สิ่งก่อสร้างสุดยิ่งใหญ่ที่ไม่รู้ว่าสร้างมาทำไม?
โบราณสถาน ยังถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกประเภทหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาโดยตลอด แหล่งโบราณสถานนอกจากจะให้ภาพบรรยากาศความสวยงาม ที่เต็มไปด้วยมนต์ขลังและความน่าทึ่งแล้ว เรื่องราวเบื้องหลังการสร้าง ก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดสำคัญที่คนให้ความสนใจไม่น้อยเลย เช่นเดียวกับอีกหนึ่งสถานที่โบราณอันมีชื่อเสียงโด่งดังมากในประเทศอังกฤษ ที่นอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว ยังโด่งดังเพราะปริศนาของตัวมันเองด้วย
ที่นี่คือ 'สโตนเฮนจ์ (Stonehenge)' สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) คือ อนุสรณ์สถาน สร้างขึ้นราวในยุคก่อนประวัติศาสตร์ กลางทุ่งราบขนาดใหญ่ในเมืองซอลส์บรี (Salisbury) ในบริเวณตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ตัวอนุสรณ์สถานประกอบด้วยแท่งหินขนาดยักษ์ 112 ก้อน ตั้งเรียงกันเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง และวางเรียงในลักษณะที่ต่างกัน ทั้งวางนอน วางพาดกัน และวางตั้งขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้คำนวณอายุของหินกลุ่มนี้ พบว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 3,000–2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยการก่อสร้างสโตนเฮนจ์ ใช้เวลาสร้างต่อเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะ ในช่วงเวลาประมาณ 1,500 ปี คำนวนจากการที่หินแต่ละก้อน แต่ละชั้นมีอายุไม่เท่ากัน มาจากต่างยุคกัน ตั้งแต่ยุคหินตอนปลายจนถึงยุคสำริดตอนต้น นักวิทยาศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่า ใครเป็นผู้สร้าง? สร้างเพื่ออะไร? สร้างได้อย่างไร? คนในสมัยก่อนสามารถยกแท่งหินที่มีน้ำหนักกว่า 30 ตัน ขึ้นไปวางเรียงกันได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่ปราศจากเครื่องทุ่นแรงอย่างที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน และบริเวณที่ราบดังกล่าวไม่มีก้อนหินขนาดมหึมานี้ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าผู้สร้างต้องทำการชักลากแท่งหินยักษ์ทั้งหมดมาจากที่อื่น ยกตัวอย่างที่มีคนพูดถึงกันมาก เช่น เพื่อเป็นวิหารซึ่งพวกลัทธิดรูอิดใช้ประกอบพิธีบูชาพระอาทิตย์และบูชายัญมนุษย์ เพื่อเป็นสถานที่รักษา เพื่อศึกษาด้านดาราศาสตร์ เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพ
สโตนเฮนจ์และบริเวณโดยรอบได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในปี ค.ศ. 1986 และยังถูกจัดให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง
ที่นี่ทั้งสวยงามน่าทึ่ง และน่าพิศวงมากไปพร้อมๆกันเลย