'ปฏิทินไทย' ของที่ทำให้คนไทยมีทักษะพิเศษ
รู้หรือไม่ว่า โลกของเรามีระบบของ 'ปฏิทิน' ที่หลากหลายมาก
(ปฏิทินที่เราไว้ใช้ดูวันที่ธรรมดาๆนี่แหล่ะ)
มีตั้งแต่ปฏิทินโบราณจากอารยธรรมอียิปต์ ปฏิทินจากอินเดียโบราณ
ปฏิทินของชนเผ่ามายา หรือแม้แต่ปฏิทินแบบจันทรคติแบบที่ไทยใช้มาก่อน
ระบบปฏิทินของโลกหลากหลายด้วยรูปแบบ การกำหนดวันที่ เดือน ที่แตกต่างกัน
ซึ่งทำให้ความเข้าใจของคนจากต่างที่ซึ่งเติบโตมาในระบบปฏิทินเหล่านี้
มีความเข้าใจ มีวิธีคิด รวมถึงมีทักษะพิเศษบางอย่างที่ไม่เหมือนกันด้วย
เช่นเดียวกับประเทศไทยของเรา ที่ก็มีปฏิทินแบบของตัวเองเหมือนกัน
แต่เดิม ประเทศของเราใช้ปฏิทินแบบ 'จันทรคติ' ที่อ้างอิงจากการโคจรของดวงจันทร์
จนเปลี่ยนมาใช้แบบ 'สุริยคติ' ตั้งแต่ปี 2431 ในสมัยรัชกาลที่ 5
โดยมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขในรายละเอียดต่างๆอยู่บ่อยครั้ง
จนเป็นแบบที่เราใช้กันในปัจจุบัน ทั้งการตั้งชื่อวัน
การตั้งชื่อเดือน โดยอ้างอิงกับระบบดวงดาวจักรราศรี
และส่วนการตั้งชื่อ 'เดือน' ของภาษาไทยนี้เองที่ทำให้มีความพิเศษเฉพาะตัว
ผู้ที่ตั้งชื่อเดือนต่างๆในภาษาไทยแบบที่เราใช้กันตอนนี้
คือ 'กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ' ที่ใช้หลักการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
มาตั้งเป็นชื่อเดือนให้คล้องไปกับระบบสากล โดยใช้การสนธิคำ (การเอาคำ 2 คำมาชนรวมกัน)
เช่น 'มกราคม' มาจาก มกร+อาคม แปลว่าการมาถึงของราศีมกร (มังกร)
นอกจากนี้ ในคำท้ายที่แปลว่ามาถึง (อาคม-อายน) นั้น
ยังใช้เพื่อบอกให้รู้ว่าเป็นเดือนที่มีจำนวนวันเป็น 30 หรือ 31 วันด้วย
โดย อายน = เดือนที่มี 30 วัน และ อาคม = เดือนที่มี 31 วัน
หลักการตั้งชื่อเดือนแบบแยกจำนวนวันในปฏิทินไทยนั้น
ทำให้คนไทย(หรือคนที่ใช้ปฏิทินระบบนี้) สามารถแยกได้เลย
ว่าเดือนไหนมีจำนวนกี่วันโดยไม่ต้องนับคำนวนหรือเสียเวลาคิดอีก
ในขณะที่หลายประเทศที่ใช้ระบบนับเดือนเป็นตัวเลข
ก็จะไม่มีทักษะนี้ติดตัวเหมือนกันกับเรา
ฟังดูแปลกแต่ก็จริงนะ ชาวต่างชาติหลายคนน่าจะสงสัย
ว่าคนไทยจำได้เลยได้ยังไง ว่าเดือนไหนมีกี่วัน