การปลุกเสกวัตถุมงคลให้ถูกต้องและศักดิ์สิทธิ์ ทำกันอย่างไร ?
การปลุกเสก หรือที่ทราบกันดีคือ พิธีพุทธาภิเษก คือการกระทำให้สิ่งที่เป็นวัตถุที่กำหนดไว้ให้มีคุณค่า หรือมีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมา โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัย ไปสู่องค์พระ หรือวัตถุมงคลนั้น ๆ
การปลุกเสกพระเครื่อง เดิมทีเดียวพระเครื่องเป็นวัตถุผสมด้วยดิน โลหะ ธาตุ หรือสิ่งอื่นๆ และตัวทำแข็ง ทำเหลว ตัวยึดติด อาจเป็นน้ำมันเหลวแห้งได้ดี เมื่อรมด้วยควันไฟ หรือทำด้วยปูนพลาสเตอร์ ชนิดแห้งไว หรือหล่อด้วยธาตุแข็งชนิดอื่น เช่นทองคำ ทองเหลือ ทองแดง ตะกั่ว ทองขาว เหล็ก เป็นต้น แล้วนำมาปลุกเสก หรือทำพิธีพุทธาภิเษก
พิธีพุทธาภิเษก เริ่มต้นเมื่อใดไม่มีใครทราบ แต่คงเริ่มทำกันมานานแล้ว การทำพิธีพุทธาภิเษกในแง่ของเจตนารมย์เราจะพบว่า คือการนประชุมกันเพื่อตกลงยอมรับวัตถุที่นำเข้าสู่พิธี ให้เป็นวัตถุที่เคารพสักการะ เป็นเครื่องหมายแห่งขวัญ กำลังใจ และเพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพเลื่อมใส
เครื่องใช้ในพิธี ประกอบด้วย
1.โต๊ะหมู่บูชาพร้อมเครื่องตั้ง
2. เครื่องใช้ในพิธีสงฆ์ เช่นเดียวกับงานมงคลทั่วไป
3. ที่นั่งประธานฝ่ายสงฆ์
4. ที่นั่งพระเจริญพระพุทธมนต์ 9 ที่ (พิธีหลวง 10 ที่)
5. อาสนสงฆ์พระสวดภาณวาร 4 ที่าจารย์
6. ที่นั่งพระเกจิอาจารย์ หรือพระเถระภาวนาจารย์ จัดนั่งรอบวัตถุมงคล 9 รูป หรือตามความประสงค์ของเจ้าภาพร
7. เครื่องประกอบพิธีพุทธาภิเษก เช่น เทียนต่าง ๆ, ขันสาคร 2 ใบ, สายสิญจน์รอบปริมณฑล, ฉัตรขาว 5 ชั้น 6 ชั้น, ราชวัติ 4 มุม, พลู 4 ใบ, บาตรใส่น้ำมนต์ สำหรับพระเกจิอาจารย์ครบทุกรูป เป็นต้น
ในส่วนของลำดับพิธีนั้นในแต่ละที่ ก็อาจจะแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานที่อยู่ และผู้ที่เป็นประธานในพิธี แต่ลำดับวิธีการปฏิบัติส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน
การที่พระสงฆ 4 รูปมาสวดนั้น ท่านเรียกว่า พุทธาภิเษก อันเป็นการแสดงถึงความรู้สึกศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา เชื่อมั่นในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ของผู้เข้าร่วมพิธี พร้อมกับพรรณนาพุทธประวัติ อานุภาพของพระพุทธเจ้า จากนั้นจะเป็นการสวดภาณวาร ก็คือสูตรที่มีประวัติความเป็นมา ในทางขลัง ศักดิ์สิทธิ์ มีอานุภาพในการช่วยเหลือคน ให้หลุดพ้นจากทุกข์ ภัย โรค และอุปัทวันตรายทั้งปวง สรุปแล้วคือ ท่านที่นั่งทำความสงบด้วยการบริกรรมสมาธิ เพื่อแผ่พลังจิต คาถา มนต์ ที่ท่านสาธยายให้เป็นอานุภาพ แก่วัตถุมงคลที่นำมาเข้าพิธี
การประกอบพิธี ถ้ากระทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธา และถูกต้องตามขั้นตอนต่าง ๆ วัตถุมงคลนั้น ๆ ก็จะมีพลังแห่งความศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อที่มีมาตั้งแต่โบราณ