่น ทำสปามือด้วยการแช่น้ำอุ่นถึงข้อมือเป็นเวลา 15-20 นาทีต่อวัน จะช่วยบรรเทาอาการเส้นเอ็นตึง และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก ยิ่งถ้าได้เพิ่มสมุนไพรต่าง ๆ เช่น ขิง ขมิ้น ตะไคร้ ไพล มะกรูดด้วย ก็จะเพิ่มความผ่อนคลายได้มากยิ่งขึ้น
สำหรับผู้ที่มีอาการเบื้องต้น หรือระยะที่ 1 ถ้าทำตามทั้ง 4 ขั้นตอนดังกล่าวภายใน 2-3 สัปดาห์แล้ว อาการนิ้วล็อกยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงทีก่อนที่จะเป็นมาก