จริงหรือไม่ ยิ่งกินขมยิ่งโรคจิต
จริงหรือไม่ ยิ่งกินขมยิ่งโรคจิต
.
สำหรับเรื่องรสชาติและความชอบแต่ละรสชาติ ไม่ว่าจะ หวาน เปรี้ยว เผ็ด เค็ม ขม จืด ล้วนแต่เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละบุคคล เพราะเราทุกคนต่างมีประสาทรับรส รับกลิ่น ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งบางครั้งก็เกิดจากความเคยชินก็มี เช่นถ้าวันหนึ่งต้องมาทานอาหารที่รสชาติผิกแปลกไปจากเดิมมากๆ ก็อาจรู้สึกได้ว่าอาหารในรสชาตินี้ไม่อร่อย
.
มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับรสชาติที่ชื่นชอบ มาจากงานศึกษาที่ระบุว่า หากคุณเป็นคนหนึ่งคนที่ชอบกินเบียร์ และกาแฟ คุณอาจเป็นโรคจิต
.
การชื่นชอบอาหารรสขม อาจเป็นภาพสะท้อนบุคลิกภาพของคุณ ตามการศึกษาใหม่ในวารสาร Appetite กล่าวว่า ผู้คนที่มีความชื่นชอบในอาหารรสขม มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคจิตและต่อต้านสังคม
.
การศึกษาในครั้งนี้ได้มีการซักถามคนจำนวน 500 คนถึงความสุขที่แตกต่างกันระหว่างของตัวอย่างอาหารที่มีรสหวาน เปรี้ยว เค็ม และขม จากนั้นพวกเขาจะซักถูกถามต่อด้วยชุดทดสอบประเมินบุคคลิกภาพเพื่อประเมินความก้าวร้าว
.
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนที่ชอบอาหารรสขมมีแนวโน้มที่ได้คะแนนด้านความผิดปกติทางจิต ความซาดิสม์ และความก้าวร้าวสูง ซึ่งตามข้อมูลที่ได้จากการศึกษา เมื่อนำมาเชื่อมโยงกันแล้ว ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่า “ยิ่งชอบอาหารและเครื่องดื่มที่มีรสขมเท่าใด ก็ยิ่งเชื่อมโยงกับบุคลิกภาพด้านมืดเท่านั้น” ผู้เขียนงานวิจัยกล่าว
.
ทั้งนี้ นักวิจัยก็ยังให้ความสนใจต่อความเข้าใจในสิ่งที่ทำให้คนที่ชื่นชอบอาหารเฉพาะอย่างว่า อาจมีเงื่อนงำที่ซับซ้อนในเชิงชีวิทยาและจิตวิทยา รวมทั้งการได้รับแรงจูงใจต่อการตอบสนองต่อรสชาติและกลิ่นของอาหาร นอกจากนี้นักวิจัยยังมีความกังวลใจต่อการเลือกใช้อาหารสำหรับเป็นตัวอย่างของอาหารที่มีรสขม เนื่องจากคนแต่ละคนมีการอธิบายรสชาติที่แตกต่างกัน
.
อย่างไรก็ตาม เราอาจเคยรับรู้มาว่า เมื่อแก่ตัวไปก็จะชื่นชอบรสขมมากขึ้น หรือประโยคที่ว่า หวานเป็นลมขมเป็นยา ถ้าข้อมูลจากข้างต้นเป็นความจริง อาจกล่าวได้ว่าผู้สูงวัยที่ชื่นชอบรสขมก็คงจะต้องมีอาการทางจิต จริงแท้แค่ไหน อาจขึ้นอยู่แค่กับเรื่องความชอบส่วนบุคคลค่ะ