ทำไมข้าวบางชนิดหุงขึ้นหม้อ เเต่บางชนิดหุงไม่ขึ้นหม้อ เป็นเพราะอะไร?
เรามักจะเคยได้ยินและเห็นอยู่บ่อย ๆ เวลาแม่หุงข้าวเสร็จ และบอกว่าวันนี้ว่าข้าวสวย หุงขึ้นหม้อดี ก็พอจะเข้าใจอยู่หรอกว่ามันก็คือข้าวที่หุงสุกและเม็ดข้าวฟูเต็มหม้อดูน่ากินมาก กลิ่นหอมอะโรมาทั้งบ้าน แต่บางครั้งพอเปลี่ยนยี่ห้อข้าวสาร บางชนิดมันหุงไม่ขึ้นหม้อซะงั้น การหุงขึ้นและไม่ขึ้นหม้อของข้าว มันเกิดจากองค์ประกอบใดภายในข้าว วันนี้มีคำตอบค่ะ
ปกติแล้วข้าวที่เก็บเกี่ยวเสร็จใหม่ ๆ จะยังคงมีความชื้นในเมล็ดข้าวสูง ความชื้นก็คือปริมาณน้ำในเมล็ดข้าว ซึ่งความชื้นนี่แหละเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ข้าวหม้อนั้นของเราขึ้นฟูหรือไม่ขึ้นฟู กล่าวคือ ถ้าเมล็ดข้าวยังมีความชื้นสูงอยู่แล้ว เมื่อนำมาหุงสุก เมล็ดข้าวจะไม่ค่อยดูดน้ำที่เราใส่ไปมากนัก ลงอเอาข้าวใหม่ ที่เก็บเกี่ยวเสร็จใหม่ ๆ มาหุงดู มันจะหุงไม่ค่อยขึ้นหม้อ เพราะในเมล็ดข้าวมีน้ำอยู่ปริมาณนึงแล้ว ข้าวที่สุกจะมีความหนึบ แต่ไม่แห้งไม่สากนะคะ
และเมื่อเปรียบเทีบกับข้าวที่เก็บไว้ระยะหนึ่ง ความชื้นในข้าวลดลง เมื่อนำไปหุงเราจะต้องใส่น้ำมากกว่าข้าวเกี่ยวใหม่นิดนึง โดยปกติก็เลยหนึ่งข้องนิ้วมานิดนึง อันนี้คิดเอง 555555 เมื่เมล็ดอข้าวที่แห้งมานานพบกับน้ำ มันก็จะดูดน้ำเข้าไปไว้ในตัวมันมาก จนทำให้เมล็ดฟูขึ้น พองขึ้นๆ เรื่อย ๆ จนเบียดเสียดกันในพื้นที่หม้อที่มีจำกัด และยกตัวกันขึ้นจนสูงจนกลายเป็นข้าวหุงขึ้นหม้อ ถ้าคิดภาพไม่ออก ให้เราลองทิ้งมาม่าที่ต้มเสร็จใหม่ ๆ ไว้ในชามนานๆ มันก็จะพองหรืออืดขึ้น นี่ก็เปรียบได้กับข้าวหุงขึ้นหม้อ แต่ถ้าเป็นมาม่าที่ขึ้นอืดระดับนึงแล้ว เอาไปใส่น้ำเพิ่มทิ้งไว้อีก มันก็ไม่อืดมาไปกว่านั้นแล้ว นี่ก็เปรียบได้กับข้าวหุงไม่ขึ้นหม้อนั่นเอง
โดยส่วนใหญ่แล้วข้าวที่หุงขึ้นหม้อจะเป็นข้าวขาว ที่ถูกขัดสีออกจนหมด ข้วที่มีความชื้นสูง ๆ พ่อค้าที่รับซื้อจะไม่ปลื้มเอาเสียเลย เพราะมันทำให้ขาวหนัก เวลาชาวนามาขายจะได้น้ำหนักเยอะ พ่อค้าจะได้กำไรน้อย พ่อค้าบางคนจึงให้รางคาข้าวเปลือกที่ชื้นมากในราคาที่ถูกกว่าปกติ บางคนก็ไม่รับซื้ออ้างว่าข้าวชื้นเกินไป เรามักจะเห็นในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ชาวนามักเอาข้าวมาตากตามถนนหนทางอยู่บ่อยๆ น่าเห็นใจชาวนามากจริง ๆ ต่อไปกินข้าวก็ต้องทานให้หมดจานนะคะ ไม่ต้องเหลือไว้เป็นมารยาทหรอก อิอิ