ทำไมคำว่าบ๊วย ถึงถูกใช้กับเรื่องที่ไม่ค่อยดี ?
ถ้าใครเคยวิ่งแข่งงานกีฬาสีตอนเด็ก ๆ แล้วได้ที่สุดท้าย คนมักจะพูดว่าได้ที่โหล่ หรือบางคนก็ใช้คำว่าบ๊วยแทนตำแหน่งนั้นไปเลย หรือถ้าใครอยู่วงการเล่นแชร์แล้วเป็นมือบ๊วย ก็แสดงว่าดวงไม่ดี ได้แต่ต้นไม่ได้ดอก หรือบางทีต้นหายไปอีกก็มี หรือถ้าเคยอยู่วงการคณิตคิดในใจ เวลาได้ไพ่เลขไม่ดี ก็ใช้คำว่าบ๊วยได้ (เคยเห็นเค้าเล่นกันนะ แอดไม่เคยเล่นเล๊ย 5555) แล้วทำไมถึงเอาคำว่าบ๊วยมาใช้กับสิ่งที่อับโชค สิ่งที่มาลำดับสุดท้าย วันนี้มีคำตอบค่ะ
อย่างที่เรารู้กันว่า บ๊วยคือผลไม้ มันคือพลัมชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยวมาก มักจะถูกนำไปแปรรูปเพื่อให้ทานง่ายขึ้น และสามารถเก็บไว้ได้นาน เช่น นำมาดอง หมักเป็นเหล้าบ๊วย ทำบ๊วยเค็ม หรือบ๊วยหวาน โดยในภาษาจีนกลางจะเรียกว่า เหม่ย (Měi) แต่ถ้าเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว บ๊วย (尾) ที่เราเรียกกันนั้นไม่ได้อ่านว่าบ๊วยนะคะ แต่จะเรียกว่าเว่ย (Wěi) ซึ่งแปลว่า ท้าย,หาง, อยู่ไกล แต่คนไทยออกเสียงผิดและเพี้ยนมาเป็นบ้วย (ลองพูดคำว่าเว่ยเเบบเร็ว ๆ สิคะ มันก็ออกเป็นบ้วยนะ 5555) และสุดท้ายก็เพี้ยนมาเป็นบ๊วย (ด้วยความที่พี่ไทยเรา มีวรรคยุกต์เยอะงะนะ ผันไปสิคะ อิอิ)
คนไทยหลายคนมักจะเรียกอะไรก็ตามที่มาเป็นอันดับสุดท้ายว่า "บ๊วย" และยังหมายรวมถึงความโชคไม่ดี โชคอับได้ด้วย แต่จริง ๆ แอดว่าไม่ได้เกี่ยวกันเท่าไหร่ค่ะ ครอบครัวคนจีนบางครอบครัวตั้งชื่อลูกคนสุดท้องว่าบ๊วยก็มีนะ ซึ่งในเชิงความหมายเค้าก็แปลตรงตัวเลยค่ะ บ๊วยแปลว่าคนสุดท้าย (ลูกคนสุดท้อง) ไม่ได้หมายความในเชิงลบนะ
ถ้าให้พูดกันตรง ๆ ความหมายนี้มันอยู่ที่คนตีความด้วยแหละ บางอย่างมันก็แค่ชื่อของสิ่ง ๆ นั้น แต่เพราะตีความและให้นิยามมัน บวกกับการใช้ต่อ ๆ กันมา มันก็เลยยิ่งเพิ่มความเชื่อเเละดูน่าเชื่อถือขึ้นเท่านั้นเอง แต่จริง ๆ ก็ไม่ได้มีอะไรเลย ไม่ได้มีเเค่บ๊วยเท่านั้นนะคะ ที่เราตีความและนิยามความหมายในเชิงลบ ผลไม้อื่นก็เป็น เช่น ระกำ แห้ว ท้อ ก็นิยามมันว่าชื่อไม่ดี ซึ่งมันก็เป็นแค่ชื่อผลไม้เท่านั้น