“ขอให้ขาหัก” คำสาปแช่ง หรือคำอวยพรกันแน่?
“ขอให้ขาหัก” คำสาปแช่ง หรือคำอวยพรกันแน่?
เพื่อนๆ เคยได้ยินสำนวนนี้กันไหมคะ “Break a Leg” เป็นสำนวนภาษาอังกฤษยอดฮิตที่ได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยๆ โดยสำนวนนี้ถ้าแปลตรงตัวก็จะแปลว่า ขอให้ขาหัก (เฮ้ย งั้นแบบนี้ก็เท่ากับแช่งกันหน่ะสิ)
แต่ใจเย็นก่อนค่ะ เพราะความหมายจริงๆแล้วนั้น ตรงกันข้ามกันเลย เพราะแทนที่เราจะอวยพรกันด้วยคำว่า โชคดี แต่กลับพูดว่า ขอให้ขาหัก ซึ่งการที่พูดแบบนี้ก็เป็นการพูดเพื่อแก้เคล็ดค่ะ มีความเชื่อกันว่า ถ้าเราพูดในสิ่งที่ไม่ดี สิ่งร้ายๆนั้นจะไม่เกิด
การใช้สำนวนนี้จะได้ยินบ่อยมากบนเวทีการแสดง เมื่อนักแสดงก้าวขาขึ้นเวทีก็จะพูดขึ้นว่า ขอให้ขาหัก เมื่อพูดแล้วก็มีความเชื่อกันว่าจะนำพาซึ่งความโชคดี ความสำเร็จในการแสดง จัดเป็นเคล็ดเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้ประสบความสำเร็จในเวทีการแสดง
เรื่องเล่าเกี่ยวกับสำนวนนี้ก็คือ เมื่อปี ค.ศ.1865 ที่โรงละครฟอร์ดเธียเตอร์ เกิดเหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์น ของสหรัฐอเมริกา ภายหลังเสียงปืนดังขึ้นจากมือปืน จอห์น วิลเกส บูธ เขาได้กระโดดหนีขึ้นไปบนเวที แต่ก็สะดุดล้มลงขาหัก ก่อนที่จะถูกจับกุมตัวได้ในเวลาต่อมา เหตุร้ายนั้นเกิดขึ้นภายในโรงละครเวทีและมือปืนก็เป็นนักแสดงในคืนนั้นด้วย จากเหตุการณ์นั้นจึงทำให้ถูกมองว่านั่นคือลางร้าย และไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นอีก
ดังนั้นหากมีการพูดอวยพรว่า ขอให้ขาหัก ก็จะเป็นการแก้เคล็ดร้ายให้กลับไปเป็นดี
สำหรับผู้เขียนแล้ว ไม่เคยมีประสบการณ์ร่วมกับการพูดอวยพรแบบนี้ เพราะในสังคมที่ผู้เขียนอยู่ มักจะอวยพรกันว่า “ขอให้โชคดี ลัคกี้นะ” หรือจะเป็นการพูดในแบบรับพลังบวกเสียมากกว่า
แม้กระทั่งก่อนขึ้นแสดงละครเวที,ร้องเพลง,โชว์ต่างๆ ก็จะมีคำพูดอวยพรว่า ขอให้ผ่านไปได้ด้วยดี บางครั้งก็มีการพนมมือไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อนด้วย
สำหรับคุณผู้อ่านละคะ เคยได้ยินสำนวน “ขอให้ขาหัก” กันมาก่อนหรือเปล่า
ภาพจาก : โรงพยาบาลเปาโล