เมืองหลวงที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก(ร้อนที่สุดในโลก)
อากาศร้อน ถือเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งของมนุษย์
ที่ส่งผลกระทบต่อหลายสิ่งหลายอย่าง ทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน
กิจกรรมต่างๆ รวมถึงส่งผลต่อระดับความเครียดของมนุษย์อย่างเลี่ยงไม่ได้
หลายเมืองในโลกต้องเจอกับปัญหาความร้อนรุนแรงอย่างเลี่ยงไม่ได้
ทั้งจากทำเลที่ตั้ง สภาพภูมิอากาศ และจากอัตราการขยายตัวของเมือง
โดยเฉพาะเมืองขนาดใหญ่แบบเมืองหลวง ที่มักจะพบปัญหามากขึ้นเป็นพิเศษ
ว่าแต่ 'เมืองหลวง' ของประเทศอะไรบ้าง ที่ขึ้นชื่อที่สุดเรื่องอากาศร้อน?
เมืองหลวงที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก
กรุงคาร์ทูม ประเทศซูดาน อุณหภูมิเฉลี่ย 29.9 องศาเซลเซียส
คาร์ทูม (Khartoum) คือเมืองหลวงของรัฐคาร์ทูม ประเทศซูดาน
ตั้งอยู่ในบริเวณที่บรรจบกันของแม่น้ำไวต์ไนล์ที่ไหลมาจากทะเลสาบวิกตอเรีย
และแม่น้ำบลุไนล์ ที่ไหลมาจากประเทศเอธิโอเปีย ตัวเมืองมีประชากรประมาณ 5,274,321 คน
ถือเป็นเมืองหลวงที่มีอากาศร้อนที่สุดในโลก มีอากาศแห้งแล้งและมีฝนตกน้อยมาก
กรุงจิบูตี ประเทศจิบูตี อุณหภูมิเฉลี่ย 29.8 องศาเซลเซียส
นครจิบูตี (Djibouti) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดในสาธารณรับจิบูตี
ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในทวีปแอฟริกา ประชากรกว่าสองในสามของประเทศอาศัยอยู่ในเมืองนี้
มีการประเมินใน พ.ศ. 2552 ว่า จิบูตีมีประชากรอาศัยอยู่ 567,000 คน
เมืองนี้ถือเป็นเมืองที่มีอุณหภูมเฉลี่ยสุงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
กรุงนีอาเม ประเทศไนเจอร์ อุณหภูมิเฉลี่ย 29.3 องศาเซลเซียส
นีอาเม (Niamey) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไนเจอร์
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนเจอร์ โดยเมืองส่วนใหญ่ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครอง
วัฒนธรรม เศรษฐกิจ เป็นเมืองในเขตแห้งแล้งที่มีอุณหภูมิสูงตลอดทั้งปี
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย อุณหภูมิเฉลี่ย 28.6 องศาเซลเซียส
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่ในเขตร้อน มีภูมิอากาศร้อนแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw)
ตามเกณฑ์การแบ่งภูมิอากาศโลก คืออุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนที่มีอุณหภูมิต่ำสุดสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส
มีอย่างน้อย 1 เดือนที่ปริมาณน้ำฝนต่ำกว่า 60 มิลลิเมตร และเดือนที่มีฝนตกน้อยที่สุด
จะมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า 100 ลบปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี หารด้วย 25
กรุงเทพถือเป็นเมืองหลวงที่ร้อนที่สุดที่ไม่ได้อยู่ในเขตทะเลทราย