7 วิธีรับมือกับคนคิดลบรอบตัวไห้ชีวิตมีสุข
มีงานวิจัยที่ศึกษาแล้วพบว่าการ มองโลกในแง่ลบ หรือเมื่อคนเราจินตนาการถึงเรื่องร้ายอันจะนำพาเราไปสู่การเป็นคนเจ้าอารมณ์ ส่งผลให้กลายเป็นคนมีภาวะซึมเศร้า ซึ่งผลจากการคิดลบที่ว่านี้ทำให้สมองส่วนซีรีบรัมและซีรีเบลลัม รวมถึงสมองซีกซ้ายที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำและการคิดวิเคราะห์นั้นยุบตัวลง ในทางตรงกันข้าม เมื่อคนเราจินตนาการถึงเรื่องดีๆ ถึงเรื่องที่มีความสุข เป็นคนอารมณ์ดี ใจเย็น สมองส่วนดังกล่าวก็จะพองตัวขึ้น อย่างไรก็ดี DD News Update คิดว่าการจะเปลี่ยนให้ทุกคนคิดบวกเหมือนกันหมดคงเป็นไปไม่ได้ด้วภาวะกดดันที่แต่ละคนอาจเจอไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่เรื่องฮอร์โมนในตัวที่มีผลต่อความคิด และเมื่อเราไม่อาจให้ทุกคนคิดบวกได้หมด ทางที่ดีที่สุดคือหาวิธีรับมือกับคนคิดลบว่าเจอคนแบบนี้แล้วเราจะทำอย่างไรให้จิตใจเราไม่แย่หรือคล้อยตามความคิดเหล่านั้นไป ภาพจาก
1.รับฟังแต่ต้องระวังอย่าให้อารมณ์เราคล้อยตาม จงเป็นผู้ฟังที่ดีและดูว่าสิ่งที่คนคิดลบพูดกับเรานั้นคือเรื่องใด และจงอย่าคล้อยตามหรือไหลไปตามกระแสความคิดนั้นอันจะทำให้จิตใจเราถูกบั่นทอนลงโดยไม่รู้ตัว จงเป็นตัวของตัวเองและยึดมั่นในความคิดที่เรามั่นใจว่ามาถูกต้องถูกทางอย่าไขว้เขวไปกับความคิดสุดโต่งของคนรอบข้าง อันเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่ออยู่ร่วมกับคนคิดลบโดยที่เราก็ไม่เสียความเป็นตัวตนด้วย
2.คุยได้แต่อย่าใส่อารมณ์ การสนทนากับคนที่คิดแง่ลบอาจทำให้เราเกิดอารมณ์ขุ่นมัว และพยายามเปลี่ยนกระแสอารมณ์นั้นให้เป็นทางบวกเช่นการยิ้มให้เขาบ้างหรือการสอดแทรกมุกตลกย้อนกลับไปบ้าง หรือพยายามดึงประเด็นให้เขาออกจากสิ่งที่เขากำลังนำเสนอ ที่สำคัญห้ามใส่อารมณ์เด็ดขาดเพราะจะทำให้เรื่องแย่มากกว่าเดิมได้
3.เอาแง่คิดดีๆจากคนคิดลบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ใช่ว่าความคิดติดลบของคนรอบตัวจะไม่มีประโยชน์ซะทีเดียวในบางครั้ง สิ่งที่เขาถ่ายทอดมาสู่เราอาจจะมีบางแง่มุมที่เราเองก็คิดไม่ถึง และไม่เคยนึกว่าจะมีเรื่องแบบนี้อยู่ บางครั้งการได้ข้อมูลในอีกด้านอาจทำให้เรามองสิ่งรอบตัวได้กว้างมากขึ้น การคิดลบเป็นเรื่องที่ไม่ดี เช่นกันกับการมองโลกสวยที่มีมากเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน
4.เปลี่ยนเรื่องสนทนาให้ไม่เครียดเกินไป เวลาที่คุยกับพวกคนเหล่านี้อาจจะต้องเบี่ยงเบนประเด็นบ้าง เช่น เมื่อเขาบ่นถึงสิ่งรอบข้างและปัญหาในชีวิตที่ต้องเจอ ตัดพ้อทุกสิ่งอย่างในชีวิต เราอาจจะถามถึงเรื่องของครอบครัว หรือลูกๆ ของพวกเขา ดูว่าพวกเขาชอบทำอะไร มีอะไรที่ทำให้พวกเขามีความสุข การแทรกเนื้อหาที่ทำให้คนคิดลบรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มหันมามองโลกในแง่บวกบ้างก็ได้
5.พยายามสร้างกิจกรรมให้คนคิดลบรู้สึกมีความสุข การอยู่ร่วมกับคนที่มีความคิดติดลบเราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้นให้หายไปได้ในทันที หากจะแก้ไขกันจริงๆ เราต้องรู้สาเหตุของปัญหาว่าอะไรคือตัวการณ์ที่ทำให้คนเหล่านี้มองโลกในแง่ร้าย วิธีการหนึ่งที่จะละลายพฤติกรรมคิดลบได้ดีที่สุดคือพยายามให้เขามีส่วนร่วมในกิจกรรมของบริษัท แน่นอนว่าเขาอาจไม่อยากเข้าร่วมเพราะรู้สึกว่าไม่มีความสุขไม่อยากอยู่กับสิ่งที่เขาคิดว่ามันเลวร้าย แต่เป็นหน้าที่ขององค์กรที่ต้องหาเหตุและผลในการให้เขาได้เข้าร่วมกิจกรรมเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมออันจะค่อยๆเปลี่ยนความคิดแง่ลบของเขาได้ในภายหลัง
6.สร้างขอบเขตแห่งความสุขให้กับตัวเรา ในที่ทำงานเราต้องเจอกับสารพันปัญหาไหนจะเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน จากลูกค้า หรือแม้แต่พวกที่ความคิดติดลบ หรือคนที่คิดไม่ตรงกับเรา ซึ่งทุกอย่างมันสามารถสะสมให้เราเกิดความเครียด ก่อนอื่นเราต้องพยายามหาขอบเขตแห่งความสุขแบ่งแยกเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวออกจากกัน ปัญหาในที่ทำงานเราก็มีจุดที่เก็บไว้ และเราควรรู้ว่าเวลาไหนที่เราจะอยู่ในเขตแห่งความสุขที่เราสร้างขึ้น เพื่อชาร์จพลังให้พร้อมแก้ปัญหาได้ต่อไป
7.พยายามอย่าให้มีการแบ่งแยกในที่ทำงาน สังคมคนทำงานยิ่งองค์กรใหญ่ยิ่งมีคนงานมาก เราอาจเคยเจอปัญหาว่าไม่ชอบหน้าคนนั้น ไม่ชอบหน้าคนนี้ กลายเป็นแบ่งแยก สิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่มีความคิดติดลบจะยิ่งถูกซ้ำเติมให้มีอาการมากขึ้น โดยเฉพาะหากเป็นการทำงานในแผนกเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเราไม่ควรแบ่งแยก และพูดคุยกับทุกคนได้เท่าเทียมกันเพื่อให้คนคิดติดลบรู้สึกว่าไม่มีการแบ่งแยกและก็ไม่ได้มีอะไรแย่เกินไปอันจะนำไปสู่การทำงานที่มีคุณภาพได้ ในภาวะสังคมยุคใหม่ความเครียดมีมาในหลากหลายรูปแบบ สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักปรับตัวและแก้ปัญหาอย่างมีระบบ อย่าเอาทุกปัญหามาขมวดเป็นปมเดียวกันเพราะจะทำให้แก้ยาก ค่อยๆแก้ไปทีละปัญหาอันไหนยังแก้ไม่ได้ก็ค่อยหาวิธีแก้ทีหลัง และไม่ควรนำปัญหามาเป็นอารมณ์เพราะจะทำให้ความเครียดที่มีนั้นมีมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันตัวเราไม่ให้กลายเป็นคนคิดลบในภายหลังด้วยรับฟังแต่ต้องระวังอย่าให้อารมณ์เราคล้อยตาม คุยได้แต่อย่าใส่อารมณ์ เอาแง่คิดดีๆจากคนคิดลบมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เปลี่ยนเรื่องสนทนาให้ไม่เครียดเกินไป พยายามสร้างกิจกรรมให้คนคิดลบรู้สึกมีความสุข สร้างขอบเขตแห่งความสุขให้กับตัวเรา พยายามอย่าให้มีการแบ่งแยกในที่ทำงาน