“ตะไคร้” มากด้วยสรรพคุณที่ใครๆ รู้แล้ว จะรักตะไคร้มากขึ้น
ตะไคร้ พืชสมุนไพร เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้า ใบมีลัษณะเรียวยาว ปลายใบมีหนาม เติบโตขึ้นเป็นกอ พบได้ทุกภาคในประเทศไทย มีชื่อต่างกันในแต่ละภาค ภาคเหนือเรียก ตะไคร้ ภาคอีสานเรียก หัวสิงไคร ภาคใต้เรียก ไคร ภาคกลางเรียก ตะไคร้
ตะไคร้ ประโยชน์ใช้เป็นทั้งเครื่องปรุงอาหาร และยารักษาโรค มีสรรพคุณมากมาย ดังนี้
1.ใช้เป็นเครืองปรุงอาหาร ตะไคร้มีเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ เป็นต้น ใช้ส่วนของเหง้า และลำต้นเป็นส่วนประกอบของอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้มยำ ต้มข่าไก่ ยำปลากระป๋อง ยำปลาทู ไก่ทอดเกลือตะไคร้กรอบ เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารสำหรับดับกลิ่นคาวเช่นเดียวกับ ขิง ข่า ใบมะกรูด ทำให้อาหารมีกลิ่นหอม มีรสชาติน่ารับประทานมากขึ้น
2.สามารถนำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้ น้ำตะไคร้ใบเตย ดื่มช่วยดับร้อน แก้กระหายได้เป็นอย่างดี
3.นำมาใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม และยังสามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยได้อีกด้วย
4.สรรพคุณทางยา เท่าที่ประมวลได้ที่สำคัญ คือ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่, บรรเทาอาการหวัด อาการไอ มีเสมหะ, ช่วยขับลม, แก้โรคทางเดินปัสสาวะ, ลดความดันโลหิต, ช่วยย่อยอาหาร, ขับประจำเดือน ขับระดูขาว, แก่เบื่ออาหาร ทำให้เจริญอาหาร, แก้ปัสสาวะเป็นเลือด แก้โรคหืด เป็นต้น
ข้อควรระวัง
1. ผู้ป่วยเป็นโรคไต ควรระวังเนื่องจากตะไคร้มีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ จึงไม่เหมาะที่จะดื่มน้ำตะไคร้ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมตะไคร้จำนวนมาก รวมไปถึงยาที่มีส่วนผสมหลักจากสารสะกัดตะไคร้
2.ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ตะไคร้ออกฤทธิ์ที่จะทำให้มดลูกบีบตัว ผู้หญิงกำลังตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานตะไคร้เป็นจำนวนมาก ทั้งหญิงที่ตั้งครรภ์อ่อน ๆ และใกล้คลอด
3.ผู้เป็นโรคภูมิแพ้ และ ผู้ป่วยที่มีผิวหนังอ่อนโยน ควรระวังหรือหลีกเลี่ยงการสูดดม และการใช้น้ำมันตะไคร้หอมไล่ยุง เพราะอาจจะมีอาการระคายเคืองที่ผิวหนัง หรือต่อดวงตาได้