เฉาก๊วย หรือ เฉ่าก้วย
หลายคนคงคุ้นเคย และได้ลองชิมกันบ้างแล้วเนอะ แต่เคยคิดไหมค่ะว่าเฉาก๊วยทำมาจากอะไร ทำไมทานแล้วชื่นใจ อร่อยจัง สีดำ ดำ หนึบหนับ ละมุนลิ้น เรามาดูกันดีกว่า ว่าเฉาก๊วยมาจากไหน
เฉาก๊วย ทำมาจากพืช ตระกูลเดียวกับใบสะระแหน่ เป็นอาหารที่มีความนิยมกันมากในประเทศจีน จนถึงแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำมาทำเป็นของหวาน เครื่องดื่ม ในประเทศไทยมีเฉาก๊วยขายทั่วไป หาซื้อทานกันได้ง่าย
ลักษณะของเฉาก๊วย
เป็นพืชล้มลุก คลุมดิน ต้นเล็ก คล้ายต้นสะระแหน่ แต่ใบจะใหญ่กว่า และเรียวแหลม ในธรรมชาติจะขึ้นแซมกับกอหญ้าตามเชิงเขา หรือตามลำห้วย มีลำต้นเป็นเถาแบบกึ่งเลื้อย ลำต้นมีขนาดเล็กเป็นเหลี่ยม เปราะบางหักง่าย ต้นอ่อนมีสีเขียว ต้นแก่มีสีน้ำตาล
ดอกเฉาก๊วย ออกดอกเป็นช่อ คล้ายดอกแมงลักหรือดอกโหระพา มีช่อยาว 5-10 ซม.
สรรพคุณเฉาก๊วย
1.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
2.ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
3.แก้ปวดท้อง มวนท้อง
4.บรรเทาอาการเบื่ออาหาร
5.ช่วยขับเสมหะ
6.บรรเทาอาการหวัด ลดไข้
7.เหมาะกับผู้ที่ต้องการคุมน้ำหนัก
8.แก้ร้อนใน ดับกระหายได้
9.ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ต้านทานการเจริญเติบโตของเนื้องอก
ข้อควรระวัง
1.ถ้าเราใส่น้ำเชื่อมในการกินเฉาก๊วยมากเกินไป จะทำให้รสชาดหวานเกิน จะไม่ดีต่อสุขภาพค่ะ
2.เฉาก๊วยที่มีการทำแปรรูป อาจมาสารปนเปื้อน เช่น สารบอแร็กซ์ มาผสมเพื่อเพิ่มความเหนียวหนึบ และยืดอายุ ถ้าเราทานมากเกินไป อาจส่งผลเสียแก่ร่างกายได้ เราควรเลือกซื้อที่ทำเฉาก๊วยแบบวันต่อวัน หรือทำในปริมาณที่พอขาย เราจะได้ทานเฉาก๊วยที่สดและใหม่
ไม่คาดคิดนะคะ
ว่าเฉาก๊วยที่เราทานกันประจำ จะทำมาจากพืช แถมยังมีประโยชน์มากด้วย.... วันนี้คุณทานเฉาก๊วย รึยังค่ะ