คราบที่ลอยอยู่บนน้ำชาแบบนี้ คืออะไรและมันอันตรายมั้ย ?
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นคราบแบบนี้ ลอยอยู่บนน้ำชาที่ตั้งไว้จนเย็น มีความเป็นฟิลม์อาจจะคิดว่าที่เป็นคราบไขมันรึเปล่า แล้วใบชามีไขมันด้วยเหรอ แล้วมันกินต่อได้มั้ย (กังวลๆ) คราบน้ำเกิดจากอะไร วันนี้วิทยาศาสตร์มีคำตอบให้ค่ะ
คราบที่ลอยหน้าน้ำชาเราเรียกว่า “” ค่ะ เป็นภาษาฝรั่งเศล เมื่อก่อนนักวิทยาศาสตร์คิดว่ามันคือคราบไขมันที่หลุดจากใบชา เพราะใบชามันจะมีแว๊กซ์เคลือบอยู่ (แว็กซ์จะทำให้ใบไม้แวว ๆ) พอเอามาต้มแล้วปล่อยให้เย็น ไขมันมันก็จะลอยขึ้นมา
แต่ในปี 1994 นักเคมีจากอิมพิเรียลคอลเลจ พบว่า scum ไม่ใช่คราบไขมัน แต่มันคือสารที่มีองค์กอบของหินปูน(Calcium carbonate) เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสารแทนนิน และสารพอลิฟินอลลิกอีกหลายชนิดรวมอยู่ ซึ่งหินปูนนั้นเกิดจากแคลเซียมไออนที่ละลายในน้ำชา (เป็นกรดอ่อน) สัมผัสกับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) ในอากาศ เกิดเป็นฟิลม์บางๆ
ข้อสงสัยก็คือ ทำไมชาที่เอาไปชงเป็นชามะนาวถึงไม่มี scum ทั้งที่มันก็เป็นชาที่เย็นแล้วเหมือนกัน คำตอบคือ ใบชาที่ต้มกับน้ำอ่อนหรือ soft water จะไม่มีแคลเซียมละลายอยู่ ส่วนชาที่เอาไปทำชะมะนาว กรดในชามะนาว สามารถละลาย scum ได้ดีจนไม่เกิดคราบนั่นเอง
แต่ไม่ต้องกัวลไปค่ะ ชาที่มี scum สามารถดื่มได้ตามปกตินะ ไม่ต้องกลัวเป็นนิ่วนะ เพราะร่างกายเปลี่ยนไปเป็นแคลเซียมธรรมดานี่แหละค่ะ ส่วนตัวที่ทำให้เราเป็นนิ่วมันคือแคลเซียมออกซาเลตต่างหาก ไม่ใช่หินปูนหรือแคลเซียมคาร์บอเนตนะคะ คราบ scum นี่แหละคือตัวที่ทำให้เกิดคราบชาที่แก้ว ปกติล้างกับน้ำเปล่าไม่ค่อยออก ต้องกลั้วกับน้ำส้มสายชูถึงจะดับสูญ