ทำไมกินถั่วแล้วตดเก่ง
คุณชอบกินถั่วกันมั้ยคะ แล้วสังเกตมั้ยว่าเวลาเรากินถั่วเยอะ ๆ ท้องจะอืด และพร้อมจะปล่อยลมปารณออกมากตลอดเวลา ยิ่งถ้าเป็นถั่วที่ต้มแบบพอสุก ยิ่งมีโอกาสปล่อยลมได้ถี่ขึ้น แล้วทำไมกินถั่วแล้วตดบ่อย วันนี้มีคำตอบค่ะ
การตดเป็นเรื่องปกติอย่างที่ทุกคนทราบ เพราะมันเป็นผลของกระบวนการย่อยอาหารในลำไส้ โดยเฉลี่ยแล้วคนเราตดวันละ 15 ครั้ง ระดับเสียงและกลิ่นนั้นก็ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสถานที่ ซึ่งของตด 99% เป็นแก๊สไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจน และมีเทน
แล้วทำไมกินถั่วถึงทำให้ตดเก่งเหลือเกิน ตดได้ตดดี นั่นก็เพราะว่าในถั่วมีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่ชื่อว่าโอลิโกแซกคาไรด์ หรือเรียกว่าไฟเบอร์ก็ได้ เพราะไฟเบอร์ก็เป็นโอลิโกแซกคาไรด์ ซึ่งไม่ละลายน้ำ ลำไส้เล็กของเราย่อยไม่ได้ เพราะไม่มีเอมไซม์ที่ไว้ย่อยเส้นใยต่าง ๆ น้องลำไส้เล็กจึงต้องผลักไปให้พี่ลำไส้ใหญ่ต่อ
เมื่อมาพบกับแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียจะเข้าไปสลายโอลิโกแซ็กคาไรด์ให้เป็นคาร์โบไฮเดรตอย่างง่าย และปล่อยก๊าซไฮโดรเจนไนโตรเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นของเสียจากกระบวนการหมัก และยังแบคทีเรียประมาณ1 ใน 3 ที่สามารถผลิตก๊าซมีเทนได้ แต่ละคนจะตดมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในลำไส้ด้วย
นอกจากนี้ยิ่งคุณกินถั่วมากเท่าไหร่ แบคทีเรียก็ยิ่งผลิตก๊าซมาก ทำให้เรารู้สึกอึดอัดในท้อง เกิดแก๊สเยอะ ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักมาก และถูกปล่อยออกมาในรูปแบบของการตดนั่นเอง แต่ถ้าใครพิเรนทร์อั้นตดจะอันตรายมาก ๆ เลยนะ
หากคุณชอบกินถั่ว การตดเป็นเรื่องธรรมดามากค่ะ ก็อย่ากินมากเซ่!!! (ขึ้นทำไมก่อน) วันนึงกินสัก 1-2 กำมือก็น่าจะเพียงพอแล้ว ยิ่งถ้าเรามีแพลนที่จะต้องไปในที่คนเยอะ ๆ ก็อย่ากินอะไรที่แสลงท้อง แสลงทวารหนัก เพราะถ้าอั้นไม่อยู่คืออายเด้อ และที่สำคัญเรื่องตดไม่ใช่เรื่องใหญ่เท่าความสุกของถั่ว ถ้าถั่วต้มไม่สุกจะอันตรายกว่านะคะ