ที่มาของคำว่า " แรด "
คำว่า แรด ที่เรารู้จักนั้น อยากรู้ว่าครั้งแรกที่ได้ยินชื่อนี้ เรารู้จักมันในฐานะความหมายตรงๆ หรือความหมายแฝง( คำด่า) กันแน่ บางคนใช้คำคำนี้ด่าคนมานับครั้งไม่ถ้วนแต่กลับไม่เคยรู้ที่มาที่ไปเลยว่าทำไมถึงใช้คำคำนี้และเพราะเหตุใด เพราะคำคำนี้ความหมายตามในพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน มี 2 ความหมายคือ ความหมายที่เป็นคำนาม แรด หมายถึง สัตว์ป่าชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายหมูแต่มีขนาดตัวโตกว่า เรียกได้ว่าเล็กรองลงมาจากช้างก็ว่าได้ มีนอที่สันจมูก หนังหนา แข็งแรง บางชนิดก็ใกล้สูญพันธุ์แล้ว
อย่างแรดขาวเป็นต้น ในขณะที่อีกความหมายหนึ่งคือ เป็นคำวลี เปรียบเทียบกับกิริยาอาการของผู้หญิงที่ประพฤติตัวไม่ดี ประพฤติตัวเหลวไหลไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่จะเน้นไปในเชิงชู้สาว โดยคำว่า แรด นี้มีที่มาที่ไปคือ สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมของตัวเมีย
ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมของแรดในฤดูผสมพันธุ์นั้น ตัวเมียจะต่อสู้กันเพื่อแย่งแรดตัวผู้ หากชนะก็จะได้แรดตัวผู้ตัวนั้นไปทำการผสมพันธุ์ด้วย แต่ถ้าแรดตัวผู้ไม่ยอมร่วมมือด้วยเมื่อใด เตรียมตัวตายได้เลย เพราะแรดตัวเมียจะขวิดแรดตัวผู้จนกว่าจะตาย (แรงขับทางเพศนั้นน่ากลัวกว่าที่คิดจริงๆ กลัวแล้วจ้า) พราะพฤติกรรมของแรดตัวเมียที่ต่อสู้กันเพื่อให้ได้แรดตัวผู้มาครอบครอง จึงนำมาใช้เปรียบเปรยอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้หญิงที่ทะเลาะกันเพื่อแย่งชิงผู้ชายนั่นเอง แรดเป็นสัตว์ ฉะนั้นพฤติกรรมการแสดงออกจึงเป็นไปโดยสัญชาตญาณ ไม่มีเหตุผลเหมือนมนุษย์ . . . ในปัจจุบันนี้แม้ว่าคำคำนี้จะยังคงถูกใช้อยู่ แต่น้อยลงกว่าแต่ก่อนมาก แต่เชื่อว่าคงจะไม่หายไปเลยทีเดียวอย่างแน่นอน