15 เรื่องคาเฟอีนส่งผลต่อร่างกายคนเรา
คาเฟอีนมีอยู่ในอาหารหลายชนิดที่นิยมในชีวิตประจำวัน เช่น กาแฟ ชา โคล่า เครื่องดื่มชูกำลัง ช็อกโกแลต เป็นต้น หรือแม้แต่ยาแก้ปวดบางชนิดก็มีคาเฟอีนผสมอยู่ด้วยเช่นกัน
สำหรับอาหารและเครื่องดื่มแต่ละชนิดจะมีปริมาณคาเฟอีนไม่เท่ากัน ซึ่งอาหารที่มีคาเฟอีนมากที่สุด คือ กาแฟ โดยกาแฟมีประมาณ 240 มิลลิลิตร จะมีคาเฟอีนอยู่ประมาณ 95-200 มิลลิกรัม
1.คาเฟอีน (caféine) พบมากที่สุดในพืชเมล็ดกาแฟ ซึ่งจัดเป็นพืชที่เป็นแหล่งของปริมาณกาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักสองอย่าง คือชนิดของเมล็ดกาแฟที่เป็นแหล่งผลิต และกรรมวิธีในการเตรียมกาแฟ
2. คาเฟอีน จัดเป็นสารอัลคาลอยด์กลุ่มหนึ่ง ที่พบได้ในธรรมชาติ จากเมล็ดกาแฟ ใบชา โกโก้ โคล่า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้กาเฟอีนเป็นสารกระตุ้นประสาทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก (สารอัลคาลอยด์ ในยาที่สามารถพบเห็นกันได้บ่อย ๆ อย่างเช่นใน ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาลดความดันโลหิต ยารักษาโรคเกาต์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น)
สารแซนทีนอัลคาลอยด์
3. เมล็ดกาแฟที่คั่วจนเป็นสีเข้มจะมีปริมาณกาเฟอีนน้อยกว่าเมล็ดที่คั่วไม่นาน เนื่องจากกาเฟอีนสามารถสลายตัวไปได้ระหว่างการคั่ว
4. กาแฟพันธุ์อาราบิกาจะมีปริมาณคาเฟอีนน้อยกว่ากาแฟพันธุ์โรบัสตา ซึ่งมีปริมาณคาเฟอีน เฉลี่ยประมาณ 1.5% โดยทั่วไปกาแฟเอสเปรสโซจากเมล็ดกาแฟพันธุ์อาราบิกาจะมีคาเฟอีนประมาณ 40 มิลลิกรัม
โดยที่ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟโรบัสต้า จะสูงกว่ามาก เฉลี่ยประมาณ 3% ต่อเมล็ด (ประมาณ 2-3 เท่า)
5. ตัวโครงสร้างของสารคาเฟอีน จะมีหน้าตาคล้ายกับสารสื่อประสาทที่ทำให้เราง่วงที่ชื่อว่า อะดีโนซีน (Adenosine ) เมื่อร่างกายได้รับคาเฟอีนไปจึงส่งผลให้ไปขัดขวาง อะดีโนซีน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เราง่วงนั้นไม่ทำงาน และสุดท้ายทำให้ รู้สึกไม่ง่วง
6. คาแฟอีนมันทำให้เราตื่นตัวได้อย่างไร ...ด้วยที่คาเฟอีนเป็นสารในกลุ่มแซนทีนแอลคาลอยด์ ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับอะดีโนซีน (Adenosine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่งในสมอง โดยที่หลังตื่นนอน สารเคมีในสมองอย่าง อะดีโนซีน จะเพิ่มปริมาณขึ้น และจะทำให้คนเรารู้สึกง่วงขึ้นเรื่อย ๆ
เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายอะดีโนซีน กาเฟอีนจึงสามารถจับกับตัวรับอะดีโนซีนและกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ส่งผลให้ร่างกายตื่นตัว
โมเลกุลของกาเฟอีนจึงสามารถจับกับตัวรับอะดีโนซีน ในสมองและยับยั้งการทำงานของอะดีโนซีนได้ ผลคือทำให้มีการเพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน ซึ่งทำให้สมองเกิดการตื่นตัว
7.คาเฟอีนไม่ได้ลดความต้องการนอนหลับของสมอง เพียงแต่ลดความรู้สึกเหนื่อยล้าลงเท่านั้นเอง
8. คาเฟอีน ยังมีผลไปกระตุ้นสารสารสื่อประสาทที่ทำให้ร่างกายมีความสุข สงบ กระปรี้กระเปร่ามากขึ้น ตื่นตัวและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคซึมเศร้าได้อีกด้วย
9. คาเฟอีนส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน ซึ่งทำให้เรารู้สึกตื่นตัว ตื่นเต้น และ มีอาการใจสั่น กระวนกระวายใจ หงุดหงิด ในบางคนก็มีอาการมือไม้สั่นร่วมด้วย
โดยที่ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนนี้เพื่อให้มีภาวะเตรียมพร้อมให้ร่างกายเข้าสู่การตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินและการใช้พลังงาน
ทำให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดหัวใจทำงานอย่างเต็มที่ หัวใจบีบตัวมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการในผู้ที่ได้รับคาเฟอีนมากกว่าระดับปกติที่เคยได้รับ
10. ดังนั้นใน 1 วัน เราควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ซึ่งกาแฟ 1 ช้อนชาโดยส่วนใหญ่จะมีคาเฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัม
- กาแฟดำ 1 แก้ว มีคาเฟอีนประมาณ 80 มิลลิกรัม (กาแฟ 1 ช้อนชา) ดื่มกาแฟดำได้ไม่เกิน 3-4 แก้วชงต่อวัน
- กาแฟกระป๋อง มีคาเฟอีนประมาณ 150-160 มิลลิกรัม ดื่มไม่ควรเกิน 2 กระป๋องต่อวัน
- กาแฟสด จะมีคาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม ดื่มไม่เกิน 3 แก้วต่อวัน
และหากได้รับมากกว่า 300 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดอาการมือไม้สั่น ใจสั่น กระวนกระวาย หงุดหงิด หรือนอนไม่หลับได้
11. คาเฟอีนในแบบสังเคราะห์ (ในน้ำอัดลมและเครื่องดื่มชูกำลัง) จะดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วกว่าคาเฟอีนแบบธรรมชาติ ส่งผลต่อร่างกายแรงและเร็ว กว่าคาเฟอีนแบบธรรมชาติ เพราะคาเฟอีนจากธรรมชาติ มีสารอื่นๆ มาประกอบ เช่น วิตามิน แร่ธาตุต่างๆ ทำให้การดูดซึมคงที่และคงตัวมากกว่า
12. คาเฟอีนจะถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กภายใน 45 นาทีหลังจากดื่มเข้าไป หลังจากนั้นจะถูกนำเข้ากระแสเลือดและลำเลียงไปทั่วร่างกาย
13.คาเฟอีนในร่างกาย หรือครึ่งชีวิตของกาเฟอีนในร่างกายคนเรา หรือเวลาที่ร่างกายใช้ในการกำจัดกาเฟอีนในปริมาณครึ่งหนึ่งของที่บริโภค แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลโดยมีปัจจัยต่าง ๆ เช่นอายุ ระดับการทำงานของตับ ภาวะตั้งครรภ์และการใช้ยาอื่นร่วมด้วย ในผู้ใหญ่ปกติจะมีครึ่งชีวิตของกาเฟอีนประมาณ 3–4 ชั่วโมง
14. ช่วงเวลาที่เราเริ่มดื่มกาแฟได้ดีคือในตอนเช้าหลังจากตื่นนอนสักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะในชั่วโมงแรก ร่างกายเราจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนตื่นตัว) ออกมามากอยู่แล้ว ที่ทำให้ร่างกายตื่นตัว
แต่หลังจากนั้นฮอร์โมนคอร์ติซอลจะลดการหลั่งลง การดื่มกาแฟจึงช่วยทำให้เราตื่นตัวได้ ถ้าเราตื่นนอนสักช่วง 6.30 – 8.00 น. เราควรดื่มกาแฟในช่วงประมาณ 9.00 – 11.00 น. และสามารถดื่มได้อีกทีในช่วงบ่าย แต่ควรเว้นว่างจากเวลาก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้คาเฟอีนไปรบกวนการนอนหลับ
15. คาแฟอีนยังมีอันตรายต่อร่างกายของเรา หากได้รับคาเฟอีนเกินขนาด ได้แก่ อาการเหงื่อแตก ใจสั่น ปวดท้อง คลื่นไส้ นอนไม่หลับ กล้ามเนื้อกระตุก และตรวจพบความดันโลหิตสูง อาการเหล่านี้คือ “ภาวะพิษจากคาเฟอีน” หากลดการดื่มคาเฟอีนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรเข้าพบแพทย์ เนื่องจากเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
[Exclusive Content]