ความเศร้าซึมของคุณแม่หลังคลอด ภัยร้าย ที่ทำให้คุณแม่หลายคนเลือกจบชีวิต
พอดี เห็นคนในกระทู้นำเรื่องของ ประณัยยา อุลปาทร (Pranaiya) หรือคุณแป้ง มาเขียนถึง 2 - 3 คนครับ แต่ส่วนใหญ่จะเขียนแบบสั้น ๆ จึงอยากจะนำเรื่องนี้กลับมาเขียนอีกที เพราะเรื่องนี้ เป็นได้ทั้งเรื่องเศร้า และ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัว
คุณ ประณัยยา เป็นสาวไทย ที่เก่งมาก ๆ คนหนึ่ง จบเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ในเมืองไทย และ จบปริญญาโท จากมหาวิทาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ไม่ธรรมดาเลยจริง ๆ ชีวิตครอบครัวก็ดี เพราะได้สมรส กับคุณ Hamish Magoffin ชาวออสเตรเลีย
พวกเขาแต่งงานกันนานกว่า 10 ปีก่อนที่จะมีลูกชายอาเธอร์ด้วยกัน Arthur Magoffin
แต่ใครจะรู้ครับว่า ประณัยยา จะเป็นหนึ่งในคุณแม่ ที่เจอปัญหา ความเศร้าซึมของคุณแม่หลังคลอด (Postpartum Depression : PPD) ถึงแม้ว่าเธอจะพยายามต่อสู้กับโรคดังกล่าว แต่สุดท้าย เธอ ก็ได้เลือกที่จะจบชีวิตของเธอ และ ลูกน้อยวัย 5 เดือน ลงในวันที่ 2 กันยายน ปีที่ผ่านมา
ลุงเชื่อว่าเธอคงยังคงรู้สึกเศร้ากับสิ่งที่เธอได้ทำลงไป และ มันคงจะเป็นเรื่องดีที่เราจะเข้าว่า อาการ PPD เป็นอย่างไร และ เราจะช่วยเหลือคุณแม่หลังคลอดอย่างไรให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปให้ได้
สำหรับ Hamish ภรรยาของเขาเป็นคนจิตใจอ่อนโยน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แสนวิเศษกับชีวิตใหม่นี้ เป็นอะไรที่ยากเกินกว่าที่เขาจะรับได้
การที่เธอมีน้ำนมน้อย ทำให้ Arthur ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ และ เมื่อ ประณัยยา จะหลับตาลงนอน เธอก็จะถูกเสียงลูกน้อยปลุกขึ้นมาอีกครั้ง เพียงเพื่อจะขอน้ำนมจากอกแม่เพิ่มเติม
เรื่องการนอนเป็นปัญหาใหญ่ที่กระทุ้งเข้ามา ตั้งแต่ Arthur น้อยลืมตาดูโลกในช่วงเดือน มีนาคม 2564 ควบคู่ไปกับความท้าทายในการให้นมลูก และ คุณแม่คนใหม่ อย่าง ประณัยยา รู้สึกว่าเธอทำสิ่งนี้ได้ไม่ดีนัก และ เธอก็เริ่มเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง ที่ไม่สามารถผลิตนมได้มากเพียงพอต่อความต้องการของ Arthur
จนในที่สุด ประณัยยา และ Hamish ได้ตัดสินใจเปลี่ยนมาให้นมผงกับลูกแทน เพื่อลดความเครียด และ เพิ่มเวลาหลับนอนให้กับ ประณัยยา แต่มันก็ไม่ได้ช่วยอะไร ประณัยยา ได้มากนัก
เพราะ ประณัยยา ไม่สามารถหลับได้ อาจจะเป็นผลของอาการหลับยาก หรือ insomnia ที่เธอเป็นมากว่า 4 ปี และ ในทางกลับกัน ประณัยยา ก็สะสมความเครียดมากขึ้น ๆ ไปตามลำดับ ซึ่งมันทำให้คุณแม่วัย 37 ของเธอ ตัดสินใจจบชีวิตของเธอ และ ลูกน้อยลง ในวันที่ 1 กันยายน ไม่ถึง 6 เดือนหลังจากที่เธอให้กำเหนิด Arthur
แล้วคุณรู้ไหม PPD สามารถเกิดได้กับคุณแม่หลังตั้งครรภ์ทุกคน และ พบว่า มีอาการ PPD สูงถึง 1 ใน 10 ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ในช่วงปีแรก และที่มันแย่ไปกว่านั้น ก็คือเราไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าคุณเป็น PPD หรือเปล่า เพราะมันเกิดจากร่างกายของคุณ ที่ต้องต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทั้งในระหว่าง และ หลังการตั้งครรภ์
ประณัยยา เป็นคนที่เก่งมาก เธอเรียนจบจาก Oxford ทำงานในธนาคารชั้นนำ ก่อนที่จะออกมาช่วยกิจการของครอบครัว ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะเป็นเรื่องง่ายสำหรับเธอ แต่การเลี้ยงลูกมันเป็นหนังคนละม้วน การที่ต้องเลี้ยงเด็กตัวน้อย ๆ ในคอนโดเล็ก ๆ กลางเมืองกรุงเทพ ที่ไม่มีส่วน และ อากาศบริสุทธิ์ให้เธอ อาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ความเครียดสะสมมากขึ้น
โดยเฉพาะการมีความเครียด และ อาการ Insomnia ก็เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้อาการ PPD ของเธอหนักหนาสาหัสขึ้น
การที่ลูกหลับสนิท จะเพิ่มโอกาสให้คุณแม่ได้พักผ่อน ถ้าคุณลูกหลับได้ แต่คุณแม่หลับไม่ได้ อันนี้ คือสัญญาณเตือนของภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ซึ่งในช่วงเดือนท้าย ๆ ประณัยยา เริ่มที่จะบอกกับทุกคนว่าอยากจะหายไปจากโลกนี้ เพราะเธอเริ่มกังวลกับพัฒนาการของ Arthur และ เธอเริ่มโทษตัวเองว่าเป็นแม่ที่ไม่ดีพอ
ทาง Hamish ต้องการให้คนได้รับรู้ถึงภัยอันตรายของโรค PPD และ ได้สร้าง foundation ขึ้นมาชื่อ The Pranaiya and Arthur Magoffin Foundation (PAM Foundation) เพื่อที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้