ปีที่ประเทศไทยขาดดุลการค้ามากที่สุดในรอบทศวรรษ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อในหลายๆด้าน
โดยเฉพาะระบบเศรษกิจที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ไทยเป็นเป้าหมายการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติมายาวนาน
เป็นแหล่งผลิตอาหารชั้นดี เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อจนติดอันดับโลก
ประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการผลิตและส่งออกสินค้ามากมาย
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องเผชิญกับความท้าทายในฝั่งของรายจ่ายการนำเข้า
ที่ทำให้ปัจจุบันประเทสไทยอยู่ในภาวะ 'ขาดดุลทางการค้า' อยู่
จากรายงานเมื่อเดือนตุลาคม 2565 ประเทศไทยขาดดุลทางการค้า
เป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกันแล้ว ยาวมาตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม
และหากดูใน 8 เดือนแรกของปี ประเทศไทยขาดดุลไปถึง 7 เดือนด้วยกัน
ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ประเทศไทยส่งออกสินค้า
คิดเป็นมูลค่า 6.635 ล้านล้านบาท ในขณะที่นำเข้าสินค้า
คิดเป็นมูลค่า 7.218 ล้านล้านบาท เท่ากับขาดดุลอยู่ 583,424 ล้านบาท
หรือดุลเดินบัญชีต่อ GDP ขาดดุลอยู่ที่ 4.3% ซึ่งมากที่สุดตั้งแต่ปี 2556
โดยปัจจัยหลักที่ไทยขาดดุลในปีนี้ คือปริมาณการนำเข้าน้ำมัน
และปัญหาที่มาจากการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น
ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ผ่านช่วงการขาดดุลมาแล้วหลายรอบ
ครั้งที่ขาดดุลมากที่สุดคือช่วงวิกฤติเศรษฐกิจปี 2538-2540 ที่ขาดดุลติดต่อกัน 3 ปี
ช่วงปี 2548-2549 และช่วงปี 2554 ถึง 2557 ที่ขาดดุลติดต่อกันถึง 4 ปี