'รัฐประหาร 2557' อีกครั้งที่กองทัพเข้ามาแทรกแซงการเมือง
ไม่ว่าที่ไหนๆก็มีความขัดแย้งด้วยกันทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็นระดับของคนทั่วไป หรือใหญ่ถึงระดับผู้นำประเทศ
และทุกที่ต่างก็มีวิธีการแก้ไขปัญหาในแบบของตัวเอง
เช่นเดียวกับปัญหาทางการเมืองของประเทศไทย
ในช่วงปี 2554 ถึง 2557 ช่วงที่ 'ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร' เป็นนายกรัฐมนตรี
ช่วงดังกล่าวเกิดสภาวะตึงเครียดในทางการเมืองขึ้นมากมาย
กระจายไปในทุกพื้นที่ของประเทศ มีการจัดตั้งกลุ่มย่อย
การเดินขบวน การประท้วง และจัดเวทีอภิปรายในที่สาธารณะอยู่หลายจุด
และความตึงเครียดก็เดินทางมาถึงจุดสูงสุด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557
เมื่อมีการประกาศ 'กฎอัยการศึก' ตามคำสั่งของ 'พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา'
ผู้บัญชาการทหารบกในสมัยนั้น และตามมาด้วยการประกาศ 'รัฐประหาร'
ในวันที่ 22 พฤษภาคม และจัดตั้ง 'คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.'
ทันทีที่มีการประกาศยึดอำนาจจากรัฐบาลรักษาการ
และการเข้าควบคุมสื่อรวมถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ
ของคณะ คสช. ในวันนั้น บรรยากาศทางการเมืองของไทยก็เปลี่ยนไปอย่างฉับพลัน
ในช่วงนี้เองแม้จะมีหลายกลุ่มหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยและคิดจะต่อต้าน
แต่ไม่สามารถต้านทานอำนาจสั่งการของทางกองทัพได้ นักการเมือง
หรือแกนนำหลายคนจำเป็นต้องลี้ภัยออกนอกประเทสไปในช่วงเวลาดังกล่าว
การรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นี้
ถือเป็นการรัฐประหาร(ที่ทำได้สำเร็จ)ครั้งที่ 13 ของไทย
ทำให้ประเทศไทยได้รั้งตำแหน่งอันดับที่ 3 ของโลก
เป็นรองเพียงประเทศโบลิเวียและปารากวัย ที่มี 17 ครั้ง
และประเทศเฮติ ที่ทำรัฐประหารไปแล้ว 16 ครั้ง
ปัจจุบันมี 28 ประเทศ ที่ติดใน 10 อันดับแรก ประเทศที่ทำรัฐประหารมากที่สุด
ประเทศทั้งหมดนี้อยู่ในกลุ่ม 'ประเทศรายได้น้อย' หรือ 'กลุ่มประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด' ในโลก
เช่น ซีเรีย เฮติ อิรัก ซูดาน ไนจีเรีย เซียร์ราลีโอน ลาว เมียนมาร์ บุรุนดี อัฟกานิสถาน
บูร์กินาฟาโซ ยูกันดา หรือเอธิโอเปีย และล่าสุดไทยก็ได้รวมอยู่ในรายการนี้ด้วย
จะถือว่าน่าภูมิใจมั๊ยนะ?