มาดูการวัด ชนชั้นของคนไทยกัน เราอยู่ชั้นไหน เช็คสิดูนะ
ระบบการจัดช่วงชั้นทางสังคม
นักสังคมวิทยาได้ให้ความเห็นในการจัดลำดับช่วงชั้นทางสังคมไว้ 3 ระดับ
1. ระบบวรรณะ
ระบบวรรณะ(caste system ) เป็นการจัดกลุ่มสังคมต่างๆ เพื่อเป็นระเบียบในการทำงานพิเศษตามลำดับความสูงต่ำของอำนาจและศักดิ์ศรี การแบ่งงานกันทำเป็นมูลฐานของแบ่งชั้นวรรณะ เพราะบุคคลที่อยู่ในวรรณะต่างๆ ประกอบอาชีพแตกต่างกัน ดังนั้น ระบบวรรณะจึงเป็นความสัมพันธ์ของสถานภาพซึ่งจำกัดบุคคล นั่นคือสถานภาพโดยกำเนิดเป็นตัวกำหนดช่วงชั้นทางสังคม
วรรณะเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับชนชั้น เพราะวรรณะเป็นระบบที่ขึ้นอยู่กับสถานภาพที่ได้มาแต่เกิด พอเกิดมา ปัจเจกชนแต่ละคนจะเป็นสมาชิกในวรรณะพ่อแม่ของตนเอง และจะไม่สามารถเคลื่อนที่จากวรรณะหนึ่งไปยังอีกวรรณะหนึ่งได้ แต่ในระบบวรรณะ ปัจเจกชนต้องแต่งงานกับคนในวรรณะเดียวกัน เป็นการแต่งงานกับคนกลุ่มเดียวกัน วรรณะต่างๆ จะถูกจัดระดับสูงต่ำตามความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ที่มักไปด้วยกันกับอาชีพที่เฉพาะต่างๆ และการเป็นสมาชิกของสังคมที่มีวัฒนธรรมย่อยแตกต่างกันไปขณะที่ระบบชนชั้นไม่มีขอบเขตหรืออาณาเขตที่แน่นอนระหว่างคนในชนชั้นต่างๆ แต่วรรณะเป็นระบบที่มีขอบเขตที่แน่นอนระหว่างคนในวรรณะต่างๆกัน กฎเกณฑ์หลายอย่างในระบบวรรณะจะมุ่งตรงไปที่การรักษาระยะห่างทางสังคมระหว่างคนในวรรณะต่างๆ
นักมานุษยวิทยาบางคน นิยามวรรณะเฉพาะที่มีอยู่ในสังคมอินเดีย แต่คนอื่นๆมองวรรณะว่า เป็นระบบหนึ่งของการจัดช่วงชั้นทางสังคมที่พบในหลายๆสังคมนอกประเทศอินเดีย เช่น ญี่ปุ่น บางส่วนของแอฟริกา และแม้ในประเทศอเมริกา
ผู้ศึกษาสังเกตได้ว่าระบบวรรณะของอินเดียจัดเป็นวรรณะใหญ่ 4 วรรณะ คือ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร ตามลำดับ และมีหน้าที่ต่างกัน
ลักษณะสำคัญของวรรณะทั้ง 4 มีดังนี้
1. บุคคลต้องแต่งงานภายในเครือญาติเดียวกัน
2. มีโคตรตระกูลเดียว
3. สมาชิกภาพได้มาโดยกำเนิด ไม่สามารถเปลี่ยนสถานภาพได้ นั้นคือบุคคลเกิดในวรรณะใดก็ต้องเป็นบุคคลในวรรณะนั้น
4. ห้ามแต่งงานกับบุคคลนอกวรรณะ
5. ประกออบอาชีพดั้งเดิมตามวรรณะของตน
ความจริง การจัดบุคคลออกเป็นวรรณะต่างๆ นั้น อินเดียได้รับอิทธิพลจากคำสอนของศาสนาพราหมณ์ประกอบอาชีพ เป็นนักบวช นักปราชญ์ครู อาจารย์ บุคคลที่อยู่ในวรรณะกษัตริย์ประอาชีพเป็นนักรบ นักปกครอง เจ้าน้าที่ราชการ บุคคลที่อยู่ในวรรณะแพศย์ประกอบอาชีพเป็นพ่อค้า นักธุรกิจ เกษตรกร ช่าง และสามัญชน ส่วนบุคคลที่อยู่ในวรรณะศูทรประกอบอาชีพเป็นกรรมกร แรงงาน และรับใช้บุคคลในวรรณะทั้ง 3 ข้างต้น
กฎเกณฑ์ตามประเพณีหลายอย่างในอินเดีย ถูกสร้างขึ้นรักษาช่องว่างระหว่างวรรณะสมาชิกของวรรณะต่างๆ ไม่กินด้วยกัน คนในวรรณะสูงกว่าจะไม่ได้จับเครื่องมือหรืออาหารจากวรรณะต่ำกว่า พวกจัณฑาลจะแยกไปจากวรรณะอื่นๆในหมู่บ้าน และไม่ได้รับอนุญาตให้ดื่มน้ำจากกำแพงเดียวกันกับพวกวรรณะสูงกว่า ก่นหน้าที่กฎหมายปัจจุบันจะมีขึ้นเพื่อความเท่าเทียมกันทางกฎหมายนั้น การแต่งงานและความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างวรรณะต่างๆ ถูกห้าม แต่ละวรรณะมีลักษณะทางวัฒนธรรมย่อยต่างกันไป พวกวรรณะสูงๆ จะมีพฤติกรรมตามความเชื่อในศาสนาฮินดูมากกว่า เช่น กินอาหารผัก ไม่ดื่มของมึนเมา และห้ามแม่หม้ายแต่งงานใหม่ เฉพาะวรรณะสูง เม่านั้น ที่จะทำพิธีกรรมต่างๆได้ เช่น การผูกด้ายสายสินสิญจน์ศักดิ์สิทธิ์ให้เด็กหนุ่มซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดมาอีกครั้งหนึ่ง พระวรรณะพราหมณ์จะไม่ทำพิธีที่จำเป็นให้กับพวกจัณฑาลที่แตะต้องไม่ได้และพวกวรรณะที่ต่ำกว่า พวกที่แตะต้องไม่ได้ ถูกห้ามไม่ให้เข้าไปในวัดของหมู่บ้าน
โดยทั่วไปแล้ว ระบบวรรณะของอินเดียผูกพันอยู่กับการแลกเปลี่ยนสินค้าและการให้บริการต่างๆ ต่อกันภายในหมู่บ้าน ครอบครัวต่างๆ ของช่างฝีมือและวรรณะที่ใช้บริการต่างๆได้ให้บริการตามประเพณีที่จำเป็นแกพวกวรรณะเจ้าของที่ดิน และพวกเขาได้รับอาหารเป็นการตอบแทน ความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์เช่นนี้มีอยู่ต่อไปหลายชั่วคนในครอบครัวเดียวกันของวรรณะตางๆกัน ดังนั้น ความแตกต่างกันของวรรณะต่างๆ ทำให้เกิดการพึ่งพากันและกัน และเกิดการรวมตัวกันอย่างกลมกลืนกันในระดับหมู่บ้าน
ผู้ศึกษาสังเกตได้ว่ารัฐธรรมนูญของอินเดียในปัจจุบันระบุว่าการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พลเมืองทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่ากัน ทั้งทางการเมืองและสังคม ทั้งนี้เพราะระบบวรรณะมีรากฐานมาจากความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู บุคคลแต่ละมีตำแหน่งหรือฐานะทางสังคมที่ติดตัวมาแต่เกิด และเป็นไปตามกรรมของแต่ละบุคคล ตำแหน่ง หรือฐานะดังกล่าวนี้อันคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ระบุว่าใครเปลี่ยนแปลงไม่ได้ตลอดชีวิต การเปลี่ยนแปลงจะมีได้เพราะในชีวิตหน้าหรือปรโลก และจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรย่อมขึ้นอยู่กับกรรมของตนเองที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ รวมทั้งการตัดสินใจของพระเจ้า ความเชื่อทางศาสนาเช่นนี้ยังคงมีอิทธิพลต่อคุณค่าและพถติกรรมของชาวฮินดูอยู่ในปัจจุบัน
1.2 การเปลี่ยนแปลงระบบวรรณะ
มักมีความคิดเกี่ยวกับระบบวรรณะ ที่เน้นความอยู่นิ่งมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงกันอยู่ทั่วไป แต่นักมานุษยวิทยาได้ข้อมูลใหม่ๆ มาจากวรรณะสูงๆของอินเดีย จาการวิจัยเร็วนี้ที่ศึกษาระบบวรรณะในเขตชนบทและเขตเมือง ผลการวิจัยแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่ถูกมองข้ามไปโดยการศึกษารุ่นแรกๆ บ่อยครั้งที่วรรณะกลางและวรรณะต่ำไม่ยอมรับตำแหน่งของตน และได้ใช้กลยุทธ์หลายๆอย่างต่างกัน ที่จะจัดระบบวรรณะของพวกเขาเสียใหม่ ความพยายามของวรรณะที่แตะต้องไม่ได้ที่จะยกฐานะของตน นำมาซึ่งการตอบโต้ที่รุนแรงจากพวกวรรณะสูงๆ ซึ่งคนพวกนี้ต้องการรักษาอำนาจเกียรติคุณและความมั่งคั่งของจนเอง
การเคลื่อนที่ทางสังคมในระบบวรรณะ เป็นความพยายามระดับกลุ่มมากกว่าระดับปัจเจกชน วรรณะที่ประสบความสำเร็จในทางเศรษฐกิจ อาจพยายามเพิ่มเกียรติของยศตนโดยการรับเอาประเพณีของวรรณะที่สูงกว่ามาใช้ และอ้างว่าได้ขึ้นมาอยู่ในระดับที่สูงขึ้นแล้ว วรรณะที่เคลื่อนที่ทางสังคมสูงขึ้น ได้พยายามที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมในวรรณะตน พยายามให้คนพวกนี้ปฏิบัติตามแบบแผนพฤติกรรมของคนในวรรณะที่สุงกว่า นอกจากนี้อาจ
เมื่ออินเดียเป็นอิสระ ค.ศ. 1948 และมีการบัญญัติรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยขึ้น ระบบวรรณะในอินเดียมีทั้งอ่อนกำลังลงและเข้มแข็งขึ้นด้วย รัฐบาลอินเดียพยายามที่จะทดแทนความทุกข์ยากและการกีดกันที่มีมาแต่ในอดีต โดยการให้งานพิเศษต่างๆ ในมหาวิทยาลัย สำหรับคนในวรรณะต่ำๆ และพวกจัณฑาลทำต่อมาประโยชน์ที่ได้จากการอ้างสิทธิเป็นสมาชิกในวรรณะต่ำเหล่านั้นกลายเป็นเรื่องสำคัญ และมีสมาคมของวรรณะต่างๆ ดังกล่าวเกิดขึ้นมา เพื่อช่วยให้สมาชิกในวรรณะของตนได้ใช้โอกาสใหม่ๆเหล่านั้น การกีดกันพวกที่แตะต้องไม่ได้นั้นผิดกฎหมาย แต่เราเห็นมาแล้วว่ายากจะบังคับได้ในระดับท้องถิ่น นอกจากนี้วรรณะต่างๆมีสิทธิลงคะแนนเสียงและมีศักยภาพที่จะมีอำนาจทางการเมือง โดยการถูกเลือกตั้งเข้าไปเป็นผู้แทนราษฏร ปัจจัยต่างๆ เหล่านนี้ได้เปลี่ยนแปลลงกลยุทธ์ของการเคลื่อนที่ทางสังคมของวรรณะต่ำๆไป
แม้ว่าระบบวรรณะของอินเดียถูกจัดระดับ โยพื้นฐานของเกียรติคุณมากกว่าความมั่งคั่งร่ำรวย แต่ตำแหน่งของพวกวรรณะสูงๆ ได้รับไม่ได้เป็นแค่สัญลักษณ์ คนพวกนี้ได้รับประโยชน์ทางวัตถุจากการมีสถานภาพที่สูงกว่า และอยู่ในฐานะที่ดีกว่าที่จะใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตน พวกวรรณะต่ำๆ ดูจะยอมรับตำแหน่งที่ต่ำกว่าอย่างไม่สงสัย แต่การที่พวกเขายอมรับสถานภพของตนเอง ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความพยายามที่จะดิ้นรนต่อสู้เพื่อตำแหน่งที่ดีกว่า ตรงกันข้ามมีการต่อต้านเรียกร้องสิทธิจากคนยากจนและผู้มีสถานภาพต่ำทั้งในประเทศอเมริกา อินเดียและในสังคมอื่นๆด้วย
2. ระบบฐานันดร
ระบบฐานันดร (Estate system) เป็นระบบที่ปรากฏชัดในยุโรปสมัย กลางและญี่ปุ่นสมัยกลาง นั่นคือระบบศักดินา (feudal system ) สังคมได้มีกฎหมาย กำหนดไว้อย่างแน่นอน ว่าบุคคลในสังคมมีฐานันดรอย่างไร แต่ละฐานันดรมีสิทธิและ หน้าที่เฉพาะตายตัว จุดเด่นของระบบนี้คือ ความเคารพ ความเชื่อฟังและความจงรักภักดีที่
บุคคลมีต่อผู้บังคับบัญชาของตนเป็นสำคัญ
ผู้ศึกษาสังเกตดูตัวอย่างระบบศักดินาของญี่ปุ่นได้ว่า อำนาจการปกครองอยู่ในครอบครัวตระกูล โตกุ กาวา (Tokugava) เป็นเวลา 21 ปี วิธีการปกครองใช้ระบบเศษรฐกิจเป็นแบบศักดินา และมีการแบ่งชนชั้นออกเป็น 4 ชนชั้นใหญ่ๆดังต่อไปนี้
1. พวกซามูไรหรือนักรบ
2. ชาวนา
3. พ่อค้า
4. ช่างฝีมือ
พวกซามูไรเท่านั้นเป็นชนชั้นที่มีเกียรติ พวกชาวนาเสมอตัว พวกพ่อได้รับการดูหมิ่นว่าไม่ได้ช่วยในการผลิต เป็นผู้หากำไรเพียงฝ่ายเดียว ส่วนพวกช่างฝีมือได้รับการดูถูกเหยียดหยามมากที่สุด สภาพสังคมขณะนั้นอำนาจกับความมั่นคงแยกออกจากกัน นั่นคือพวกซามูไรนั้นมีอำนาจจริงแต่พวกเขาค่อนข้างยากจน พวกค้ามีความร่ำรวย แต่ไม่มีอำนาจ การแบ่งชั้นมีช่วงระยะเวลาอันยาวนานนี้สภาพเศรษฐกิจได้ตกอยู่ในรูปศักดินา โชกุนเองมีที่ดิน 1 ใน 4 ของประเทศ ที่ดินส่วนที่เหลือแบ่งให้เจ้าเมืองต่างๆครอบครอง เจ้าเมองให้ชาวนารับไปทำอีกหนึ่ง แล้วเก็บภาษีจากผลผลิตที่ได้ร้อยละ 40 หรือมกกว่านั้น ชนชั้นซามูไรซึ่งเป็นทหารอาชีพในการสืบตระกูลไม่ได้ช่วยในการผลิต ดำรงตนในฐานะผู้กอบกินแรงงานของชาวน และในสมัยโตกุล กาวานั้น ญี่ปุ่นได้ปิดประเทศไม่ยอมติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ ขอบเขตของการตลาดและฐานะทางเศรษฐกิจจำกัดพอเลี้ยงตนเองได้เท่านั้น ชาวนาไม่มีสิทธิ์ในการปลูกพืชตามความต้องการของตนเองได้ ต้องทำตามคำบงการของเจ้าเมือง และยังไม่มีสิทธิ์ในการโยกย้ายที่อยู่อาศัยตลอดชีวิต
ยุโรปสมัยกลางได้มีการจัดช่วงชั้นทางสังคมในรูปของระบบศักดินา โดยถือเอาการเป็นเจ้าของที่ดิน (Ownership of land) เป็นพื้นฐานมาแต่กำเนิด ชั้นต่างๆ ในระบบศักดินา เรียกว่าฐานันดร (Estate) มี 3 ฐานันดร ดังต่อไปนี้
ฐานันดรที่ 1 : ขุนนาง (the nobles) ได้แก่ พวกอัศวิน พวกนักรบ
ฐานันดรที่ 2 : พระ (the clergys) ได้แก่ นักบวชในศาสนา
ฐานันดรที่ 3 : ชาวนา (the peasants) ไดแก่ บุคคลธรรมดา พวกพ่อค้าเวลาที่ต่อมา
ฐานันดรที่ 4 คือนักหนังสือพิมพ์เกิดขึ้น
สิทธิ (Rights) และสิทธิพิเศษ (privilege) ของแต่ละฐานันดรมีระบุไว้ในกฎหมาย แม้มีการเลื่อนสถานภาพตนเองได้บ้างจากฐานันดรหนึ่งไปฐานันดรหนึ่ง แต่ระบบศักดินายังเป็นระบบเปิดอยู่
อิทธิพลในระบบฐานันดรเห็นได้ชัดจากรูประบบการปกครองที่แบ่งรัฐสภาออกเป็นสภาขุนนางและสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษ หลักรัฐธรรมนูญของอังกฤษไม่ได้ถือว่าอำนาจอธิปไตยไม่ได้มาจากปวงชนแต่มาจากพระเจ้าแผ่นดินในรัฐสภา และหลักรัฐสภาของอังกฤษประกอบไปด้วยฐานันดรนักรบคือ ขุนนางและสมณะ (พระ) คือ พระเถระชั้นราชาคณะ ตำแหน่งรวมกันเป็น House of Lords หรือสภาขุนนาง ส่วนอีกฐานันดรหนึ่งประกอบด้วยบุคคลธรรมดา โดยปกติเป็นอีกสภาหนึ่ง เรียกว่า House of Commons หรือสภาผู้แทนราษฎร เวลาต่อมา 100 ปี ได้มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น นั่นคืออาชีพหนังสือพิมพ์ คนทำหนังสือพิมพ์มีอาชีพในการขายข่าว อาชีพหนังสือพิมพ์ และคนทำหนังสือพิมพ์มีความสัมพันธ์ต่อบ้านเมือง จึงมีผู้เรียกนักหนังสือพิมพ์ว่าฐานันดรที่ 4
ระบบชนชั้นตามระบบฐานันดรนี้เป็นระบบของยุโรปสมัยการปกครองตมลัทธิศักดินา ระบบนี้ได้เกิดขึ้นจากรูปแบบของการถือครองที่ดิน การถือครองที่ดินเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลได้รับใช้ในการทหารหรือราชการอื่นๆ ฐานะสูงต่ำของบุคคลจึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีอยู่กับผืนแผ่นดิน บุคคลที่อยู่ในฐานันดรใดก็มีกฎหมายกำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้อย่างชัดแจ้ง แต่ระบบนี้บุคคลอาจเลื่อนฐานะของตนได้ เช่น มหากษัตริย์อาจทรงให้บรรดาศักดิ์บุคคลธรรมดาเป็นขุนนางชั้นต่างๆตามความสามารถได้ และระบบฐานันดรมีการสืบฐานันดรตามบรรพบุรุษของตน
ระบบศักดินาในยุโรปกระทำในรูปของสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวกับที่ดิน ฐานันดรแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังต่อไปนี้
1. เจ้าของที่ดินหรือขุนนาง(Landowners หรือ nobility)
2. พวกโยเม็นริ (Yeomanry) พวกกองอาสาสมัครของพระมหากษัตริย์อังกฤษต้องให้ความจงรักภักดี ทำหน้าที่ปกป้องที่ดิน และเป็นเจ้าที่ดินเพื่อแลกเปลี่ยนกับสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งที่จำกัดแน่นอนในที่ดินและผลผลิตทางเศรษฐกิจที่เกิดจากที่ดินนั้น
3. ข้าแผ่นดิน(Serfs) ผู้มีสิทธิเหนือที่ดินอยู่ในขอบเขตจำกัด แต่แน่นอน พวกข้าแผ่นดินไม่ใช่ทาส แต่พวกข้าแผ่นดินไม่สามารถละทิ้งที่ดินได้ และอันที่จริง พวกโยเม็นริหรือพวกอาสาสมัครผู้อิสระในสมัยศักดินาและพวกขุนนางไม่สามารถละทิ้งที่ดินได้เช่นกัน
3. ระบบชนชั้น
ระบบชนชั้น (Class system) เป็นการจัดลำดับความสมารถมากกว่าชาติกำเนิด ดรรชนีในการแบ่งบุคคลออกเป็นชนชั้นมีตัวเกณฑ์ในการพิจารณาดังต่อไปนี้
1. เศรษฐกิจ อาชีพเป็นเรื่องสำคัญ เพราะอาชีพเป็นแหล่งรายได้ ถึงแม้ทรัพย์สมบัติเป็นแหล่งรายได้อีกแหล่งหนึ่ง แต่ขนาดรายได้ที่แตกต่างกันทำให้บุคคลแตกต่างกันทำให้บุคคลแตกต่างกันเรื่องโอกาสแห่งชีวิต
2. สถานภาพ เป็นเครื่องวัดศักดิ์ศรีของบุคคล สถานภาพย่อมเปลี่ยนแปรตามตัวเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ เช่น อาชีพและรายได้ แต่สถานภาพของนักฟุตบอลกับสถานภาพกับนักร้องไม่สามารถวัดได้โดยตรงจากรายได้
3. อำนาจ เป็นความสามารถในการควบคุมความประพฤติของบุคคลอื่นๆ อำนาจมักเปลี่ยนแปรโยรงกับตัวเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หรือผู้นำของสมาคมพ่อค้าอาจมีอำนาจมากกว่าอำนาจที่คาดว่าจะมีโดยตรงจากรายได้ ประเทศสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือใช้ตัวเกณฑ์ถือเถือกเถาเหล่ากอ การศึกษาและสำเนียงเป็นเครื่องวัดชนชั้น
นักวิทยาศาสตร์สังคมอเมริกันมักกล่าวว่าช่วงชั้นทางสังคมเป็นเหมือนแบบชีวิตหรือลีลาชีวิต (Style of life) บุคคลที่อยู่ในชนชั้นสังคมต่างกันย่อมแตกต่างกันในด้านการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน รายได้และระดับการศึกษา สิ่งเหล่านี้แสดงออกให้แบบของชีวิตที่ต่างกัน ตัวอย่างเห็นได้จากแบบรูป(pattern) ของการบริโภค ระดับการศึกษา กิริยาท่าทาง รสนิยม และสิ่งอื่นในทำนองคล้ายคลึงกัน เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักวิทยาศาสตร์สังคมว่าชนชั้นทางสังคม มี 3 ชั้น (ถาวร เกิดเกียรติพงศ์ และราคมทีสุกะ. 2522: 178-179) ดังต่อไปนี้
1. ชนชั้นสูง(Upper class) ได้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของกรผลิตและแหลงเศรษฐกิจของสังคม
2. ชนชั้นกลาง (middle class) ได้แก่บุคคลที่ทำงานประจำสำนักงานและบุคคลทำงานประเภทใช้วิชาชีพ เช่น ครู อาจารย์ ทนายความ วิศวกร แพทย์เป็นต้น
3. ชนชั้นกรรมกร(lower class or working class) ได้แก่บุคคลที่อาศัยค่าจ้างแรงงานเลี้ยงชีวิต
ผู้ศึกษาสังเกตได้ว่าบรรดากลุ่มบุคคลทั้ง 3 ชั้นเหล่านี้กลุ่มบุคคลชั้นสูงเป็นผู้มีหลักทรัพย์และรายได้สูง กลุ่มบุคคลชั้นกลางมีหลักทรัพย์และรายได้ปานกลาง ส่วนกลุ่มบุคคลชั้นกรรมกรมีหลักทรัพย์และรายได้ต่ำ และผู้ศึกษาอาจตั้งข้อสังเกตต่อไปได้ว่าการจัดบุคคลเข้าอยู่ในชั้นทางสังคมนั้นถือเอาความสำเร็จเป็นเกณฑ์มากกว่าตำแหน่งที่ได้รับโดยกำเนิดจากครอบครัวย่อมมีอิทธิพลอย่างมากต่อความสำเร็จของบุคคล ความแตกต่างระหว่างชนชั้นทางสังคมกับการจัดลำดับชั้นทางสังคมแบบอื่นเช่น วรรณะและฐานันดรอยู่ที่บุคคลสามารถเลื่อนฐานะของตนเองได้จากชั้นสังคมหนึ่งไปอยู่ยังอีกสังคมหนึ่ง การเคลื่อนย้ายระหว่างสังคม เรียกว่าการเลื่อนฐานะทางสังคม ซึ่งอาจเป็นทิศทางสูงขึ้นหรือต่ำลง
ระบบชั้นเป็นระบบที่มีอยู่ในสังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะเกณฑ์ในการแบ่งชนชั้นมีแนวโน้มในการแบ่งกฎเกณฑ์ในการวัด(rate) และการกำหนดชั้นและชั้นยศ (rank) ระหว่างบุคคลแต่ละชนชั้นส่วนใหญ่ในสังคมไทยเป็นผลมาจากระบบชั้นในสมัยศักดินาหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผสมกับชนชั้นของสังคมปัจจุบันปัจจัยกรแบ่งชนชั้นของสังคมไทยโดยทั่วไปถือเอาเกียรติภูมิ(prestige) หรือฐานะทางสังคมเป็นเกณฑ์ เกียรติภูทางสังคมวัดได้โดยใช้ปัจจัยแต่ละอย่างรวมกันดังต่อไปนี้
1. ตระกูล เช่น ราชตระกูล ตระกูลเจ้าพระยา ตระกูลเศรษฐี
2. ความสำคัญในวงราชการ เช่น ดำรงตำแหน่งสูงในราชการหรือตำแหน่งที่มีอำนาจ รัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี นายพลเป็นต้น
3. ฐานะทางเศรษฐกิจหรือความมั่นคง
4. การศึกษา เช่น ใครได้รับการศึกษาสูง มีปริญญาหลายใบจากต่างประเทศมีชั้นทางสังคมสูง
5. ชนิดของอาชีพ เช่น อาชีพราชการมีเกียรติ (honour) เป็นชนชั้นเจ้านายคน ทหารตำรวจเหนือกว่าพลเรือน ผู้ศึกษาอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า เกียรติภูมิหรือฐานะของบุคคลในสังคมในสังคมไทย มักเป็นผลมาจากการรวมของปัจจัยหลายๆ อย่างเป็นต้นว่าได้รับการศึกษาสูง มักมีอาชีพมีเกียรติประกอบอาชีพที่มีรายได้สูงและนำไปสู่ตำแหน่งที่มีอำนาจไปในทางการเมืองมักเป็นคนร่ำรวย
4. ความมั่งคั่ง
ความมั่งคั่งเป็นอีกด้านหนึ่งของการจัดช่วงชั้นทางสังคมซึ่งหมายถึง การสะสมทรัพยากรต่างๆ หรือการเป็นเจ้าของเครื่องมือการผลิตทรัพยากรดังกล่าว นักสังคมศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าความมั่งคั่งเป็นด้านสำคัญที่สุดของการจัดชั้น และเป็นพื้นฐานรองรับมติอื่นๆ เช่นอำนาจและเกียรติคุณ คาร์ล มาร์ก และคนที่เห็นตามความคิดของเขาบอกว่า หลักการพื้นฐานของการจัดระเบียบทางสังคม คือระบบที่ทรัพยากรถูกผลิตขึ้นมาและเพื่อสนองความต้องการจำเป็นของมนุษย์มาร์กแบ่งประชากรของสังคมออกเป็น 2 ชนชั้น คือชนชั้นนายทุนผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือในการผลิต และชนชั้นกรรมกรหรือคนงานที่ถูกจ้างโดยนายทุน มาร์กซ์บอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนและกรรมกรที่มีต่อเครื่องมือการผลิต เป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดไม่แต่เพียงว่า คนหรือกลุ่มคนกลุ่มใดจะมีอำนาจและมีเกียรติคุณค่าไหน และยังรวมไปถึงโอกาสที่จะเอาชีวิตให้รอดด้วย เราไม่จำเป็นต้องมีแนวคิดของมาร์กซ์ เพื่อมองเห็นหนทางต่างๆ ที่ความมั่งคั่งอาจเปลี่ยนไปเป็นอำนาจได้ เช่นคนรวยลงสมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองมากกว่าคนจนและชนะมากกว่าคนจน และนายทุนร่ำรวยจะมีอิทธิพลต่อรัฐบาล เพื่อให้รัฐทำอะไรตามความต้องการของพวกนายทุน